รายงานผลประกอบการสามค่ายมือถือประจำไตรมาสแรกปี 2556

รายงานผลประกอบการสามค่ายมือถือประจำไตรมาสแรกปี 2556

รายงานผลประกอบการสามค่ายมือถือประจำไตรมาสแรกปี 2556
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รายงานผลประกอบการสามค่ายมือถือประจำไตรมาสแรกปี 2556

สามผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในไทยได้รายงานผลประกอบการ ประจำปี 2555 กันครบแล้ว (ข้อมูลปี 2554) ในปีที่ผ่านมานั้นทิศทางอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งการใช้งานข้อมูลที่สูงมากขึ้น สมาร์ทโฟนที่มีราคาลดลง และการประมูล 3G โดยผลสรุปการดำเนินงานของทั้งสามค่ายมือถือเป็นดังนี้ครับ

ผลประกอบการของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในไทยทั้งสามค่ายหลัก ประจำไตรมาสที่หนึ่งของปี 2556 ได้รายงานออกมาครบเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่น่าสนใจนับตั้งแต่ไตรมาสนี้ คือการเปลี่ยนผ่านจากระบบสัมปทานเดิม มาเป็นระบบใบอนุญาตจากการประมูล 3G คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ในปีที่แล้ว รวมถึงความคาดหวังว่าเมื่อการให้บริการมีลักษณะเป็นอินเทอร์เน็ตมือถือมาก ขึ้น รายได้ก็น่าจะสูงขึ้นด้วยครับ

เอไอเอส

เอไอเอสมีรายได้รวมในไตรมาสที่ผ่านมา 37,492 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกับในปีที่แล้ว และมีกำไรสุทธิ 9,923 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% ที่น่าสนใจคือรายได้จากการให้บริการเสียงลดลง 1.5% แต่รายได้จากให้บริการข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 29% แม้ว่าการบริการบนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์จะมีข้อจำกัดมากก็ตาม

จำนวนผู้ใช้บริการในระบบรวมอยู่ที่ 37.1 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านเลขหมาย โดยมีรายได้ต่อเลขหมาย หรือ ARPU (Average revenue per user) แบบไม่รวมค่า IC อยู่ที่ 252 บาทต่อเดือน มาจากระบบรายเดือน 681 บาท และระบบเติมเงิน 202 บาท

เอไอเอสประเมินว่าการเปิดให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่เริ่มใน 20 จังหวัดแรกในเดือนพฤษภาคม จะช่วยลดความแออัดบนคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ได้ ทั้งนี้เอไอเอสได้ลงทุนขยายโครงข่ายในไตรมาสที่ผ่านมา 6,000 ล้านบาท จากงบลงทุน 3 ปีที่วางไว้ 70,000 หมื่นล้านบาท ซึ่งยังคงเป็นไปตามแผน

ดีแทค

ดีแทคมีรายได้รวม 23,905 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.2% และมีกำไรสุทธิ 3,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.1% สาเหตุที่กำไรเพิ่มขึ้นไม่มากนั้น ปัจจัยหลักมาจากการยกเลิกระบบบริหารจัดการคำสั่งใหม่ (New Order Management System: NEO) ซึ่งเกิดความล่าช้าและสร้างความรู้สึกต่อลูกค้าในแง่ลบ เมื่อดีแทคตัดสินใจกลับไปใช้ระบบบริหารคำสั่งเดิม จึงต้องตัดจำหน่าย NEO เป็นค่าใช้จ่ายรวม 500 ล้านบาท

จำนวนลูกค้าในระบบของดีแทคอยู่ที่ 26.6 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้นเพียง 290,000 เลขหมาย และส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายเดือน ขณะที่ลูกค้าเติมเงินเพิ่มขึ้นเพียง 85,000 ราย อันเป็นผลจากระบบ NEO ด้าน ARPU ไม่รวมค่า IC ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 227 บาทต่อเดือน แบ่งเป็นรายเดือน 350 บาท และเติมเงิน 213 บาท

โครงสร้างรายได้ดีแทคก็คล้ายกับเอไอเอสคือรายได้บริการเสียงลดลง 1% ส่วนบริการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 23.8% โดยแผนงานในปี 2556 นั้นดีแทคยังคงเลือกลงทุนปรับปรุงเครือข่าย 2G บนความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์, ปรับปรุงเครือข่าย 3G บนความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ และขยายเครือข่าย 3G บนความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งทำให้ดีแทคเป็นผู้ประกอบการที่มีแบนด์วิทกว้างที่สุด

ทรูโมบาย (ทรูมูฟ ทรูมูฟเอช และฮัทช์ CDMA)

กลุ่มทรูโมบายมีรายได้ในไตรมาสที่ผ่านมา 15,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.7% ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องของลูกค้าทรูมูฟเอช และปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น โดยรายได้จากบริการเสียงลดลง 2.3% ส่วนบริการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 70.7% แต่ยังคงขาดทุนสุทธิสำหรับงวด 1,891 ล้านบาท จากค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจําหน่าย และดอกเบี้ยจ่าย ที่เพิ่มขึ้น

สำหรับทรูมูฟเอชมีลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 298,000 ราย ต่ำกว่าที่บริษัทคาดไว้เนื่องจากปัญหาจำนวนเลขหมายที่ไม่เพียงพอ และการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ทำให้กลุ่มทรูโมบายมีลูกค้ารวม 21.5 ล้านราย แบ่งเป็นทรูมูฟ 18.3 ล้านราย ทรูมูฟเอช 3.2 ล้านราย และฮัทช์ CDMA 44,500 ราย ส่วน ARPU ของทรูมูฟเอชอยู่ที่ 491 บาท

สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2556 กลุ่มทรูโมบายจะยังคงเสริมความแข็งแกร่งของบริการโมบายอินเทอร์เน็ตของทรู มูฟเอช โดยวางโครงข่ายคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ 3G จํานวน 5,000 สถานี และ LTE 2,000 สถานี เพื่อเสริมกับบริการ 3G+ บนความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์เดิมที่ครอบคลุมพื้นที่ 90% ของประชากรทั้งประเทศ ทำให้ทรูสามารถนำเสนอบริการที่ครอบคลุม มีประสิทธิภาพ แต่ใช้เงินลงทุนต่ำกว่าคู่แข่ง

ที่มา: เอไอเอส, ดีแทค และทรู

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย:

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook