ฟิล์มกันรอยมีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร และเหมาะกับการใช้งานแบบไหน?

ฟิล์มกันรอยมีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร และเหมาะกับการใช้งานแบบไหน?

ฟิล์มกันรอยมีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร และเหมาะกับการใช้งานแบบไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฟิล์มกันรอยมีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไร และเหมาะกับการใช้งานแบบไหน?

       หลังจากที่ได้สมาร์ทโฟนสุดรักมาไว้ในครอบครองแล้ว แน่นอนว่านอกจากการใช้งานในแต่ละวันแล้ว ยังต้องมีการปกป้องดูแลตัวเครื่องเพื่อให้สมาร์ทโฟนของเรานี้มีสภาพดังเช่น เครื่องใหม่ให้นานที่สุด และการติดฟิล์มกันรอยก็เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถลดรอยขีดข่วนของตัวเครื่อง และหน้าจอได้เป็นอย่างดี

       ซึ่งฟิล์มกันรอยในปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบเสียจนหลายคนเกิดปัญหาว่าฟิล์มกันรอยแบบไหนมันดีกว่ากัน ? ฟิล์มกันรอยแบบไหนกันรอยได้ดีกว่า ? ฟิล์มกันรอยแบบไหนเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ที่สุด ? ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ได้สร้างความข้องใจให้กับผู้ใช้หลายคน

       แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะวันนี้เว็บไซต์ thaimobilecenter.com ของเรา จะพาไปรู้จักกับฟิล์มกันรอยแบบต่างๆ เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อฟิล์มกันรอยให้กับทุกท่านกัน

ฟิล์มกันรอยแบบใส (Clear Screen Protector)

       เป็นฟิล์มกันรอยที่หาซื้อหาใช้ได้ง่ายที่สุด และไม่ส่งผลต่อการแสดงผล หรือสีสันของหน้าจอมากนักจนเรียกได้ว่า เหมือนไม่ติดฟิล์มกันรอยเลยทีเดียว โดยฟิล์มกันรอยแบบใสนี้จะมี ให้เลือกหลายระดับทั้ง Ultra Clear หรือ Invisible Screen Protector ฟิล์มกันรอยแบบใสจะไม่ทำให้การแสดงผลของหน้าจอประสิทธิภาพลดลงมากนัก แต่จะมีข้อเสียตรงที่จะเห็นรอยนิ้วมือง่ายเมื่อใช้งาน

ฟิล์มกันรอยแบบด้าน (Matte Screen Protector)

       เป็นฟิล์มกันรอยอีกแบบที่ได้รับความนิยมไม่น้อย ด้วยข้อดีในการลดรอยนิ้วมือเมื่อใช้งาน และยังลดแสงจากหน้าจอ ช่วยถนอมสายตาได้ในระดับหนึ่งด้วย รวมถึงลดการสะท้อนจากแสงรอบๆ ด้วย แต่สำหรับคนที่ชอบหน้าจอสีสดใสจากหน้าจอ ฟิล์มกันรอยแบบนี้อาจไม่เหมาะสักเท่าไร

ฟิล์มกันรอยแบบเพิ่มความเป็นส่วนตัว (Privacy Screen Protector)

       ฟิล์มนี้จะเหมาะกับผู้ใช้ที่มีเรื่องส่วนตัวในสมาร์ทโฟนเยอะ และต้องใช้สมาร์ทโฟนท่ามกลางฝูงชนมากมายที่อาจจะถือวิสาสะมองจอเราขณะที่เรา กำลังใช้สมาร์ทโฟนอยู่ โดยฟิล์มกันรอยชนิดนี้จะทำให้สามารถมองเห็นหน้าจอสมาร์ทโฟนได้เฉพาะมุมด้านหน้าตรงๆ เท่านั้น หากมองจากมุมอื่นจะมองเห็นเป็นแค่จอมืดๆ นั่นเอง แต่ก็มีข้อเสียคือ เราอาจจะแชร์ความสุขด้วยการดูคลิปวีดีโอ หรือรูปภาพต่างๆ พร้อมกับเพื่อนหลายๆ คนไม่ได้ เพราะจะมีแค่คนที่อยู่ตรงหน้าจอเท่านั้นที่มองเห็น

ฟิล์มกันรอยแบบกระจก (Mirror Screen Protector)

       เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ชอบส่องกระจกเพื่อ เช็คความพร้อมของใบหน้าบ่อยๆ แต่ไม่อยากพกกระจก ฟิล์มชนิดนี้จะพิเศษตรงที่เพิ่มชั้นฟิล์มขึ้นมาอีกหนึ่งชั้น ซึ่งเป็นชั้นของกระจกที่คล้ายๆ กระจกเงา จึงทำให้ฟิล์มนี้หนากว่าปกติ และข้อดีที่เหนือกว่าฟิล์มกันรอยแบบอื่นๆ ก็คือ ฟิล์มชนิดนี้ใช้ส่องแทนกระจกได้ แต่ข้อเสียคือ เนื่องจากฟิล์มชนิดนี้มีฟิล์มกระจกเพิ่มมาอีกชั้น เมื่ออยู่ในที่ๆ มีแสงจัด อาจทำให้มองเห็นหน้าจอไม่ชัด จนอาจไม่เห็นเลย และฟิล์มก็เป็นรอยขีดข่วนง่ายมาก อาจจะต้องเปลี่ยนฟิล์มบ่อยๆ

ฟิล์มกันรอยแบบมีลวดลาย (Design Screen Protector)

       ฟิล์มสำหรับคนที่ไม่ชอบความจำเจ ชอบแสดงออกให้หลายๆ คนเห็นถึงความเป็นตัวของตัวเองด้วยฟิล์มกันรอยแบบสติกเกอร์มีลวดลายสำหรับตัวเครื่อง โดยฟิล์มชนิดนี้ จะไม่เน้นการป้องกันรอยขีดข่วน เนื้อฟิล์มจึงไม่ค่อยทนทานเท่าฟิล์มแบบอื่นๆ นอกจากนี้ยังหาซื้อยากสำหรับสมาร์ทโฟนรุ่นที่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก

ฟิล์มกันรอยแบบกันกระแทก (Anti-Shock Screen Protector)

       ปัญหาหนักอกหนักใจที่บรรดาผู้ใช้สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ต้องเจอกันอยู่เป็นประจำก็คือทำเครื่องหล่น หรือเกิดกระแทกกับของบางอย่างแล้วหน้าจอแตก ซึ่งทำให้ลำบากต้องเสียเงินไปเปลี่ยนหน้าจอกันหลายพันบาท ดังนั้นบรรดาผู้ผลิตฟิล์มกันรอยชั้นนำจึงพร้อมใจกันพัฒนาฟิล์มกันรอยแบบกันกระแทก (Anti-Shock) ออกมาโดยเฉพาะ

       ซึ่งเท่าที่มีการทดสอบกันมา ไม่ว่าจะเอาค้อนทุบ, เอามีดกรีด, เอานิ้วเคาะ, ทำลูกบอลเหล็กหล่นใส่ หรือทำหล่นพื้น ก็พบกว่าฟิล์มกันกระแทกแบบนี้ สามารถป้องกันหน้าจอแตกได้จริง เนื่องจากตัวของแผ่นฟิล์มเองจะประกอบไปด้วยชั้นย่อยหลายชั้นที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ตั้งแต่ชั้นฟิล์มกันรอยนิ้วมือ, ชั้นฟิล์มกันรอยขีดข่วน และชั้นฟิล์มกันแรงกระแทก ซึ่งชั้นฟิล์มกันกระแทกนี้เองจะผลิตจากกระจกที่สามารถช่วยดูดซับแรง หรือกระจายแรงกระแทกแทนหน้าจอจริงๆ ได้

       แต่อย่างไรก็ดี แรงกระแทกที่เกิดขึ้นก็ต้องไม่แรงจนเกินไป และต้องเป็นแรงที่เข้ามากระทำกับหน้าฟิล์มโดยตรงเท่านั้น หากการกระแทกไม่ได้เกิดขึ้นที่บริเวณฟิล์ม เช่นทำเครื่องตกโดยเอามุมเครื่องลงพื้น กรณีนี้ฟิล์มกันกระแทกก็ไม่สามารถช่วยป้องกันความเสียหายได้

สรุปแล้ว ฟิล์มกันรอยราคาถูกหรือแพงแตกต่างกันอย่างไร และควรเลือกซื้อฟิล์มกันรอยแบบไหนดี ?

       ฟิล์มกันรอยแบบต่างๆ แต่ละยี่ห้อ แต่ละแบบจะมีราคาที่แตกต่างกันไป โดยที่ฟิล์มราคาแพงกว่าจะแลกมาด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ของฟิล์มที่ดีกว่า เช่น กันรอยขีดข่วนได้ดีกว่า, ป้องกันรอยนิ้วมือเมื่อใช้งานได้ดีกว่า หรือลดการสะท้อนแสงจากแสงรอบๆ ตัวได้ดีกว่า เป็นต้น

       ซึ่งฟิล์มกันรอยที่ราคายิ่งสูง ก็จะยิ่งได้ฟิล์มที่มีคุณภาพกว่าฟิล์มที่ราคาถูกกว่านั่นเอง สำหรับการเลือกซื้อ ก็คงต้องพิจารณากันต่อไปว่า ผู้ใช้ถูกใจกับฟิล์มกันรอยแบบไหนมากกว่ากัน, มีงบประมาณมากน้อยขนาดไหน และฟิล์มกันรอยแบบไหนเหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้ที่สุดนั่นเองครับ

นำเสนอ ทิป&ทริค น่ารู้สำหรับผู้ใช้มือถือ, สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต โดย : thaimobilecenter.com


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook