เราจะสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีจิตสำนึกได้จริงๆ ในอนาคตหรือไม่ ???

เราจะสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีจิตสำนึกได้จริงๆ ในอนาคตหรือไม่ ???

เราจะสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีจิตสำนึกได้จริงๆ ในอนาคตหรือไม่ ???
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

[บทความพิเศษ] เราจะสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีจิตสำนึกได้จริงๆ ในอนาคตหรือไม่ ???

เชื่อว่าเราๆ ท่านๆ คงจะได้เห็นหุ่นยนต์ที่มีความคิดเป็นของตัวเองกันมาอย่างมากมายจากใน ภาพยนตร์ครับ ไม่ว่าจะเป็น Skynet จาก Terminator หรือจะป๊าเดปป์จาก Transcendence ฯลฯ อีกมากมาย ซึ่งทำให้ใครหลายๆ คนอดคิดไม่ได้ครับว่าในอนาคตนั้นเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้สึกนึกคิด เป็นของตัวเองหรือไม่ วันนี้เราจะมาไขคำตอบกันครับว่าเรื่องจากภาพยนตร์ Sci-Fi จะกลายมาเป็นความจริงได้อย่างไร

ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้กันว่าคอมพิวเตอร์นั้นสามารถที่จะมีความรู้สึกนึก คิดได้หรือไม่นั้น สิ่งแรกที่เราต้องทำความรู้จักก่อนก็คือปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence หรือเรียกสั้นๆ ว่า A.I. ครับ A.I. นั้นคือการพัฒนาโปรแกรมให้ระบบคอมพิวเตอร์มีพฤติกรรมให้เหมือนกับมนุษย์มาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้

วิธีการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์นั้นมีพฤติกรรมเหมือนกับมนุษย์นั้นเราจะจะทำ การเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้และความสามารถทางประสาทสัมผัสให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ก่อน ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นจะเลียนแบบมาจากรูปแบบการเรียนรูปและการตัดสินใจของ มนุษย์ครับ A.I. นั้นมีหลายสาขาครับอันประกอบไปด้วย

  • Expert-System หรือระบบผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นระบบให้คำปรึกษาในการจัดการปัญหา โดยอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของมนุษย์ที่ได้ใส่เอาไว้ในโปรแกรม
  • Neural Network หรือระบบจำลองคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานเหมือนกับสมองของมนุษย์ได้(หรืออย่างน้อยก็จำลองให้เหมือนมากที่สุด)
  • Genetic Algorithms หรือปัญญาประดิษฐ์ที่เอาไว้ใช้สำหรับการสร้างทางเลือกจำนวนมาก รวมไปถึงตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้สำหรับปัญหานั้นๆ
  • Natural Language Processing หรือการประมวลภาษาธรรมชาติ เป็นการโปรแกรมเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจและประมวลผลภาษา ธรรมชาติของมนุษย์ เช่นคำพูดหรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ฯลฯ แล้วคอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำการโต้ตอบได้อย่างเหมาะสมกับภาษานั้นๆ
  • Learning System หรือระบบการเรียนรู้เป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำ การเรียนรู้ได้จากประสบการณ์(ตัวอย่างเช่นคอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ว่า ขับฝ่าไฟแดงเป็นเรื่องผิด) หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์สามารถที่จะโต้ตอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่าง เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม(ตามสิ่งที่เรียนรู้มา)
  • Vision System หรือระบบการมองเห็นเป็นระบบที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำการบันทึกสิ่งที่มอง เห็น แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำในลักษณะของรูปภาพ ตัวอย่างเช่นระบบวิเคราะห์รอยนิ้วมือ(เทียบกับมนุษย์ก็คือความทรงจำในลักษณะ ที่เป็นรูปภาพ)
  • Robotic หรือหุ่นยนต์เป็นการพัฒนาเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำ การเคลื่อนไหวได้เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ โดยการเคลื่อนไหวนั้นจะมีความแม่นยำเที่ยงตรงกว่ามนุษย์หลายเท่า(เนื่องจาก หุ่นยนต์ไม่มีกล้ามเนื้อให้เกิดความเหนื่อยล้า)

การที่วิชาทางด้านปัญญาประดิษฐ์แยกประเภทของปัญญาประดิษฐ์ไว้หลายๆ ประเภท ก็เนื่องมากจากการทำงานและหลักของการเขียนโปรแกรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์แต่ละ ประเภทจะไม่เหมือนกันครับ และจากข้อมูลข้างต้นเราจะเห็นได้ว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นถูกจำลองมาจากพฤติกรรม ของมนุษย์แทบทั้งสิน

ปัญหาที่ตามมาก็คือปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้จะสามารถสู้กับพฤติกรรมและความ รู้สึกนึกคิดของมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ได้หรือไม่ ให้ลองดูจากตารางดังต่อไปนี้ครับ

จากตารางท่านจะเห็นได้ครับว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นไม่ได้มีความสามารถเหนือ มนุษย์ไปหมดทุกอย่าง สิ่งหนึ่งที่เป็นทั้งผลดีและผลร้ายในเวลาเดียวกันก็คือจิตใต้สำนึกเรื่องของ ความดีงามนั้นปัญญาประดิษฐ์ไม่มีเหมือนมนุษย์เราครับ ตัวอย่างเช่นเรื่องของการลักขโมย มนุษย์เราเมื่ออยากจะได้ของอะไรสักอย่างที่อยู่ตรงหน้าแต่ว่าของชิ้นนั้นไม่ ใช่ของเรา ด้วยประสบการณ์และคำสั่งสอนรวมไปถึงความรู้ทางด้านกฎหมาย อาจจะทำให้เราใตร่ตรองและตัดสินใจไม่ทำการลักขโมยนั้น

ในทางกลับกันถ้าเป็นปัญญาประดิษฐ์แล้ว การตัดสินใจเลือกว่าจะขโมยหรือไม่ขโมยนั้นมีปัจจัยหลายอย่างซึ่งขึ้นอยู่กับ ว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นจะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการลักขโมยในครั้งนั้นมาก แค่ไหน และคอมพิวเตอร์ก็จะเลือกคำตอบที่ดีที่สุดที่สามารถทำการประมวลผลออกมาได้ ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงการขโมยของชิ้นนั้น เป็นต้นครับ(เพราะยังไม่มีกฎหมายที่ใดบนโลกนี้ที่บอกว่าหุ่นยนต์ลักขโมยแล้ว มีความผิดเป็นต้น)

เมื่อเรามองว่าหน่วยประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเหมือนกับสมองที่ ใช้ในการตัดสินใจนั้น สิ่งนี้ก็ไม่ผิดมากนักครับ เพราะตั้งแต่เรามีเครื่องคอมพิวเตอร์มานั้น คอมพิวเตอร์ก็ได้เข้ามาทำงานทางด้านการตัดสินใจหลายๆ อย่างแทนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่มีความละเอียดไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านตัวเลข หรืองานทางด้านการประมวลผลข้อมูล

สิ่งหนึ่งที่คอมพิวเตอร์มีดีกว่ามนุษย์เราก็คือคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักเหนื่อย ล้าครับ ซึ่งนั่นทำให้คอมพิวเตอร์สามารถที่จะทำการประมวลผลได้ตลอดเวลาเลยที เดียว(ถ้าเครื่องไม่ร้อนจนไหม้ไปซะก่อน) แต่มนุษย์เรานั้นมีความเหนื่อยล้าจากปัจจัยหลายๆ อย่างเกิดขึ้นดังนั้นเราต้องมีการพักผ่อนครับ

คุณอาจจะบอกว่าถ้าเรากลัวปัญญาประดิษฐ์ทำผิดก็ให้โปรแกรมไปด้วยว่าสิ่ง ไหนที่ปัญญาประดิษฐ์ทำแล้วจะผิด ซึ่งเรื่องนี้นั้นก็ได้มีการถกเถียงมากมายกันอย่างกว้างขวางครับ เพราะแม้กระทั่งมนุษย์เองแล้วนั้น

การกระทำในเรื่องเดียวกันบางคนอาจจะคิดว่าสิ่งนี้ผิด ส่วนอีกคนอาจจะคิดว่าสิ่งนี้ไม่ผิดก็เป็นได้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบดูภาพยนตร์ Sci-Fi บ่อยๆ แล้วหล่ะก็ คุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนครับว่าโดยส่วนมากแล้วหุ่นยนต์ที่มีปัญญาประดิษฐ์ อยู่ด้วยนั้นจะปฏิบัติตามสิ่งที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด(หรือสิ่ง ที่ดีที่สุด) แม้แต่นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์เองก็มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปในเรื่อง นี้ครับ มีทั้งเสียงที่สนับสนุนและเสียงที่ไม่สนับสนุนครับ

นักวิทยาศาสตร์อย่าง Stephen Hawking นั้นเคยพูดว่าการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันนั้นยังไม่จำเป็นมากนัก ที่เราจะต้องใส่ใจในเรื่องของความกลัวเหมือนอย่างภาพยนตร์ Sci-Fi แต่ในอนาคตถ้าเทคโนโลยีรุดหน้าไปมากขึ้นจนกระทั่งปัญญาประดิษฐ์ได้รับการ พัฒนาจนมีความสามารถที่เท่าเทียมกับมนุษย์เราทั้งทางด้านกายภาพและทางด้าน ความคิด เมื่อนั้นปัญญาประดิษฐ์จะสามารถที่ทำการพัฒนาความรู้ความสามารถของตัวเองต่อ ไปเหมือนมนุษย์ได้

ซึ่งจะทำให้การควบคุมปัญญาประดิษฐ์ที่อาจจะอยู่ในรูปแบบของหุ่นยนต์หรือ คอมพิวเตอร์นั้นยากขึ้น ท้ายที่สุดแล้วด้วยความสามารถในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ที่มีมากกว่า มนุษย์หลายเท่านักก็จะเอาชนะวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ค่อยๆ พัฒนาไปอย่างช้าๆ ได้ครับ

สิ่งที่เราๆ ท่านๆ เคยเห็นในภาพยนตร์ Sci-Fi นั้นอาจจะเป็นจริงขึ้นมาในอนาคตครับ เนื่องจากว่าวงการของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์นั้นก้าวไปเร็วมาก ในปัจจุบันเราสามารถที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถที่จะพูดคุยติดต่อสื่อสาร กับเราได้อย่างรู้เรื่อง ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวที่ไหน

คุณลองมองไปที่สมาร์ทโฟนของคุณเองก็ได้ครับ ถ้าเป็น iOS ก็จะมี Siri ที่สามารถคุยกับเราได้ ส่วนระบบ Android ก็มี Google Now สำหรับ Windows Phone เองนั้นก็มี Cortana สิ่งต่างๆ เหล่านี้เหมือนอาจจะพึ่งเริ่มต้นมาได้ไม่นานนักแต่ความเร็วในการพัฒนาของ ระบบต่างๆ เหล่านี้นั้นไปได้รวดเร็วกว่าที่เราๆ ท่านๆ คิดไว้มาก(ดูง่ายๆ ครับ iPhone พึ่งมีรุ่นที่ 6 ไปไม่นาน ก็ยังเก่งขนาดนี้) นี่ยังไม่รวมไปถึงเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ที่นับวันจะมีการจำลองมาจากการ เคลื่อนไหวจริงๆ เข้าไปจนหุ่นยนต์เริ่มเคลื่อนไหวได้เหมือนกับมนุษย์เราแล้ว(แต่ดีกว่าตรงที่ ไม่รู้จักเหนื่อย)

หากจะพูดไปแล้วตอนนี้มนุษย์ชาติก็เหมือนกับกำลังก้าวอยู่ในระดับทารก เพื่อที่จะสร้างระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความรู้สึกนึกคิดได้เองครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดก็คือเรื่องของ Google ที่เมื่อประมาณ 2 ปีก่อนนี้ทาง Google ได้มีการพยายามทำโปรแกรมที่จะจัดเรียงรูปแบบของข้อมูลที่เหมือนๆ กัน

แต่ทว่าโปรแกรมนั้นต้องดูไฟล์วีดีโอบน Youtube เป็นล้านๆ ไฟล์ถึงจะสามารถระบุแมวได้ถูกต้องแค่ 70% ในขณะที่มนุษย์เรานั้นสามารถที่จะจำแนกได้เพียงการดูผ่านประสบการณ์ไม่กี้ ครั้งเท่านั้น ดังนั้นคงต้องใช้เวลาอีกนานครับกว่าที่คอมพิวเตอร์ที่มีปัญญาประดิษฐ์นั้นจะ สามารถมีจิตใต้สำนึกเองได้

หมายเหตุ - มีนักสังคมศาสตร์บางคนบอกว่าโดยปกตินั้นมนุษย์เองก็มีความสลับซับซ้อนใน พฤติกรรมอยู่มากมาย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่เราจะจำรองระบบที่มีแต่ถูกหรือผิดให้สามารถที่จะ ตัดสินใจหรือมีความรู้สึกนึกคิดเหมือนมนุษย์ได้ครับ แต่ว่าในอนาคตนั้นอะไรก็เป็นไปได้ครับ

ที่มา : theverge, northcm.ac.th

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook