ยังไง? กรมการขนส่งทางบอก Uber ผิดกฎหมาย

ยังไง? กรมการขนส่งทางบอก Uber ผิดกฎหมาย

ยังไง? กรมการขนส่งทางบอก Uber ผิดกฎหมาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยังไง? กรมการขนส่งทางบอก Uber ผิดกฎหมาย

กรมการขนส่งทางบก ระบุ Uber Taxi ผิดกฎหมาย!!! เริ่มออกตรวจจับจริงจัง เตือนประชาชนอย่าใช้บริการ เพราะอาจไม่ปลอดภัย เนื่องจากเป็นรถที่ไม่เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลรถโดยสารสาธารณะ

นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกเปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏว่ามี ผู้ให้บริการรถรับส่งผู้โดยสารในลักษณะรถแท็กซี่ผ่าน Application ด้วยรถยนต์บริการ(ป้ายเขียว) และรถยนต์ส่วนบุคคล(ป้ายดำ) โดยอัตราค่าโดยสารไม่เป็นไปตามที่กฎหมายก าหนดนั้น

ล่าสุดกรมการขนส่งทางบกได้เชิญประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและมณฑลทหารบกที่ 11 เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ปัญหาก่อนจะสร้างความเดือดร้อนเป็นวงกว้างในอนาคต เช่น ปัญหาเรื่องการใช้บัตรเครดิต ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการใช้บริการ

โดยในเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าการให้บริการรับส่งผู้โดยสารในลักษณะรถแท็กซี่ผ่าน Application ด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์บริการดังกล่าว ถือว่าเป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ฐานใช้รถยนต์ผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้นอกจากนี้ยังมีความผิดฐานไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนด

ผู้ขับรถไม่มีใบขับขี่สาธารณะและไม่เข้าสู่ระบบทะเบียนของศูนย์ประวัติผู้ขับรถสาธารณะ นอกจากนี้การชำระค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิตอาจส่งผลต่อความปลอดภัยด้านธุรกรรมของผู้ใช้บริการในอนาคต

นายธีระพงษ์กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการประชุมหารือร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมีการตกลงร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยมณฑลทหารบกที่ 11 และกรมการขนส่งทางบกได้บูรณาการในการตรวจสอบการให้บริการที่ผิดกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

หากตรวจพบกรมการขนส่งทางบกจะเปรียบเทียบปรับสูงสุดทุกรายได้แก่ ความผิดฐานใช้รถผิดประเภทโทษปรับ สูงสุด 2,000 บาท ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่ทางราชการกำหนดโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท และไม่มีใบขับขี่รถสาธารณะปรับสูงสุด 1,000 บาท

ในส่วนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเร่งดำเนินการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่นำรถยนต์ส่วนบุคคลและรถยนต์รับจ้างมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารในลักษณะรถแท็กซี่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเร่งดำเนินการชี้แจ้งทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการว่าการกระทางดังกล่าวเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

ทั้งนี้กรมการขนส่งทางบกขอประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกใช้บริการรถแท็กซี่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อความปลอดภัยในการใช้บริการ และอย่าหลงเชื่อการสร้างแรงจูงใจด้วยเหตุผลต่างๆ เนื่องจากหากคำนวณค่าโดยสารแล้วจะพบว่ามีการแฝงค่าใช้จ่ายต่อระยะทางและเวลารวมทั้งมีการประกันค่าโดยสารขั้นต่ำ

ซึ่งเมื่อเทียบกับอัตราค่าโดยสารรถแท็กซี่มิเตอร์ในปัจจุบันแล้วพบว่า Uber Taxi จะมีราคาที่สูงกว่า และข้อสำคัญผู้โดยสารอาจไม่ได้รับความปลอดภัยเนื่องจากรถดังกล่าวไม่เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลในการตรวจสอบรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบกรวมทั้งต้องใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตซึ่งอาจมีมาตรฐาน ความปลอดภัยไม่เพียงพอประชาชนที่สงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ 1584 ตลอด 24 ชั่วโมงอธิบดีกรมการขนส่งทางบกกล่าวในท้ายที่สุด

ทำความรู้จักบริการ UBER (บริการรถแท็กซี่ผ่านแอพ)

  1. UBER บริษัทผู้ให้บริการรถแท็กซี่เปิดให้บริการใน กทม อย่างเป็นทางการแล้วหลังจากมีรายงานเมื่อปลายปีก่อนว่ากำลังจะเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยเร็วๆนี้
  2. UBER เป็นผู้ให้บริการแท็กซี่ แบบที่มีรถแท็กซี่ของตัวเองใช้การเรียกผ่านแอพบนสมาร์ทโฟน มีตำแหน่งของรถที่มารับ
  3. Uber ตั้งราคาค่าโดยสารไว้เริ่มต้นที่ 45บาท 9.20 บาทต่อกิโลเมตร ขั้นต่ำต่อเที่ยวที่ 75บาท
  4. มีรถอยู่สองแบบคือ Mercedes-Benz E-Class กับ Toyota Camry (รุ่นใหม่ทั้งคู่)

อยากลอง UBER แล้ว ทำไงดีล่ะ?

  1. โหลดแล้วเปิดแอพ UBER ในโทรศัพท์ของคุณ แตะปุ่มเรียกรถ รออึดใจเดียวให้เราไปรับคุณถึงที่
  2. ไม่ต้องรอแบบไร้จุดหมายคุณจะเห็นรถของคุณเดินทางมาหาคุณบนแผนที่แบบเรียลไทม์และจะโทรเตือนคุณเมื่อคนขับรถมาถึง
  3. ไม่ต้องใช้เงินสดไม่ต้องคอยแตกแบงค์ รอเงินทอน การจ่ายเงินทำผ่านแอพโดยหักจากบัตรเครดิทของคุณ ส่วนใบเสร็จจะไปรอคุณอยู่ในอีเมล์ทันที
  4. ใช้โค้ด UBERSAWASDEE ของเรา ขึ้น UBER ฟรีได้ 1 ครั้ง! (สำหรับการเดินทางไม่เกิน 300 บาท)

ที่มา: www.dlt.go.th เพ็ญพิชชา /ข่าว / พิมพ์, pantip.com/topic/31741929, โพสจัง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook