ประวัติศาสตร์เบื้องหลังการพัฒนา iPhone รุ่นแรก เต็มไปด้วยความเครียดและความลับ

ประวัติศาสตร์เบื้องหลังการพัฒนา iPhone รุ่นแรก เต็มไปด้วยความเครียดและความลับ

ประวัติศาสตร์เบื้องหลังการพัฒนา iPhone รุ่นแรก เต็มไปด้วยความเครียดและความลับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประวัติศาสตร์เบื้องหลังการพัฒนา iPhone รุ่นแรก เต็มไปด้วยความเครียดและความลับ

หนังสือพิมพ์ The New York Times มีสกู๊ปพิเศษเบื้องหลังการพัฒนาและเปิดตัว iPhone รุ่นแรกเมื่อปี 2007 ว่าทีมงานของแอปเปิลต้องผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะออกมาเป็นสินค้าพลิกโฉมวงการ มือถือได้สำเร็จ

  • New York Times สัมภาษณ์ Andy Grignon วิศวกรด้านเครือข่ายไร้สายของแอปเปิลที่เป็นคนดูแลเรื่องการเชื่อมต่อไร้สาย ทั้งหมดของ iPhone โดยพื้นเพของเขามาจากการแฮ็กเครื่อง Apple Newton ในอดีตเพื่อให้ต่อเครือข่ายไร้สายได้ ผลงานของเขาและเพื่อนทำให้เขาได้ทำงานกับแอปเปิลในส่วนของห้องแล็บ Advanced Technology Group
  • ในปี 2000 Grignon ออกไปเปิดบริษัท Pixo ร่วมกับพนักงานของแอปเปิลคนอื่นๆ ทำระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือและอุปกรณ์ขนาดเล็ก ระบบปฏิบัติการตัวนี้ถูกใช้กับ iPod รุ่นแรก ทำให้ Grignon ได้กลับมาทำงานที่แอปเปิลอีกครั้ง
  • พนักงานของแอปเปิลคุ้นเคยกับการสร้างซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ที่มีพลัง ประมวลผลสูง ไม่มีข้อจำกัดเรื่องแบตเตอรี่ พอต้องมาทำซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาจึงมีปัญหามากในช่วงแรก
  • ประสบการณ์ของ Grignon จึงมีประโยชน์กับแอปเปิลมากเมื่อโครงการ iPhone เริ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2004

การพัฒนา iPhone

  • แอปเปิลดึงทีมซูเปอร์สตาร์ภายในบริษัทมาสร้าง iPhone ซึ่งทุกคนมั่นใจว่าตัวเองเก่ง แต่เมื่อมาเจอข้อจำกัดและอุปสรรคมากมาย คนจำนวนมากเครียดและลาออกจากบริษัทไประหว่างโครงการหรือหลังจากโครงการเสร็จ สิ้น
  • Tony Fadell ผู้บริหารทีม iPod (ปัจจุบันลาออกไปทำบริษัท NEST) เล่าว่าเขาคุ้นเคยกับโครงการที่มีความไม่แน่นอนสูง แต่โครงการ iPhone มีปัจจัยที่ไม่แน่นอนเยอะมากเป็นพิเศษ
  • จ็อบส์เริ่มคิดจะสร้างโทรศัพท์หลังจากเปิดตัว iPod ในปี 2001 ไม่นานนัก แต่เมื่อลองพัฒนาโครงการตามไอเดียก็เจอกับข้อจำกัดทั้งด้านฮาร์ดแวร์ และขีดจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์
  • แอปเปิลเคยคิดจะซื้อโมโตโรลาในปี 2004 แต่พบว่าเป็นการซื้อกิจการที่ใหญ่เกินไปสำหรับตัวเอง
  • ตอนแรกแอปเปิลมีปัญหาเรื่องการเจรจากับโอเปอเรเตอร์ที่มีอำนาจต่อรองสูง แต่โชคดีที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมในสหรัฐเริ่มเปลี่ยนไป แอปเปิลเคยคิดจะเป็น MVNO ของ Sprint แต่สุดท้ายเจรจากับ Cingular (AT&T ในปัจจุบัน) ได้สำเร็จ ก็เลยยกเลิกแผนนี้ไป
  • ระหว่างปี 2005-2006 แอปเปิลสร้าง iPhone รุ่นต้นแบบออกมา 3 แบบ โดยรุ่นต้นแบบตัวแรกเป็น iPod ที่แปะบอร์ดสื่อสารและใช้ click wheel ของ iPod เป็นแป้นโทรศัพท์ กว่าจะมีจอสัมผัสและ OS X ต้องรอถึงต้นแบบรุ่นที่สองในปี 2006
  • iPhone รุ่นต้นแบบตัวที่สองมีหน้าตาคล้ายกับผลิตภัณฑ์ที่วางขายจริง ใช้วัสดุเป็นโลหะโดยการออกแบบของ Ive แต่กลับมีปัญหาเรื่องภาครับสัญญาณ เพราะทีมดีไซเนอร์ไม่เข้าใจการทำงานของการสื่อสารด้วยคลื่นความถี่ และทีมวิศวกรต้องเสียเวลาอธิบายกันอยู่นาน
  • เทคโนโลยีจอสัมผัสแบบ capacitive ถูกคิดขึ้นตั้งแต่ยุค 1960 แต่มันไม่เคยถูกใช้ในสินค้าคอนซูเมอร์เพราะราคาแพงมาก แค่นำมาใช้กับรุ่นต้นแบบก็แพงแล้ว
  • แอปเปิลเริ่มใส่เทคโนโลยีมัลติทัชเข้ามาในแท็บเล็ตได้สำเร็จในปี 2003 เนื่องจากสตีฟ จ็อบส์ ต้องการอุปกรณ์ที่เขาใช้อ่านในห้องน้ำ แต่การพัฒนาหยุดไปในช่วงปี 2004 เพราะทิศทางของบริษัทยังไม่ชัดเจน จนทีมงานบางคนลาออกจากบริษัทไป
  • Tony Fadell เล่าว่าเขานึกภาพออกว่าจะใส่เทคโนโลยีด้านจอเข้ามาในอุปกรณ์ต้นแบบได้อย่าง ไร แต่ปัญหาคือจะผลิตมันในจำนวนมากๆ ได้อย่างไรเพราะต้องทำงานร่วมกับโรงงานผลิตจอด้วย ซึ่งแอปเปิลลองผิดลองถูกอยู่ 2-3 วิธีกว่าจะประสบความสำเร็จ
  • แอปเปิลไม่มีประสบการณ์ด้านเครือข่ายไร้สายมาก่อน ต้องลองผิดลองถูกสร้างห้องแล็บขึ้นมาเองอยู่นาน ผู้บริหารรายหนึ่งเคยคำนวณว่าแอปเปิลลงทุนมากถึง 150 ล้านดอลลาร์ในการสร้าง iPhone ตัวแรก
  • Jon Rubinstein อดีตผู้บริหารฝ่ายฮาร์ดแวร์ของแอปเปิล (ที่ย้ายไปอยู่ Palm) เสนอให้ทำ iPhone สองขนาดคือขนาดปกติ และขนาดเล็กราคาถูก แต่เมื่อทรัพยากรมีจำกัด ก็ต้องเลือกทำรุ่นปกติรุ่นเดียว

การรักษาความลับ

  • การพัฒนา iPhone เป็นความลับ ห้องทำงานต้องใช้บัตรผ่านถึงเข้าได้ และจ็อบส์สั่งห้ามจ้างพนักงานภายนอกบริษัทมาทำโครงการนี้ แอปเปิลจึงต้องใช้วิธีดึงคนจากทีมต่างๆ ภายในบริษัทเข้ามาทำงานแทน ซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นๆ ของแอปเปิลไม่น้อย
  • Scott Forstall เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าเวลาเขาดึงคนมาทำซอฟต์แวร์ของ iPhone เขาก็จะบอกพนักงานว่ามีโครงการให้ทำ บอกไม่ได้ว่าคืออะไร แต่ถ้ามาทำแล้วจะสูญเสียเวลาว่างในตอนเย็นและสุดสัปดาห์ไปเลย และจะเป็นการทำงานที่หนักกว่างานทั้งหมดในชีวิตที่เคยทำมา
  • แอปเปิลปกปิดข้อมูลของ iPhone กับทุกคน ตอนที่สั่งชิปชิ้นส่วนจากผู้ผลิตก็บอกว่าจะเอามาใส่ iPod รุ่นใหม่, ลงทุนออกแบบแผนผังวงจรและตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลอม, บางครั้งเวลาเดินทางไปติดต่อบริษัทอื่น พนักงานของแอปเปิลเคยปลอมตัวว่าเป็นคนของ Cingular เพื่อไม่ให้คนสนใจว่าแอปเปิลกำลังทำอะไรอยู่
  • การจำกัดสิทธิให้พนักงานระดับท็อปที่เข้าถึงโครงการ iPhone ได้ ส่งผลต่อขวัญกำลังใจของพนักงานคนอื่นๆ ที่รู้สึกว่าไม่มีโอกาสรู้ข้อมูลของโครงการนี้ นอกจากนี้ พนักงานแต่ละฝ่ายในโครงการ iPhone เองก็ไม่สามารถคุยกันเองได้ ทีมงานซอฟต์แวร์ทดสอบบนอีมูเลเตอร์ ทีมงานฮาร์ดแวร์ทดสอบกับซอฟต์แวร์ปลอมๆ
  • มีเรื่องเล่ากันในแอปเปิลว่าถ้าลองเอาบัตรพนักงานไปแตะประตูเข้าห้อง พัฒนา iPhone นอกจากจะเข้าไม่ได้แล้ว ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยที่จะเรียกยามมาลากตัวคุณออกไปด้วย (ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าจริงหรือไม่)

การเปิดตัว iPhone

  • ตอนที่สตีฟ จ็อบส์ เปิดตัว iPhone ในเดือนมกราคม 2007 ตอนนั้นตัว iPhone ยังไม่สมบูรณ์มากๆ ทั้งเสถียรภาพของระบบปฏิบัติการที่รันงานได้ไม่เยอะแล้วจะรีบูตเพราะหน่วย ความจำเต็ม เล่นวิดีโอได้ไม่เต็มความยาวคลิปเพราะแบตจะหมดก่อน และมีปัญหาการเชื่อมต่อกับสัญญาณเครือข่าย แต่จ็อบส์ก็ยืนยันว่าจะเดโมฟีเจอร์ทั้งหมดแบบสดๆ ไม่บันทึกเทปไว้ก่อน (นาน 90 นาที!) ซึ่งรวมถึงการโทรออกไปสั่งกาแฟ ซึ่งก็ต้องเชื่อมเครือข่ายจริงๆ ด้วย
  • ทีมงานของแอปเปิลจึงต้องเตรียมพร้อมทุกอย่างเพื่อไม่ให้เดโมเจ๊งกลางงาน เช่น มี iPhone หลายเครื่องเตรียมไว้เดโมฟีเจอร์เครื่องละ 2-3 อย่างเท่านั้น, มีลำดับการพรีเซนต์ฟีเจอร์ต่างๆ ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะไม่แครช
  • ทีมงานแก้ปัญหาเรื่อง Wi-Fi ที่อาจมีปัญหาในงาน โดยเปลี่ยนความถี่ของเราเตอร์ Wi-Fi และตัว iPhone เองเป็นความถี่พิเศษของญี่ปุ่น เพื่อไม่ให้ชนกับอุปกรณ์ Wi-Fi ที่ใช้ความถี่มาตรฐานของนักข่าวทั้งหลาย
  • AT&T ตั้งสถานีฐาน (cell site) ขนาดเล็กไว้ในงานเพื่อการันตีว่าจะโทรออกได้ และทีมงานใช้วิธี hard code แถบสัญญาณของ iPhone ให้เต็ม 5 ขีดตลอดเวลา โดยไม่ขึ้นกับคุณภาพสัญญาณจริง เพราะกลัวสัญญาณร่วงระหว่างเดโม
  • จ็อบส์ฝึกซ้อมเดโมตลอด 5 วันก่อนงาน ช่วงเตรียมพร้อมมีแต่ปัญหามากมาย โดย Andy Grignon วิศวกรด้านเครือข่ายไร้สายของแอปเปิลเล่าว่าตอนแรกก็รู้สึกพิเศษที่ได้สิทธิ ไปดูจ็อบส์ซ้อม แต่หลังจากนั้นมีแต่ความเครียด เพราะถ้ามีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นตอนเดโม จ็อบส์จะไม่โทษว่าเป็นความผิดของตัวเองแน่นอน
  • เพื่อรักษาความลับของ iPhone แอปเปิลทุ่มทุนจองพื้นที่ทั้งหมดของศูนย์ประชุม Moscone Center, สร้างห้องปิดสำหรับทดสอบระบบอิเล็กทรอนิกส์, ห้องพักของจ็อบส์, มียามเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง, จ็อบส์เป็นคนตรวจสอบรายชื่อเจ้าหน้าที่ที่สามารถเข้ามาในศูนย์ได้ด้วยตัว เอง, คืนก่อนวันงาน เจ้าหน้าที่สัญญาจ้างทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนคุมไฟหรือคนเฝ้าบูตต้องนอนค้างภาย ในศูนย์ประชุมเพื่อป้องกันข่าวรั่ว
  • จ็อบส์ยืนยันว่าจะไม่ใช้วิธีถ่ายวิดีโอหน้าจอตอนที่เขากำลังสาธิต iPhone เพราะนิ้วมือของเขาจะบังหน้าจอ ทำให้ผู้ชมที่ดูภาพจากจอไม่ได้รู้สึกว่ากำลังถือ iPhone อยู่ด้วยตัวเอง ทีมงานของแอปเปิลจึงต้องใช้วิธีเพิ่มบอร์ดพิเศษแปะไว้ด้านหลัง iPhone และมีสายต่อไปออกโปรเจคเตอร์ภายนอก
  • ในระหว่างที่จ็อบส์เดโม ทีมงานวิศวกรที่รับผิดชอบในฝ่ายต่างๆ ก็นั่งลุ้นกันสุดตัวที่บริเวณที่นั่งแถวหน้าๆ โดยซื้อวิสกี้มาดื่มระงับความตื่นเต้น เมื่อจ็อบส์เดโมถึงฟีเจอร์ของฝ่ายใด ฝ่ายนั้นจะดื่มวิสกี้หนึ่งช็อต การเดโมออกมาราบรื่นอย่างน่าประหลาดใจ เมื่อจบงาน ทีมงานดื่มวิสกี้ขวดนั้นกันจนหมด และออกไปดื่มต่อที่บาร์เหล้าในเมืองกันตลอดทั้งวัน

ที่มา - New York Times

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ
บทความโดย:

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook