เริ่มแจกคูปองทีวีดิจิตอลแล้ว!! ล็อตแรก 21 จังหวัด

เริ่มแจกคูปองทีวีดิจิตอลแล้ว!! ล็อตแรก 21 จังหวัด

เริ่มแจกคูปองทีวีดิจิตอลแล้ว!! ล็อตแรก 21 จังหวัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กสทช.เริ่มแจกคูปองทีวีดิจิตอล มูลค่า 690 บาท ให้กับประชาชนจำนวย 4.6 ล้านครัวเรือน ผ่านทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน โดยแจกคูปองล็อตแรกในวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา และจะจัดส่งให้พื้นที่ 21 จังหวัด ที่มีสัญญาณครอบคลุมร้อยละ 80 คือ กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม, ปทุมธานี, สมุทรปรากร, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, พระนครศรีอยุธยา, สิงห์บุรี, อ่างทอง, ระยอง, สุพรรณบุรี, หนองคาย, สุโขทัย, อุดรธานี, ฉะเชิงเทรา, พัทลุง, สงขลา, นครนายก, ราชบุรี และชัยนาท โดยจะต้องนำคูปองมาแลกซื้อภายใน 6 เดือน หากพบปัญหาการใช้คูปองสามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วน 1200


การใช้คูปอง กสทช. จะเริ่มให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม จะเป็นวันแรกที่เปิดให้ใช้คูปอง โดยคูปองทีวีดิจิตอล สามารถนำไปใช้แลกซื้อหรือเป็นส่วนลดสำหรับอุปกรณ์ดิจิตอลได้ 3 อย่าง คือ กล่องรับสัญญาณ เซตท็อปบ็อกซ์ (Set Top Box) โทรทัศน์ที่สามารถรับสัญญาณดิจิตอลในตัว หรืออุปกรณ์อื่นๆ จำพวก เสาอากาศ โดยให้เจ้าบ้านเตรียมเอกสารหลักฐานสำคัญ ยืนยันในการรับสิทธิ์ ได้แก่ บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านตัวจริงของเจ้าบ้าน พร้อมสำเนา นำไปยื่นยังจุดบริการพร้อมกับคูปองทีวีดิจิตอล


ขั้นตอนการใช้คูปอง

หลักฐานที่ใช้คู่กับคูปองดิจิตอลทีวี คูปองดิจิตอลทีวี มูลค่า 690 บาท เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนรับชมดิจิตอลทีวีได้ง่ายขึ้นนั้น มีขั้นตอนและวิธีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน โดยแบ่ง เป็น 2 กรณี ดังนี้

1. กรณีเจ้าบ้านไปเอง ต้องมีหลักฐานดังนี้
- คูปอง 690 บาท ที่ได้รับจากทางไปรษณีย์
- บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงและสำเนา 1ชุด
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงและสำเนา 1ชุด

2. กรณีที่เจ้าบ้านไม่สามารถไปดำเนินการเองได้ ต้องมีหลักฐานดังนี้
- คูปอง 690 บาท ที่ได้รับจากทางไปรษณีย์ ให้เจ้าบ้านเซ็นมอบฉันทะด้านหลังคูปอง
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านฉบับจริงและสำเนา 1ชุด
- ทะเบียนบ้านฉบับจริงของเจ้าบ้านฉบับจริงและสำเนา 1ชุด
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบฉันฑะฉบับจริงและสำเนา 1ชุด

นำคูปองและหลักฐาน ไปใช้ ณ จุดจำหน่าย ของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป
โดยให้สังเกตสัญลักษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการ กับ กสทช.
สามารถตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่เข้าร่วมโครงการได้ที่ www.nbtc.go.th
เก็บต้นขั้วของคูปองเอาไว้เพื่ออ้างอิงกับบริษัท กรณีอุปกรณ์มีปัญหา เพื่อใช้ในการรับประกันตามเงื่อนไข
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nbtc.go.th และ กสทช. Call Center โทร 1200

เมื่อได้รับกล่องเซตท็อปบ็อกซ์แล้ว เจ้าหน้าที่จะติดสติกเกอร์ลงบนตัวเครื่องให้เพื่อยืนยันการใช้สิทธิ์ สำหรับกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล 42 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการได้รับสิทธิ์ประกันสินค้าเป็นเวลา 2 ปี นับจากวันที่แลกซื้อ หากชำรุด สามารถส่งซ่อมได้ที่ร้านค้าที่ให้บริการโดยระหว่างรอซ่อมจะมีกล่องสำรองมาให้ประชาชนได้ใช้ชั่วคราว แต่หากอุปกรณ์ที่แลกซื้อชำรุดภายใน 1 เดือน ทางร้านจะต้องเปลี่ยนสินค้าให้ทันที ทั้งนี้หากเจ้าบ้านไม่สามารถไปดำเนินการเองได้ ต้องมอบฉันทะ โดยใช้บัตรประชาชน และทะเบียนบ้านตัวจริง ของทั้งเจ้าบ้าน และ ผู้รับมอบฉันทะ ก็จะสามารถดำเนินการแทนได้เช่นกัน


อย่างไรก็ตามบางท่านอาจยังงงๆว่าต้องซื้ออุปกรณ์ดิจิตอลแบบใดเพราะยังไม่มีความเข้ามากนักเกี่ยวกับดิจิตอลทีวีและไม่รู้จะเริ่มยังไงต้องซื้อแบบใดถึงจะดีไม่เสียง่าย เรามีวิธีง่ายๆมานำเสนอเป็นวิธีการตัดสินใจเลือกซื้อมาให้พิจารณากัน 5 วิธีเลือกการซื้อกล่องทีวีดิจิตอลให้คุ้มค่าคุ้มราคา

1. มาตรฐานของกล่อง สังเกตได้จากสติกเกอร์น้องดูดี ซึ่งเป็นสติกเกอร์ของ กสทช. หากมีสติกเกอร์ดังกล่าวหมายถึงผ่านมาตรฐานเบื้องต้น โดยกล่องมาตรฐานจะต้องมีช่องเสียบแจ็กคู่ รองรับโทรทัศน์ที่ใช้เสาอากาศ ช่องเสียบสัญญาณ AV คือ ช่องสัญญาณภาพ และเสียงซ้ายขวา รวม 3 ช่อง สำหรับทีวีจอแบนรุ่นแรก และช่องเสียบพอร์ต HDMI สำหรับทีวีรุ่นใหม่ ซึ่งจะช่วยให้การรับชมได้คุณภาพความคมชัดสมบูรณ์ขึ้น รวมไปถึงช่องเสียบยูเอสบีที่หน้ากล่องด้วย อย่างไรก็ตาม กล่องบางรุ่นอาจมีสเปกแบบคอมโบ คือ มีช่องเสียบสัญญาณจากจานดาวเทียมด้วย แต่มีราคาแพง

2. ควรเลือกกล่องที่ต่อสายอแดปเตอร์มากกว่ากล่องที่มีสายไฟในตัว เนื่องจากกล่องที่มีสายไฟในตัวเป็นการใช้งานจากการเสียบปลั๊กตรง มีส่วนจ่ายพลังงานไฟฟ้าภายในกล่อง ซึ่งหากตัวจ่ายไฟเสียเท่ากับว่าจะต้องซื้อกล่องใหม่ แต่หากเป็นกล่องที่ใช้อแดปเตอร์ เมื่อใช้ประมาณ 3-5 ปี แล้วอแดปเตอร์เกิดเสีย ซึ่งหมดอายุรับประกันไปแล้ว ยังสามารถซื้ออแดปเตอร์ใหม่ได้ โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนกล่องใหม่ ควรอ่านฉลากข้างกล่องกระดาษของกล่องทีวีดิจิตอลด้วยว่าเครื่องใช้ไฟขนาดเท่าไร และต้องดูตัวอแดปเตอร์ด้านหลังกำลังจ่ายไฟเป็นเท่าไร ซึ่งกำลังจ่ายไฟจะต้องมากกว่าหรือเท่ากับปริมาณการกินไฟของกล่อง หากน้อยกว่าอาจทำให้เสียหายได้

3. ตัวกล่องต้องมีปุ่มเปิดปิด หรือปุ่มเปลี่ยนช่อง เพราะหากรีโมตเสียหายหรือใช้งานไม่ได้ ยังสามารถรับชมทีวีดิจิตอลได้โดยใช้ปุ่มกดจากกล่อง แต่หากไม่มีปุ่มกดที่กล่องเวลาเปิดปิดอาจต้องอาศัยการเสียบถอดปลั๊ก ซึ่งอาจส่งผลความเสียหายแก่กล่องได้

4. รีโมตต้องเป็นไปตามมาตรฐาน กสทช. คือ ปุ่มสัมผัสเลข 5 จะต้องเป็นปุ่มนูนเพื่อเป็นปุ่มสังเกตอ้างอิง สำหรับผู้มีปัญหาได้การมองเห็น

5. คู่มือการใช้งานกล่องทีวีดิจิตอลต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษตามกำหนดของ กสทช.


สนับสนุนเนื้อหา: www.settopbox.tv

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook