จุดเปลี่ยน-ข้อกังวล เมื่อเปิดประมูล "ทีวีดิจิทัล"

จุดเปลี่ยน-ข้อกังวล เมื่อเปิดประมูล "ทีวีดิจิทัล"

จุดเปลี่ยน-ข้อกังวล เมื่อเปิดประมูล "ทีวีดิจิทัล"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จุดเปลี่ยน-ข้อกังวล เมื่อเปิดประมูล "ทีวีดิจิทัล"

สำนักงาน กสทช.ประกาศเชิญชวนผู้สนใจขอรับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ระบบดิจิทัลประเภทธุรกิจระดับชาติ เท่ากับเป็นการ เริ่มต้นกระบวนการประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่องธุรกิจ ได้แก่ เด็ก เยาวชน และครอบครัว 3 ช่อง ข่าวสารและสาระ 7 ช่อง ทั่วไปแบบความคมชัดปกติ (SD) 7 ช่อง และทั่วไปความคมชัดสูง (HD) 7 ช่อง


โดยคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมการประมูลตาม พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการกิจการวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 คือ สัญชาติไทย ไม่อยู่ระหว่างโดนพักใบอนุญาตหรือเพิกถอนไม่ครบ 3 ปี กรณีนิติบุคคล ผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันต้องสัญชาติไทย มีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของทุน มีสิทธิ์ออกเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลต้องมีสัญชาติไทยผู้เข้าร่วมประมูลแต่ละรายต้องไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ มีความสัมพันธ์เชิงทุน เช่น มีผู้ถือหุ้นบริษัทรายใหญ่

(เกิน 25%) ไปเป็นหุ้นส่วนหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อีกบริษัท และการมีความสัมพันธ์ไขว้กันกับอีกบุคคลธรรมดาหรืออีกนิติบุคคลอื่นที่ได้เข้าประมูลด้วย รวมถึงกรณีที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นดำเนินการแทน (นอมินี) ด้วยว่าเงื่อนไขในประมูลกำหนดให้ผู้ประกอบการ 1 ราย เข้าประมูลสูงสุด 3 ช่อง และห้ามไม่ให้ประมูลช่องข่าวพร้อมช่อง HDส่วนวัันประมูลคาดว่าจะเริ่มได้ปลาย ธ.ค.ปีนี้ หรืออย่างช้าต้น ม.ค. 2557

"พ.อ.นที ศุกลรัตน์" ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า ถ้าผู้เข้าประมูลเท่ากับจำนวนช่องอาจยกเลิกประมูล แต่ถ้าน้อยกว่าจำนวนช่องจะยกเลิกในหมวดนั้น

"การเปลี่ยนผ่านจากแอนะล็อกสู่ดิจิทัลเป็นจุดเปลี่ยนที่เปิดให้มีรายใหม่ทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนราว 1 แสนล้านบาทภายใน 5 ปี เกิดมุมมองใหม่ เนื้อหาใหม่ มีความหลากหลายในคอนเทนต์"

ฟากผู้ประกอบการกำลังรอความชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการประมูล และราคาค่าเช่าโครงข่าย โดย "ปรีย์มน ปิ่นสกุล" ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กล่าวว่า เพิ่งได้รับแจ้งจาก

ผู้ได้รับใบอนุญาตมัลติเพล็กเซอร์บางรายว่า ตัวเลขค่าเช่าโครงข่ายที่ประเมินเบื้องต้นไปก่อนหน้านี้ ยังไม่รวมต้นทุนในส่วนเสาส่งสัญญาณที่ต้องขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศทำให้ผู้ที่สนใจทำช่องรายการ

ไม่ทราบค่าเช่าโครงข่ายที่แท้จริงส่งผลต่อการประเมินความคุ้มค่าและราคาที่เหมาะสมในการประมูล อีกทั้งผู้ประกอบการยังกังวลใจเรื่องค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปีที่ต้องจ่ายกสทช. โดยคำนวณจากรายได้ในการประกอบกิจการก่อนหักค่าใช้จ่าย "ประวิทย์ มาลีนนท์" กรรมการ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด (ช่อง 3) กล่าวว่า ตามประกาศ กสทช.ระบุให้รวมถึงรายได้อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการจึงเปิดช่องให้เกิดการตีความไปได้หลายทาง

สิ่งที่ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องการ คือ การแพร่ภาพแพร่เสียงบนหน้าจอทีวีเป็นหลัก ฉะนั้น รายได้หลักที่ควรนำมาคิดค่าธรรมเนียมต้องมาจากตรงนั้น ขณะที่รายได้อื่นไม่ว่าจะเป็นการขายข้อมูลหรือ

ทำสตูดิโอ เป็นกิจกรรมที่ไม่ควรรวมเข้าไป แม้ผู้ประกอบการจะแยกบริษัทย่อยได้

แต่ยิ่งแตกบริษัทมากยิ่งบั่นทอนความแข็งแรงหากนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจะเป็นบริษัทที่มีรายได้แค่นิดเดียว

"กรณีผู้จัดกิจกรรมฟุตบอลที่มีรายได้หลักจากการขายบัตร รายได้ที่มาจากการนำคอนเทนต์ไปออกฟรีทีวีคือรายได้เสริม กลุ่มนี้ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพราะไม่มีใบอนุญาต แต่เจ้าของช่อง

ที่ได้ใบอนุญาตลุกมาทำ กสทช.นำรายได้ไปรวมคิดค่าธรรมเนียม ยิ่งยุ่งยากมาก ทำให้คนเป็นศรีธนญชัย หาช่องทางเลี่ยงมากขึ้น"

"ปรีย์มน" เสริมว่า "กสทช." ใส่คำว่า "รายได้" จากลิขสิทธิ์เข้าไปในประกาศ โดยไม่เข้าใจความซับซ้อนเรื่องลิขสิทธิ์

คนที่ยกร่างแค่ให้หมายถึงรายได้จากการขายซับไลเซนส์ แต่พอนำคำว่า "ลิขสิทธิ์" มาใช้ เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการใช้ดุลพินิจตีความได้เกินเจตนารมณ์

คนร่างกฎหมายอาจเกิดปัญหาตามมาในอนาคต

การประมูลเริ่มขึ้นเป็นทางการแล้ว แต่จะไปถึงให้ใบอนุญาตหรือไม่ยังต้องลุ้นต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook