5 สาเหตุ โน๊ตบุ๊ค เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ พร้อมทางแก้

5 สาเหตุ โน๊ตบุ๊ค เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ พร้อมทางแก้

5 สาเหตุ โน๊ตบุ๊ค เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ พร้อมทางแก้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

5 สาเหตุ โน๊ตบุ๊ค เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ พร้อมทางแก้

เชื่อ ว่าอาการเครื่องค้าง เครื่องแฮงก์หรือหยุดทำงานดื้อๆ เป็นอาการที่ผู้ใช้ทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊คต่างต้องเคยเจอกันอยู่บ้างในการทำงาน แม้แต่ในปัจจุบันที่สเปคคอมพิวเตอร์จะเร็วแรงไปไกลแล้วก็ตาม รวมถึงระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย

เพราะ ถ้าหากใช้งานเพียงอย่างเดียว แล้วขาดการดูแลเอาใจใส่ ก็อาจจะเกิดปัญหาได้ไม่ต่างจากโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่า เพียงแต่เป็นปัญหาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องของฮาร์ดแวร์เสียทีเดียว แต่อาจจะเป็นเรื่องของซอฟต์แวร์หรือไดรเวอร์และอะไรต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในวันนี้ก็ขอพูดถึงโดยรวมๆ ของอาการเครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ที่พบเห็นกันบ่อยๆ บนโน๊ตบุ๊ค พร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อช่วยลดอาการเครื่องค้าง และความผิดปกติต่างๆ ให้หมดไป ซึ่งการเตรียมตัวก็มีเพียง เครื่องมือ ซอฟต์แวร์ การเตรียมข้อมูลและใจเต็มร้อยเท่านั้น

ติดตั้งโปรแกรมเยอะไป
เป็น ปัญหาสำคัญที่ทำให้โน๊ตบุ๊คเกิด เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ที่เจอกันบ่อย มักเกิดขึ้นกับคนที่ไม่ค่อยบันยะบันยังในการติดตั้งซอฟต์แวร์และเกมต่างๆ เพราะนอกจากจะใช้พื้นที่เยอะขึ้นแล้ว โปรแกรมบางตัวยังมีระบบอัพเดตอัตโนมัติหรือทำงานอยู่เบื้องหลัง ซึ่งบางครั้งก็ไม่รู้ได้เลย ต่อเมื่อต้องมาตรวจสอบกันอย่างจริงจัง ไหนจะเป็นโปรแกรมแบบเดโม แชร์แวร์ สารพัดที่บางคนชอบลงชอบลองใช้ สุดท้ายก็ไม่เคยได้เอาออกไป ทิ้งเอาไว้เป็นขยะอยู่ในระบบ แล้วค่อยๆ กินพื้นที่ไปทีละน้อย สิ่งเหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้โน๊ตบุ๊คเกิดปัญหา เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ได้มากทีเดียว

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังก็คือ ในส่วนของ Start up หรือโปรแกรมที่เปิดขึ้นมาพร้อมกับระบบวินโดวส์ก็เช่นเดียวกัน โปรแกรมพวกนี้จะถูกสั่งให้รันขึ้นมาพร้อมกันกับระบบเมื่อเปิดใช้งานและยัง สแตนบายให้รอทำงานหรือบางครั้งก็เริ่มทำงานพร้อมกันไปกับระบบปฏิบัติการด้วย ก็ไม่น่าแปลกที่ทำไมบางครั้งใช้ระยะเวลาในการเปิดเครื่องที่นานขึ้นทุกขณะ บางทีเปิดเครื่องขึ้นมาแล้ว กว่าจะใช้งานได้ก็รอกันจนดื่มกาแฟไปหมดแก้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นก็หมายถึง การที่ถูกจับจองพื้นที่แรมไปและต้องอาศัยการประมวลผลของซีพียูที่มากขึ้น ก็ทำให้ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ได้ไม่ยาก

วิธีแก้ไข
แนว ทางแก้ไขก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการลบโปรแกรม ที่ไม่ใช้ออกไปบ้าง ไม่ว่าจะใช้วิธี Remove ด้วยการใช้ระบบ Uninstall Program ของโปรแกรมแต่ละตัวที่ติดตั้งลงไปหรือ Uninstall Program จากใน Control panel ของวินโดวส์เองหรือจะเลือกใช้โปรแกรมสำหรับ Uninstall โดยเฉพาะอย่างเช่น Your Uninstaller หรือ Revo Uninstaller เป็นต้น ข้อดีของโปรแกรมเหล่านี้ก็คือ ลบแบบถอนรากถอนโคนไม่ให้เหลือทิ้งเอาไว้ในเครื่องจนทำให้ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ อีกต่อไป

ส่วน โปรแกรมที่อยู่ใน Start up ก็สามารถเข้าไปที่คลิกขวาปิดที่ System Tray ที่อยู่มุมขวาล่างของหน้าจอ แล้วจึง Uninstall ออกจากระบบก็ได้ แต่บางครั้งหากยังต้องการเก็บโปรแกรมไว้ใช้งาน ก็อาจจะใช้วิธีปิดไม่ให้ทำงานพร้อมกันกับการบูตวินโดวส์ แต่ให้ทำงานเมื่อเรียกใช้เท่านั้น ก็ให้เรียกเมนู msconfig >Startup แล้วเอาเครื่องหมายหน้าโปรแกรมที่ไม่ให้รันขึ้นมา จากนั้นรีสตาร์ทอีกครั้งหนึ่ง ก็เป็นอันเสร็จสิ้น


แรมมีน้อย ไม่พอใช้
แบบ นี้เป็นที่เข้าใจสำหรับใครที่ใช้เครื่องมายาวนาน แล้วอยู่ๆ ก็ต้องมาเจอปัญหา เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ เพราะบางทีโน๊ตบุ๊คที่ใช้ ก็รองรับแรมได้เท่านั้นหรือไม่มีสล็อตเพิ่มหรือหาแรมที่นำมาใช้ร่วมได้ยาก ประเด็นเหล่านี้ก็กลายมาเป็นปัญหาสำคัญได้ ถึงแม้ว่าระบบปฏิบัติการจะมีระบบสเปคขั้นต่ำ (Minimal) ว่าแรมเท่านี้ก็ใช้งานได้ แต่เมื่อต้องติดตั้งโปรแกรมและใช้งานจริง ก็กลายเป็นว่าไม่พอต่อการใช้งาน เมื่อระบบก็ต้องการใช้แรมและโปรแกรมที่ทำงานอยู่ก็ต้องใช้แรม มีการดึงหรือจับจองพื้นที่ในการทำงานกันมากขึ้น แรมที่มีอยู่ก็ไม่พอ อาการที่เห็นได้ก็คือ เปิดโปรแกรมช้าลง ทำงานช้าลงและสุดท้ายเมื่อโหลดมากๆ เข้า ก็จะ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ เป็นปกติ ซึ่งปัญหาในรูปแบบนี้ก็พอจะมีสิ่งที่ทำได้ 2 ส่วนคือ

วิธีแก้ไข
ส่วน แรกให้ใช้โปรแกรมที่ใช้จัดการแรม อย่างเช่น RAM Booster, Memory Optimize หรือ SuperRAM เป็นต้น มาใช้สำหรับการเรียกคืนแรมกลับมาใช้งานในชั่วขณะ แต่จะได้กลับคืนมามากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับแรมพื้นฐานเดิมที่ติดตั้งอยู่บนเครื่อง ซึ่งหากมีน้อยอยู่แล้ว ก็อาจจะเรียกคืนมาได้ไม่มากนักหรือคืนมาได้น้อย แต่เมื่อเปิดไฟล์หรือโปรแกรมเพิ่มขึ้น ก็จะออกอาการผิดปกติเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็น เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ก็ตาม

ทางออก ที่ยั่งยืนก็คือ การเพิ่มแรมเข้าไป อาจจะดูว่ากำปั้นทุบดินไปหน่อย แต่นี่คือเรื่องจริงที่ควรจะเป็น เพราะให้คุณฝืนไปเท่าไร ไม่ว่าจะทำ Virtual Memory, ReadyBoost หรือใช้โปรแกรมก็ตาม แต่พื้นฐานที่มีอยู่เดิมน้อยมากอยู่แล้ว จะทำอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้ดีขึ้นได้มากกว่านั้น ซึ่งการอัพเกรดแม้ว่าจะลำบากไปบ้างสำหรับโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าๆ แต่ก็เชื่อว่ายังพอหาแรมมาใช้งานได แม้ราคาจะแพงไปบ้างก็ตาม แต่ที่สำคัญก็ควรจะเลือกร้านที่ไว้ใจได้และสามารถเช็คให้เราได้ว่าแรมที่ใช้ นั้นเหมาะสมกับโน๊ตบุ๊คที่ใช้อยู่และมีเสถียรภาพมากพอในการทำงาน ไม่แนะนำให้ซื้อมาเปลี่ยนเอง ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนที่ร้าน เพราะหากใช้ไม่ได้หรือเข้ากันไม่ได้ก็จะได้หาทางออกอื่น จะเปลี่ยนหรือเพิ่มก็ง่ายยิ่งขึ้น

ไวรัส มัลแวร์ แอบมาแชร์ทรัพยากรเครื่อง
เป็น มูลเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิด เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ เพราะบรรดาไวรัส ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส โทรจัน มัลแวร์หรือแอดแวร์ ล้วนแต่เป็นตัวที่คอยดึงทรัพยาการเครื่องไปใช้อยู่ตลอดเวลา เพราะบางตัวก็ใช้ในการรันตัวเองให้ทำงานตามที่ถูกเขียนมาหรืออย่างโทรจันที่ เข้ามาแฝง ก็ใช้ทรัพยากรเพื่อเก็บและส่งข้อมูลแบบลับๆ หรือจะเป็น Adware ก็จะเปิดหน้าต่างขึ้นรบกวนการทำงานของเบราว์เซอร์อยู่ทุกครั้ง แบบนี้เป็นอาการโดยตรง ที่ทำให้ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ แต่ยังมีผลกระทบทางอ้อมก็คือ เมื่อไวรัสเริ่มทำงาน แอนตี้ไวรัสก็จะต้องรันขึ้นมาเพื่อตรวจจับ นั่นก็หมายถึงต้องดึงทรัพยากรเครื่องไปเพิ่มขึ้นจากการใช้งานปกติ ซึ่งหากอยู่ในภาวะที่เครื่องมีโหลดมากอยู่แล้ว ก็จะยิ่งทำงานหนักขึ้น โอกาสที่จะทำให้เกิดการ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ก็เป็นไปได้เช่นกัน

วิธีแก้ไข
แนว ทางการแก้ไขสามารถทำได้โดยการติดตั้ง แอนตี้ไวรัสให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์และเปิดให้มีการตรวจเช็คบรรดาข้อมูล ที่ผ่านเข้ามา รวมถึงการอัพเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แอนตี้ไวรัสมีความสามารถในการตรวจจับที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ดีกว่าปล่อยให้หลุดเข้ามาแล้วค่อยแก้ไขในภายหลัง ซึ่งจะทำให้เกิดโหลดของการทำงานจนเกิดอาการ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ แต่ถ้าเป็นมัลแวร์หรือโทรจันบางประเภท อาจจะต้องใช้โปรแกรมประเภท Remover นำมาใช้ในการตรวจจับแทน แต่ถ้ารับไม่ไหวหรือเกินจะเยียวยา ก็อาจจะต้องใช้วิธีฟอร์แมตและติดตั้งวินโดวส์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง

พัดลมไม่ทำงาน หมุนช้า เครื่องร้อน
เป็น ปัญหาใหญ่ เพราะเกิดขึ้นจากฮาร์ดแวร์โดยตรงและมองไม่เห็น แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าสาเหตุอื่นๆ รูปแบบการเกิดง่ายๆ ก็คือ บางครั้งการใช้งานโน๊ตบุ๊คมานานและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองหรือสิ่ง ต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการระบายความร้อนฮาร์ดดิสก์โดยตรง ซึ่งเมื่อเกิดฝุ่นหรือสิ่งต่างๆ มาสะสมบนพัดลมมากขึ้น ก็จะเข้าไปเกาะตามใบพัดและจุดต่างๆ ภายใน โดยเฉพาะทางลมเข้าออก เมื่อถูกปิดกั้นมากๆ จนเกิดความร้อนสะสม ไม่ว่าพัดลมจะหมุน ช้าเร็วหรือไม่ก็ตาม ความร้อนก็จะทำให้ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ได้ในทันทีหรือไม่ระบบก็จะตัดการทำงานของซีพียูไปก่อน เนื่องจากความร้อนสูงเกินไปนั่นเอง อาการแบบนี้จะเป็นทั้งหน้าร้อนและหน้าหนาว บางทีอากาศเย็นก็เป็นช้า ที่สังเกตได้อีกอย่างคือ เสียงพัดลมดังหรือเครื่องสั่นเพราะการหมุนที่ผิดปกติ

วิธีแก้ไข
ทาง เดียวในการแก้ไขก็คือ คงต้องเปิดโน๊ตบุ๊คอย่างเดียวเท่านั้น เพื่อทำความสะอาด ในขั้นตอนนี้สามารถทำได้เองหรือจะส่งร้านก็ได้ เพราะความยากง่ายของการแกะโน๊ตบุ๊คในแต่ละรุ่นต่างกัน บางรุ่นอาจจะแกะน็อตไม่กี่ตัว ก็เปิดขึ้นมาได้แล้ว แต่บางรุ่นต้องแกะเกือบทั้งเครื่องถึงจะเปิดได้ ดังนั้นถ้ายากและไม่อยากทำเอง ก็จ้างที่ร้านให้ทำให้ก็ได้ เวลานี้มีร้านรับทำโน๊ตบุ๊คอยู่มากมายตามห้างไอที เอาไปทิ้งไว้หรือจะไปนั่งเฝ้าก็ได้ไม่เป็นปัญหาสนนราคาก็ไม่กี่ร้อยบาท แต่ได้เครื่องที่สะอาดหมดจดลดความร้อน ไม่เกิด เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ก็คุ้มค่ามากแล้ว

ฮาร์ดดิสก์มีปัญหา
สาเหตุ นี้เกิดขึ้นได้ทั้งฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานมานานและฮาร์ดดิสก์บนโน๊ตบุ๊คเครื่อง ใหม่ที่ไม่ค่อยได้ใส่ใจกับการดูแล ซึ่งหากเป็นโน๊ตบุ๊คเครื่องเก่าก็ไม่ว่ากัน เพราะทำงานมานานมากแล้ว บางทีก็เกิด Bad sector หรือกลไกการทำงานเริ่มลดประสิทธิภาพลงไป การหมุนแบบผิดปกติหรือหัวอ่านเริ่มชำรุด ก็เป็นเหตุให้ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ก็มีโอกาสเป็นไปได้จากฮาร์ดแวร์ที่ไม่ได้คุณภาพหรือเกิดจากการไม่ดูแลของผู้ ใช้ อย่างเช่น มีการเคลื่อนย้ายระหว่างที่เครื่องทำงานบ่อย มีการกระแทกหรือเกิดจากอุบัติเหตุ เช่นทำหล่นหรือใช้งานโน๊ตบุ๊คด้วยการ ถอดแบตฯ ออก แล้วต่อไฟตรง เมื่อปลั๊กหลุดก็อาจทำให้ฮาร์ดดิสก์ที่กำลังทำงานอยู่เกิดปัญหาได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊คมีปัญหา จนนำมาสู่อาการ เครื่องค้าง ระบบแฮงค์ ได้

วิธีแก้ไข
มี อยู่สองแนวทางคือ หากเกิด Bad sector แบบที่ไม่ร้ายแรง ก็อาจจะใช้เครื่องมือที่เป็นซอฟต์แวร์สแกนและ Fix Bad Sector ให้อยู่ในวงจำกัด แต่หากเกิดขึ้นหนัก อาจใช้วิธี Low Level Format ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูง แต่ให้ผลคุ้มค่า ซึ่งวิธีเหล่านี้ให้ผลการทำงานแบบ 50/50 เรียกได้ว่ามีโอกาสหายหรือมี Bad Sector มากกว่าเดิมก็ได้ แต่อย่างน้อยก็ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่แบบที่สองก็คือ เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่ แบบนี้ชัดเจนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยน แต่ข้อดีมีมากกว่า เพราะนอกจากจะได้ฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่แล้ว ก็ยังได้ความจุเพิ่มมากกว่าเดิมหรือเลือกรุ่นที่มีความเร็วสูงกว่าก็ยังได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงเกินไปนัก เพราะฮาร์ดดิสก์ราคาถูกลงเยอะ ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์โน๊ตบุ๊ครุ่นปกติ ความจุ 1TB ความเร็วรอบ 5400rpm ราคายังไม่ถึง 3 พันบาทด้วยซ้ำหรือจะเลือกเป็น SSD ก็ไม่มีใครว่าถ้าอยากใช้ แต่อาจจะต้องกัดฟันหน่อย เพราะราคาแพงเอาเรื่องทีเดียว

แต่ หากว่าเจอปัญหาและสาเหตุ แต่แก้ไขแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น ก็คงไม่ต้องฝืนกันอีกต่อไป ในเมื่อคุณอาจจะใช้โน๊ตบุ๊กมาก 4-5 ปี ก็อาจจะได้เวลาที่จะเปลี่ยนเครื่องได้แล้ว เพราะหากเก่ามากหรือสเปคลากไปไม่ไหว ก็ต้องทำใจหยุดหรือปลดระวางการใช้งานและมอบให้การกุศลหรือถ่ายโอนไปยังลูก หลาน ให้เอาไปฝึกหัดการใช้งาน ก็ดูจะได้ประโยชน์อยู่ไม่น้อย แต่ถ้ามีแพลนที่กำลังจะซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่อยู่ แล้วยังนึกไม่ออกว่าจะเลือกรุ่นไหน ก็ลองเข้ามาดูใน Notebookspec.com แห่งนี้ เพราะมีข้อมูลโน๊ตบุ๊คทุกรุ่นที่มีในท้องตลาดมาให้ได้เลือกและเปรียบเทียบ กันมากมายเลยทีเดียว

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook