ภัยไฮเทค "ชนเผ่าหัวก้ม" นิยาม "เด็กติดสมาร์ทโฟน"

ภัยไฮเทค "ชนเผ่าหัวก้ม" นิยาม "เด็กติดสมาร์ทโฟน"

ภัยไฮเทค "ชนเผ่าหัวก้ม" นิยาม "เด็กติดสมาร์ทโฟน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภัยไฮเทค "ชนเผ่าหัวก้ม" นิยาม "เด็กติดสมาร์ทโฟน"

หลายปีที่แล้วเราได้ยินปัญหาเรื่องเด็กติดหนังสือการ์ตูน ตามมาด้วยปัญหาเด็กติดเกม มาวันนี้ปัญหาใหม่ที่กำลังมาแรงตามเทรนด์คือเด็กติดมือถือ โดยเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นในกลุ่มเยาวชนของประเทศที่ใช้สมาร์ทโฟนกันอย่าง แพร่หลายแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานถึงสถานการณ์เด็กเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนในประเทศเกาหลีใต้ โดยยกตัวอย่างเด็กนักเรียนคนหนึ่งชื่อ "ลี ยุน-ซู" ซึ่งรู้สึกเสียใจที่เปลี่ยนโทรศัพท์ประจำตัวจากเครื่องฝาพับแบบเก่ามาเป็น สมาร์ทโฟน

เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว เพราะแม้มันจะทำให้เธอสนุกสนานกับการทวีตรูปภาพ, ส่งข้อความให้เพื่อน ๆ และเล่นเกมออนไลน์ต่าง ๆ ได้ ในขณะเดียวกัน พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของเธอทั้งในสถานศึกษา และที่บ้านด้วย

เธอยอมรับว่า แม้ไม่ชอบใจพฤติกรรมแบบนี้ของตัวเอง แต่ไม่สามารถห้ามใจได้

"ลี ยุน-ซู" เป็นนักเรียนจำนวน 1 ใน 5 ประเทศเกาหลีใต้ ที่รัฐบาลมองว่ามีพฤติกรรมเสพติดการใช้งานสมาร์ทโฟน มีการให้คำนิยามพฤติกรรมดังกล่าวว่าคือกลุ่มคนที่ใช้โทรศัพท์ของตัวเองเกิน กว่า 7 ชั่วโมง/วัน และมีอาการวิตกกังวล, นอนไม่หลับ รวมถึงรู้สึกหดหู่เมื่อเลิกใช้โทรศัพท์มือถือประจำตัวของตน

ในช่วง ต้นเดือน ก.ค. 2556 รัฐบาลประเทศเกาหลีใต้เพิ่งประกาศว่า ตนวางแผนจะจัดโครงการให้คำปรึกษาเยาวชนในระดับชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมการติด สมาร์ทโฟนในสิ้นปีนี้ และเตรียมฝึกอบรมครู-อาจารย์ให้รู้วิธีรับมือเด็กที่มีอาการดังกล่าว โดยปัจจุบันครู-อาจารย์ของโรงเรียนหลายแห่งในเกาหลีใต้ถึงกับต้องเก็บ อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือของนักเรียนในระหว่างเวลาเรียน แต่วิธีนี้สามารถแก้ปัญหาได้เพียงผิวเผินเท่านั้น เนื่องจากนักเรียนบางคนใช้วิธีซ่อนโทรศัพท์มือถือของตัวเอง เพื่อแอบนำมาใช้ช่วงพัก หรือแม้แต่ในคาบเรียน

สาเหตุที่ปัญหาเรื่อง นี้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับรัฐบาลเกาหลีใต้ น่าจะเป็นเพราะประชาชนเกาหลีใต้เป็นคนกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่ปรับมาใช้อุปกรณ์ดิจิทัล และมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือมากกว่า 100%

หมายความว่า ประชากร 1 คน พกมือถือมากกว่า 1 เครื่อง และในจำนวนโทรศัพท์มือถือทั้งหมดในเกาหลีใต้ สามารถคิดเป็นสัดส่วนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนถึง 2 ใน 3 (เทียบกับสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนเพียง 50% เท่านั้น) ที่สำคัญประเทศนี้ยังเป็นบ้านของผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง "ซัมซุง" อีกด้วย

ก่อนหน้านี้เกาหลีใต้เคยประสบปัญหาเยาวชนส่วนใหญ่ ติดเกมออนไลน์มาแล้ว ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้โครงสร้างพื้นฐานด้านบริการอินเทอร์เน็ตความเร็ว สูงที่เข้าถึงประชากรทั้งประเทศอย่างทั่วถึง ในขณะนี้อัตราการเข้าถึงสมาร์ทโฟนมีการเติบโตสูงยิ่งกว่าตลาดอื่น โดยข้อมูลจากคณะกรรมาธิการด้านโทรคมนาคมของประเทศเกาหลี (Korea Communications Commission) ระบุว่า เยาวชนอายุ 6-19 ปี สามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจนถึง 65% ในปีนี้ (เทียบกับสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราส่วนเยาวชนเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้ที่ 37%) ส่วนเยาวชนที่ติดสมาร์ทโฟนมีประมาณ 18% มากเป็นเท่าตัวหากเทียบกับจำนวนผู้ใหญ่ติดโทรศัพท์มือถือที่มีสัดส่วน 9.1%

"ฮวาง แท-ฮี" เจ้าหน้าที่กระทรวงด้านความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวในประเทศเกาหลีใต้ ให้สัมภาษณ์ว่า สถานการณ์ในขณะนี้น่าวิตกกังวลเป็นอย่างมาก

ไม่เพียง ประเทศเกาหลีใต้เท่านั้นที่กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการติดสมาร์ทโฟน ประเทศที่มีการติดตามกระแสเทคโนโลยี เช่น ญี่ปุ่น และไต้หวัน ก็พบปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดยญี่ปุ่นพบว่าอัตราการใช้สมาร์ทโฟนในหมู่นัก เรียนหญิงระดับชั้นมัธยมในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจากปีที่แล้ว ซึ่งนักวิเคราะห์เปิดเผยว่า การใช้งานสมาร์ทโฟน นอกจากทำให้นักเรียนเสียสมาธิในการเรียน ยังส่งผลเสียต่อทักษะการสื่อสารกับผู้อื่นด้วย

"เซตสึโกะ ทามุระ" ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยโตเกียว เซโตขุ พูดถึงประเด็นนี้ว่า นักเรียนทุกวันนี้มีทักษะการตีความการแสดงออกทางสีหน้าย่ำแย่มาก นั่นเพราะเมื่อใดที่คุณใช้เวลาสื่อสารกับผู้อื่นผ่านการส่งข้อความแทนที่จะ ใช้การพูดคุยกัน คุณจะไม่ได้เรียนรู้ว่าการอ่านภาษากายต้องทำอย่างไร

ส่วน ในประเทศไต้หวันกระแสการตรวจเช็กอีเมล์หรือความเคลื่อนไหวภายในสื่อโซเชีย ลมีเดียตลอดเวลานำไปสู่การโดนตราหน้าว่าเป็น "ชนเผ่าหัวก้ม" โดยผลสำรวจของศูนย์กลางข้อมูลด้านเครือข่ายในไต้หวันเผยให้เห็นว่า จำนวนประชากรที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์แล็ปทอป, แท็บเลต และสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจนมีจำนวนถึง 5.35 ล้านคนในครึ่งปีที่ผ่านมา

"เซตสึโกะ" แสดงความคิดเห็นว่า สมาร์ทโฟนกลายเป็นสิ่งของที่สำคัญที่สุดสำหรับคนอายุน้อย เพราะเป็นเหมือนกับตัวแทนความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นกับกลุ่มเพื่อน ของเขา หากใครไม่ตามกระแสหรือมีส่วนร่วมในกลุ่มเพื่อนก็อาจหมายความว่าต้องหลุดออก จากวงสนทนา ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็ก ๆ มักกระตือรือร้นอย่างมากในการตอบข้อความสนทนา

นอกจากนี้ สมาร์ทโฟนยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการทำให้เกิดปัญหารังแกกันในกลุ่มเยาวชนของ โรงเรียนเกาหลีใต้ โดยเด็กนักเรียนต่างจัดอันดับให้สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดเป็นเหมือน "พระราชา" ขณะที่รุ่นก่อนหน้าโดนจัดให้เป็น "ทาส"

ผลก็คือการขโมยสมาร์ทโฟนมี ให้เห็นทั่วไป ล่าสุดในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานการศึกษาประจำกรุงโซลได้ตัดสินใจอนุมัติงบประมาณมากถึง 20 ล้านวอนให้โรงเรียนแต่ละแห่งในปีนี้ สำหรับใช้ช่วยเหลืออาจารย์ที่ทำสมาร์ทโฟนของตัวเองสูญหาย

ส่วนวิธี แก้ไขปัญหาการติดสมาร์ทโฟนแบบเฉพาะหน้า ที่ "ลี ยุน-ซู" นักเรียนในเกาหลีใต้นำไปใช้ คือถอดซิมการ์ดที่มีเบอร์โทรศัพท์ของตัวเองไปเสียบกับโทรศัพท์รุ่นเก่าที่ ไม่สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ เพื่อไม่ให้สมาร์ทโฟนทำให้เธอเสียสมาธิในช่วงเวลาที่เธอจำเป็นต้องอ่าน หนังสือเตรียมสอบ




แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook