ทีวีสามมิติปราศจากแว่นตาของ Toshiba มองไปยังอนาคต...

ทีวีสามมิติปราศจากแว่นตาของ Toshiba มองไปยังอนาคต...

ทีวีสามมิติปราศจากแว่นตาของ Toshiba มองไปยังอนาคต...
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทีวีสามมิติปราศจากแว่นตาของ Toshiba มองไปยังอนาคต...

55ZL2 จาก TOSHIBA เป็นสิ่งประดิษฐ์ราคาแพงสำหรับแสดงเทคโนโลยีทีวีใหม่ๆ บางอย่างจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับทีวีที่จะออกวางขายปีหน้า และบางอย่างก็เจ๋งมาก ซึ่งพวกเรามีโอกาสได้เห็นมันในเวลานี้

ประการแรกเลย มันเป็นทีวีสามมิติ 'จอใหญ่' ที่ไม่ต้องใช้แว่นตาพิเศษตัวแรกของโลก เสียงบ่นที่ได้ยินบ่อยที่สุดเกี่ยวกับภาพสามมิตินอกเหนือจาก 'หนังแต่ละเรื่องห่วยแตก' คือความจำเป็นที่จะต้องซื้อและสวมใส่แว่นตาเห่ยๆ แต่เทคโนโลยีจอเลนติคูลา (lenticular) ใน 55ZL2 ช่วยกำจัดแว่นเชยๆ ที่ตกกระแสแฟชั่นดังกล่าวทิ้งไป

จอเลนติคูลามีมานานหลายปีแล้ว หลักๆ แล้วมันถูกนำมาใช้กับจอขนาดเล็กกว่านี้เยอะและมีไว้สำหรับทำให้ผู้คนในงานมหกรรมแสดงสินค้าต่างๆ รู้สึกปวดศีรษะและมึนงง เหตุผลเป็นเพราะว่ามุมมองในการรับชมภาพที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดของจอเหล่านี้นั้นแคบมาก ซึ่งหมายความว่าถ้าคุณไม่ได้นั่งอยู่ตรงหน้าจอเป๊ะๆ ละก็ ภาพที่ได้ก็จะไม่ค่อยสวย

อย่างไรก็ตาม เจ้าหนู 55 นิ้วตัวนี้ไม่ใช่ทีวีขนาดเล็กอย่างแน่นอน และใช้กล้องที่ติดตั้งบนตัวเครื่องทำหน้าที่ติดตามใบหน้าผู้ชมเพื่อตรวจจับตำแหน่งของคุณและคนอื่นๆ ในห้อง จุดประสงค์ก็คือมันจะแสดงผลอย่างชาญฉลาดด้วยภาพที่แตกต่างกันสำหรับตาข้างซ้ายและขวาแบบเรียลไทม์ ดังนั้น คุณและครอบครัวหรือเพื่อนๆ สามารถนั่งชมในมุมกว้างขึ้นและไม่ต้องสวมแว่น

เราไม่ค่อยมั่นใจว่าสิ่งนี้จะฮอตฮิตติดกระแส เทคโนโลยีแบบเดียวกันนี้บนโน้ตบุ๊คของ Toshiba ไม่เคยทำงานได้ดีอย่างสม่ำเสมอมากพอสำหรับเรา แต่ก็ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่

พลังประมวลผลที่จำเป็นในการพยายามนำเสนอภาพสามมิติ 'อันชาญฉลาด' โดยไม่ต้องสวมแว่นตาก็ทำให้เจ้า ZL2 กลายเป็นทีวีที่นำเสนอภาพสองมิติได้อย่างเยี่ยมยอดอีกด้วย ความละเอียดของมันอยู่ที่ 3840x2160 พิกเซล ซึ่งเท่ากับประมาณสี่เท่าของภาพไฮเดฟินิชั่นระดับสูงสุดหรือ full-HD สิ่งนี้รู้จักกันในชื่อ quad full HD, 4K หรือ ultra hi-def (UHD) ทั้งนี้ทั้งนั้นมันจะเรียกว่าอะไรขึ้นอยู่กับว่าคุณถามใครและวันที่คุณถามคือวันอะไรของสัปดาห์ แต่เราเชื่อว่าชื่อหลังสุดมีโอกาสดีที่สุดที่จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ก็อีกนั่นแหละ Toshiba ไม่ใช่บริษัทแรกที่ส่งทีวี UHD ออกมาขาย แต่พวกเขาเป็นบริษัทแรกที่นำจอประเภทนี้มาใส่ลงในทีวีที่บรรยายได้อย่างเต็มปาก ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตั้งราคาขายเหมาะกับกระเป๋าสตางค์ของผู้บริโภคทั่วไป

ภาพความละเอียดระดับ UHD บอกได้เลยว่าสุดยอด แน่นอน ขณะนี้ทีวีที่ใช้จอที่มีความละเอียดสูงระดับนี้นำมาซึ่งปัญหาเกี่ยวกับการส่งมอบ แบนด์วิธและต้นทุนการผลิต แถมตอนนี้ก็ไม่มีอะไรที่คุณสามารถซื้อหรือดาวน์โหลดและเปิดดูด้วยความละเอียดระดับ UHD อีกต่างหาก อย่างไรก็ดี ในอนาคตจะไม่เป็นเช่นนี้อย่างแน่นอน แต่ฟอร์แมตดังกล่าวจะลงเอยด้วยการเป็นมาตรฐานใหม่ หรือจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกลืมแบบ Super Audio CD (SACD: ฟอร์แมตเสียงเพลงความละเอียดสูง) ในเวอร์ชั่นภาพมากกว่า เราจะรอดูกันต่อไป  

จอใช้แอลอีดีแบ็คไลต์ ซึ่งคุณก็คงจะคาดหวังไว้อยู่แล้วสำหรับทีวีจอแบนรุ่นใหม่ๆ หลอดแอลอีดีติดตั้งทั้งข้างหลังจอและตามขอบจอ แถมยังมีระบบเปิดปิดหลอดไฟเป็นกลุ่มๆ หรือบริเวณจุดต่างๆ เพื่อสรรค์สร้างคอนทราสต์สูงๆ และได้ภาพที่ดูลึกมีมิติยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของ Cevo Engine เทคโนโลยีประมวลผลภาพในการคำนวณค่าและปรับแต่งภาพ บริการคอนเทนต์อินเทอร์เน็ตมี YouTube และ BBC iPlayer รวมอยู่ด้วย มีพอร์ตยูเอสบีสำหรับนำไฟล์ดิจิตอลมาเสียบเข้าไปโดยตรง (ภาพยนตร์ ภาพถ่ายและเพลง) ฟังก์ชันสตรีมไฟล์มีเดียแบบไร้สายมาที่เครื่องและสิ่งอื่นๆ ทั้งหมดที่ทีวีสมัยใหม่จำเป็นต้องมี ราคาแพงและล้ำสมัย เจ้า ZL2 เป็นหน้าต่างสู่โลกอนาคตมากกว่าทีวีที่เหมาะจะซื้อมาใช้เสียอีก T3

฿342,950 (ประมาณ) TOSHIBA.CO.UK

DETA I LS

1. GLASSES-LESS 3D

ไม่ต้องสวมแว่นก็เพลิดเพลินไปกับภาพสามมิติความละเอียด 720p สวยสดงดงามพร้อมเทคโนโลยีเลนติคูลาทำหน้าที่ติดตามดวงตา แถมยังมีภาพสามมิติที่ได้จากการปรับแต่งภาพสองมิติให้เป็นสามมิติอีกด้วย

 2. 4K HD

เปรียบได้กับภาพไฮเดฟินิชั่นที่ผ่านการฉีดสารกระตุ้นสเตรอยด์ และน่าจะเป็นฟีเจอร์อันเป็นที่ปรารถนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีคอนเทนต์ออกมาให้เลือกดูมากขึ้น

3. FEEL THE WIDTH

ถ้าภายในปี 2013 คุณยังไม่มีทีวีขนาด 55 นิ้วละก็ ถือว่าคุณล้าหลังชาวบ้านเค้าแล้วละ

Specification

จอ 55 นิ้ว 3840x2160 ภาพสามมิติปราศจากแว่นตา แบ็คไลต์แอลอีดีข้างหลังและตามขอบจอ พร้อมระบบเปิดปิดหลอดไฟเป็นกลุ่ม

 คอนทราสต์ 9,000,000:1

ระบบเชื่อมต่อ Wi-Fi ในตัว และรองรับมาตรฐาน DLNA 4x HDMI, 2x ยูเอสบี

ทีวีจูนเนอร์ ระบบดิจิตอลรองรับสัญญาณไฮเดฟินิชั่น

รีโมทคอนโทรล ผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต

คอนเทนต์อินเทอร์เน็ต Toshiba Places รวมถึง YouTube, BBC iPlayer, Acetrax Movies, Livesport.TV, Twitter และอื่นๆ

Andrew Wooden จาก T3 บอกว่านี่คือช่วงเวลาแห่งความท้าทายของวงการทีวี

ไม่ เพียงพออีกต่อไปแล้วที่จะบอกว่าทีวีเป็นระบบสามมิติ เพื่อให้มันฟังดูเหมือนอุปกรณ์ที่ก้าวล้ำนำหน้าทางเทคโนโลยีที่คุณยอมควัก กระเป๋าจ่ายเงินก้อนโต ทุกวันนี้พวกเราต่างก็ยอมรับว่ามันเป็นทีวีแบบใหม่กันไปแล้ว และยังไงๆ คอนเทนต์ก็ยังมีให้เลือกไม่มากนักอยู่ดี

ไม่เพียงเท่านั้น ระบบภาพสามมิติมีค่าใช้จ่ายสูง แว่นตาแบบ passive มีราคาค่อนข้างถูก แต่ทีวีหลายรุ่นยังคงใช้แว่นตาแบบ active ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ซึ่งแว่นหนึ่งคู่อาจมีราคาสูงกว่า 100 ปอนด์ (ประมาณ 4,900 บาท) จู่ๆ การเชิญชวนญาติสนิทมิตรสหายมาดูหนังฟอร์มยักษ์เรื่องใหม่ หรือการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาเด็ดๆ ก็จะทำให้คุณต้องเสียเงินเสียทองมากพอสมควรในการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ และนั่นหมายถึงว่าถ้าคุณสามารถเกลี้ยกล่อมให้ทุกคนสวมแว่นตาที่ทำให้พวกเขา ดูคล้าย Ray Charles เวอร์ชั่นไฮเทคนะ

ภาพสามมิติโดยปราศจากแว่นตา เหมือนอย่างที่เห็นบน 55ZL2 จัดการกับความไม่พอใจเหล่านั้น และคงจะเป็นสิ่งที่เราจะได้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างแน่นอน รวมทั้งระบบปรับแต่งภาพสองมิติให้เป็นสามมิติและบริการคอนเทนต์อินเทอร์เน็ต ด้วย เทคโนโลยีนี้ไม่ใช่ของใหม่ แต่เห็นได้ชัดว่าในเวลานี้บรรดาผู้ผลิตทีวีต่างก็พยายามทำให้มันออกมาดีที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ในระหว่างนี้ ultra HD (UHD) ในที่สุดก็ลอดผ่านลงมาสู่ทีวีที่สามารถเรียกได้ว่ามีราคาเอื้อมถึงได้ไป อย่างหวุดหวิดเฉียดฉิว นี่จะเป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ที่นำพาไปสู่จุดเดือดในสงครามทีวีจอใหญ่ครั้งต่อไป

ที่มา: ขอขอบคุณ T3 ผู้สนับสนุนเนื้อหา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook