ทางวิบาก (อดีต) ยักษ์มือถือ สู้ต่อไป "โนเกีย-เอชทีซี-แบล็คเบอร์รี่"

ทางวิบาก (อดีต) ยักษ์มือถือ สู้ต่อไป "โนเกีย-เอชทีซี-แบล็คเบอร์รี่"

ทางวิบาก (อดีต) ยักษ์มือถือ สู้ต่อไป "โนเกีย-เอชทีซี-แบล็คเบอร์รี่"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทางวิบาก (อดีต) ยักษ์มือถือ สู้ต่อไป "โนเกีย-เอชทีซี-แบล็คเบอร์รี่"

ขณะ ที่แบรนด์ผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือปัจจุบันอย่าง "ซัมซุง-แอปเปิล" มีกลยุทธ์ใหม่และผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดต่อเนื่อง เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในตลาดโลกอย่างขมีขมัน ซึ่งนั่นยิ่งทำให้โอกาสของมวยรองที่เคยเป็นอดีตแชมป์ริบหรี่ยิ่งขึ้นไปอีก กับความหวังที่กลับมาทวงบัลลังก์แชมป์อีกครั้ง


"โนเกีย" ที่ยังคงตกที่นั่งลำบาก แม้จะปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ติดต่อมาหลายปี เช่นกันกับ "เอชทีซี" ที่ส่วนแบ่งตลาดหดหายต่อเนื่อง ซึ่ง "ริม" (รีเสิร์ช อิน โมชั่น) เจ้าของสมาร์ทโฟน "แบล็คเบอร์รี่" ก็ไม่ต่างกันนัก

"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า สตีเฟ่น อีลอป ซีอีโอ "โนเกีย" มีเวลาเหลืออีกเพียงน้อยนิดที่จะกล่อมให้นักลงทุนเชื่อว่า ธุรกิจหลักของบริษัทยังสามารถฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ได้ หลังความพยายามขายธุรกิจโทรศัพท์มือถือของโนเกียให้พันธมิตรใกล้ชิด "ไมโครซอฟท์" ต้องพบกับทางตัน

แหล่งข่าววงในระบุว่า การเจรจาธุรกิจในครั้งนี้ต้องล้มเหลวเพราะไม่สามารถหาระดับราคาที่ลงตัวของทั้งสองฝ่าย ขณะที่ไมโครซอฟท์กังวลกับส่วนแบ่งการตลาดของโนเกียที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก

"สตีเฟ่น อีลอป" ใช้เวลาในตำแหน่ง "ซีอีโอ" ของ "โนเกีย" นานกว่า 3 ปี เพื่อหาวิธีจัดการปรับปรุงและแก้ปัญหาให้บริษัทมือถือแห่งนี้ที่อยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ตั้งแต่วันที่ก้าวเข้ามารับตำแหน่งแล้ว "เขา" ได้เดินหน้าปรับองค์กรครั้งใหญ่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการยกเลิกโครงการขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา, ยกเลิกการจ้างงานหลายพันตำแหน่ง ไปจนถึงขายอาคารบริษัทแม่ในฟินแลนด์ เขายังเป็นซีอีโอคนแรกของโนเกียที่ไม่ใช่ชาวฟินแลนด์

ปีที่แล้วบอร์ดบริหารตัดสินใจหยุดการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น ทำให้บริษัทสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ทั้งยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงทางการเงินอื่นอีก รวมถึงกรณีที่บริษัทมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ภาษีในอินเดีย ซึ่งอาจทำให้ต้องจ่ายค่าปรับถึง 369 ล้านเหรียญสหรัฐ

แม้ผลงานซีอีโอคนปัจจุบันจะยังไม่สามารถทำให้ "โนเกีย" กลับมาเป็นผู้นำในตลาดมือถือ ซึ่งโดนยึดครองโดย "แอปเปิล" และ "ซัมซุง" ได้ แต่บรรดานักวิเคราะห์มองว่า การทำการบ้านของสตีเฟ่น อีลอป ช่วยยื้อเวลาชีวิตให้โนเกียได้มากขึ้น

แม้รูปการณ์ตอนนี้จะคล้ายกับชะตากรรมที่อดีตยักษ์โทรคมนาคม "อีริคสัน" เคยประสบมาจนต้องขายส่วนธุรกิจโทรศัพท์มือถือของตนไปให้ "โซนี่" ในปี 2554 ก็ตาม แต่การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ของ "โนเกีย" ทำให้บริษัทมีช่วงหยุดพักหายใจในการหาบริษัทร่วมทุน ขณะที่ธุรกิจในส่วน "โนเกีย ซีเมนส์" เริ่มสร้างรายได้ขึ้นมาให้เห็นสภาพการเงินของ "โนเกีย" ตอนนี้ทำให้อดตั้งคำถามไม่ได้ว่า อดีตยักษ์

ตนนี้จะสามารถสร้างนวัตกรรมตามคู่แข่งอย่างแอปเปิลและซัมซุงได้ทันหรือไม่ ทั้งที่บริษัทเองถือสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีรวมเป็นมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังไม่สามารถออกผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนกระแสตลาดได้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่สายผลิตภัณฑ์โนเกีย "ลูเมีย" สมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่วางตลาดไปก่อนหน้านี้ยังทำยอดขายได้ห่างชั้นจาก "กาแล็คซี่" ของซัมซุง และ "ไอโฟน" จากแอปเปิล

หลังจาก "โนเกีย" ตัดสินใจทิ้งระบบปฏิบัติการของตนเองเพื่อหันมาใช้ระบบปฏิบัติการ "วินโดวส์" บริษัทเปิดตัวผลิตภัณฑ์ "ลูเมีย" ในเวลา 2 ปีต่อมา ทำให้สมาร์ทโฟนวินโดวส์ส่วนใหญ่ทั่วโลกอยู่ภายใต้แบรนด์ของ "โนเกีย" แม้ "ลูเมีย" รุ่นใหม่ ๆ จะได้รับการตอบรับดีจากบรรดานักวิจารณ์ แต่ก็ยังไม่สามารถชนะใจผู้บริโภคได้

โนเกียยังเผชิญอุปสรรคด้านการขาดซัพพลายสินค้า, การขาดเทคโนโลยีพื้นฐานที่รองรับ และการที่ไม่สามารถร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในบางตลาด เช่น ประเทศจีน เป็นต้น

ยอดขายมือถือทั่วโลกของ "โนเกีย" ไตรมาสแรกที่ผ่านมาอยู่ที่ 61.9 ล้านเครื่อง ผลิตภัณฑ์ที่โนเกียใช้แข่งขันในประเทศเกิดใหม่มียอดลดลงกว่า 21% ส่วนยอดขาย "ลูเมีย" เติบโตขึ้นแต่ยังไม่เพียงพอที่จะกลบการถดถอยดังกล่าวได้ แต่หลายฝ่ายยังประเมินมูลค่ารวมของยักษ์มือถือรายนี้ด้วยความสงสัย

ด้านแบรนด์โทรศัพท์มือถือมวยรองอย่าง "เอชทีซี" ก็ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากไม่ต่างจากโนเกีย หลังยอดขายผลิตภัณฑ์ใหม่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด และมูลค่าหุ้นตกต่ำติดต่อกันมาถึง 2 ปี จากที่เคยทำยอดขายสมาร์ทโฟนได้เป็นที่ 2 ในตลาดสหรัฐเมื่อปี 2554 เป็นรองจากแอปเปิลเพียงแบรนด์เดียว จนมีข่าวลือว่า "ปีเตอร์ชู" ซีอีโอ "เอชทีซี" จะสละตำแหน่งหรือไม่ แต่เขาก็ออกมายืนยันว่า ยังไม่มีแผนจะออกไปหางานใหม่อย่างแน่นอน

"เดวิด ยอฟเฟิล" หนึ่งในสมาชิกบอร์ดบริหารของ "เอชทีซี" ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมไม่เคยหยิบยกเรื่องการเปลี่ยน
ซีอีโอคนใหม่ขึ้นมาเป็นประเด็น และคณะผู้บริหารมีความมั่นใจเป็นอย่างมากในตัวปีเตอร์ และประเด็นเรื่องราคาหุ้นไม่เคยเข้ามามีผลกระทบต่อการตัดสินอนาคตของซีอีโอคนปัจจุบันของบริษัท

ผลจากการวางกลยุทธ์การตลาดผิดพลาด, การเลื่อนวันวางจำหน่ายสมาร์ทโฟนเรือธง และการเกิดใหม่ของคู่แข่งมากหน้าหลายตาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาส่งผลให้ "เอชทีซี" หลุดจากแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับ 1 ใน 5 ตลาดสหรัฐอเมริกาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การที่บรรดาผู้บริหารระดับสูงของบริษัท พากันลาออกรวมแล้วหลายตำแหน่ง ยิ่งทำให้อนาคตของ "เอชทีซี" มืดมนมากขึ้น

บริษัทวิจัยการตลาด "การ์ทเนอร์" ระบุว่า ส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกของ "เอชทีซี" ตกลงมาอยู่ที่ 2.5% ในไตรมาส 1 ปีนี้ จากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วมีส่วนแบ่ง 9.3% ส่วนมูลค่าหุ้นของ "เอชทีซี" ปัจจุบันลดลงมากว่า 80% จากมูลค่าสูงสุดที่บริษัทเคยทำได้ในเดือนเมษายน 2554

"เจง-ฮาน ชุง" ผู้จัดการ บริษัทหยวนตา ไฟแนนเชียล โฮลดิ้งส์ หนึ่งในผู้ถือหุ้น "เอชทีซี" แสดงความคิดเห็นว่า เอชทีซีวางกลยุทธ์ผิดพลาดเรื่องการตั้งราคาผลิตภัณฑ์และการมีสายผลิตภัณฑ์มากเกินไปทำให้ผู้บริโภคสับสน แต่ได้พยายามปรับปรุงตนเองในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาด้วยการจัดสายผลิตภัณฑ์ใหม่

"เอชทีซี" แก้ปัญหาเรื่องซัพพลายสินค้าสำหรับสมาร์ทโฟน รุ่น "เอชทีซี วัน" และแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายการตลาดคนใหม่ได้แล้ว โดยปีนี้บริษัทจะทุ่มทุนไปกับการตลาดมากกว่าปีที่แล้วเป็นเท่าตัว และใช้กลยุทธ์เชิงรุกมากขึ้น นอกจากนี้ บริษัทยังพยายามป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทางเทคนิคกลุ่มสินค้าเรือธง เนื่องจากปีที่แล้วผลิตภัณฑ์ของเอชทีซีโดนติติงมาว่า ปล่อยความร้อนออกมามากเกินไป และมีจุดขัดข้องบนหน้าจอ แต่การทำให้บริษัทสามารถแข่งขันได้ในตลาดที่เต็มไปด้วย

คู่แข่งเวลานี้ถือเป็นเรื่องท้าทาย เพราะยังมีผู้เล่นซึ่งแบรนด์จีนที่เน้นทำโทรศัพท์มือถือราคาถูกเข้ามาในตลาด "เอชทีซี" ยังต้องแบกความคาดหวังอันหนักอึ้งของคนในชาติฐานะแบรนด์สมาร์ทโฟน "ไต้หวัน" ที่ก้าวไปในระดับโลก

อีกหนึ่งดาวรุ่ง (ในอดีต) บริษัทรีเสิร์ช อิน โมชั่น หรือริม เจ้าของ "แบล็คเบอร์รี่" ก็ปรับตัวเช่นกันด้วยการเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ในรุ่น "คิว ไฟฟ์ (Q5)" ที่ "ดูไบ" เมื่อ 20 มิ.ย.ที่ผ่านมา เนื่องจากต้องการรักษาฐานลูกค้าในตะวันออกกลางที่การแข่งขันจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แบล็คเบอร์รี่ "คิว ไฟฟ์" เหมือนกับ "สมาร์ทโฟน Q10" แบบย่อมเยา รองรับระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี่ 10 มาพร้อมแป้นพิมพ์ และออกมาเพื่อแข่งขันในตลาดเกิดใหม่ที่ "โนเกีย" และ "แอนดรอยด์" กำลังรุกเข้ามาอย่างหนักหน่วง

ข้อมูลจากการ์ทเนอร์ระบุว่า ส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนในสหรัฐอเมริกาของ "ริม" ลดลงจากเกือบ 50% ในปี 2552 เหลือน้อยกว่า 5% ในปีนี้

อย่างไรก็ตาม "ริม" ยังคงมีจุดยืนที่แข็งแกร่งอยู่ในตลาดประเทศอื่น ๆไม่ว่าจะเป็นซาอุดีอาระเบีย, แอฟริกาใต้ และอินโดนีเซีย ล่าสุดยังเปิดตัวร้านค้าปลีกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในห้างสรรพสินค้าดูไบมอลล์ด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook