ฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 9 แต่เก่าสำหรับชาว Android มีอะไรบ้าง

ฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 9 แต่เก่าสำหรับชาว Android มีอะไรบ้าง

ฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 9 แต่เก่าสำหรับชาว Android มีอะไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 9 แต่เก่าสำหรับชาว Android มีอะไรบ้าง ถอดแบบกันมาจริงหรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ

สำหรับการงาน WWDC 2015 ที่จัดโดย Apple ที่ผ่านมา โดยส่วนหนึงของงานได้เปิดเผยถึงข้อมูลและฟีเจอร์ต่างๆ ของ iOS 9 ซึ่งมีฟีเจอร์ใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบ Multitasking บน iPad ที่สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น, Siri ที่ฉลาดมากขึ้นกว่าเดิม และการปรับปรุงแอปพลิเคชันเดิมอย่าง Notes, Apple Maps, Apple Pay รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมาย ถือว่าเป็นอีกก้าวที่สำคัญของ iOS ที่พัฒนาไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

ฟีเจอร์เหล่านี้เรียกได้ว่าเป็น ของใหม่สำหรับผู้ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ iOS อยู่ไม่น้อย แต่สำหรับผู้ที่ใช้งานระบบปฏิบัติการ Android แล้ว บางฟีเจอร์ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะบางฟีเจอร์บน Android ได้กำเนิดขึ้นมาก่อน โดยเราจะมาดูกันว่าฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 9 ที่มีความคล้ายคลึงหรือเหมือนกับฟีเจอร์ไหนใน Android บ้าง

 Split Screen

ฟีเจอร์ Split Screen ของ iOS 9 เป็นที่น่าตื่นเต้นสำหรับผู้ที่ใช้งาน iPad Air 2 อยู่ไม่น้อย เพราะ การใช้งานได้สองแอปพลิเคชันพร้อมกัน รวมสึงสามารถกำหนดอัตราส่วนได้ถึงสองแบบ คือ 50:50 และ 70:30 ทำให้การใช้งานแอปพลิเคชันเป็นไปอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

แต่สำหรับสาวก Android แล้วคงไม่น่าตื่นเต้นเสียเท่าไร เพราะการใช้งานแบบ Split Screen ใน iOS 9 นั้น บนระบบปฏิบัติการ Android มีมานานแล้ว โดยทางฝ่าย Samsung จะใช้ชื่อว่า Multi Window ซึ่งสามารถใช้งานแอปพลิเคชันได้หลายแอปฯพร้อมกัน ส่วนทางฝั่ง LG นั้นก็มีเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า Dual Window มีการทำงานที่คล้ายคลึงกัน แต่ความสามารถของทางฝั่ง Android ค่อนข้างเหนือกว่า ตรงที่สามารถปรับอัตราส่วนได้หลากหลาย และยืดหยุ่นมากกว่าฟีเจอร์ Split Screen บน iOS 9

 Picture-in-Picture

ฟีเจอร์ Picture-in-Picture มีประโยชน์มากสำหรับดูวิดีโอพร้อมกับการทำงานผ่านแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้ โดยฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานได้บน iOS 9 และรองรับการใช้งานผ่าน iPad Air และ iPad Mini 2 ขึ้นไป

แต่ฟีเจอร์ Picture-in-Picture นั้น ไม่ได้เป็นฟีเจอร์แปลกใหม่สำหรับ Android แต่อย่างใด เพราะสมาร์ทโฟนหลายรุ่นที่ใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Android ก็มีฟีเจอร์ที่ทำงานคล้ายคลึงกับฟีเจอร์ Picture-in-Picture เช่นกัน ถ้าหากนับย้อนไปแล้ว Android เริ่มมีการใช้งานเพื่อดูวิดีโอแบบย่อส่วนใน Samsung Galaxy S3  เรียกว่าสำหรับฟีเจอร์นี้ Android นั้นนำหน้าไปก่อนถึง 3 ปี ด้วยกัน

Apple Maps

สำหรับ Apple Maps เริ่มมีให้ใช้งานตั้งแต่ปี 2012 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน Apple Maps ได้เพิ่มข้อมูลต่างๆ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกับการบริการรถโดยสารสาธารณะ และขนส่งมวลชนต่างๆ รวมถึงการบอกสถานที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร หรือร้านค้าต่างๆ มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น

แต่สำหรับผู้ที่ใช้ Google Maps เป็นประจำ จะรู้ว่าการบอกข้อมูลในด้านบริการขนส่งสาธารณะและการแนะนำสถานที่ใกล้เคียง รวมถึงการเพิ่มรีวิวข้อมูลด้านต่างๆ ใน Google Maps นั้น มีมานานแล้ว โดย Google Maps เริ่มเปิดให้ใช้งานฟีเจอร์ที่กล่าวมาข้างต้น ตั้งแต่ปี 2011

 Low Power Mode

โดยหลักการทำงานของ Low Power Saving ใน iOS 9 นั้น จะเป็นการลดการทำงานเบื้องหลังของแอปฯต่างๆ  และจำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ไปได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง

ส่วนโหมดประหยัดพลังงานทางฝั่ง Android ก็มีมาก่อนเช่นกัน อาจมีหลากหลายชื่อเรียกด้วยกัน อาจจะแตกต่างไปตามแต่และแบรนด์ ซึ่งหลักการทำงานค่อนข้างคล้ายคลึงกัน คือตัดการทำงานที่ไม่จำเป็นออก เพื่อยืดอายุการใช้งานแบตเตอรี่ออกไปให้ยาวนานที่สุด อย่างเช่นใน Samsung Galaxy S5 จะมีโหมด Ultra Power Saving หรือสมาร์ทโฟนของ Sony จะมีโหมด Power Saving ซึ่งจะจำกัดการใช้งานแอปพลิเคชันที่จำเป็น ทำให้ยืดอายุการใช้งานออกไปได้นานขึ้น

 News

แอปพลิเคชัน News เป็นแอปฯน้องใหม่ถอดด้ามใน iOS 9 มีความสามารถในด้านการจัดเรียงข่าวตามความสนใจ และมีการจัดเรียงที่สวยงาม แบ่งเป็นหมวดหมู่ โดยมีสำนักข่าวชั้นนำมากมายที่จะส่งข่าวต่างๆ ให้ถึงมือ และ News ยังรองรับข้อมูลคอนเทนต์ได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว และวิดีโอ

โดยแอปพลิเคชัน News ค่อนข้างมีความคล้ายคลึงกับแอปพลิเคชัน Flipboard ไม่น้อย หลักการทำงานก็ค่อนข้างคล้ายกัน ส่วนแอปพลิเคชันสำหรับอ่านข่าวที่ติดมากับเครื่องนั้น HTC ได้ทำมาก่อนเช่นกัน โดยมีชื่อว่า HTC Blinkfeed มีลักษณะการทำงานที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

 Notes

สำหรับแอปพลิเคชัน Notes ใน iOS 9 มีการปรับปรุงที่ดีมากยิ่งขึ้น เพราะรองรับการวาดรูปด้วยลายมือ, การแนบรูปลงไปภายในบันทึก, เพิ่มเครื่องหมายเช็กลิสต์ และสร้างข้อความตัวอักษรด้วยการใช้เสียงผ่าน Siri ทำให้ Notes ใน iOS 9 เป็นอีกแอปพลิเคชันหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่รู้ไหมว่าทางฝั่ง Android ก็มีมาก่อน เช่น Google Keep สามารถเพิ่มรูปภาพ, เพิ่มเครื่องหมายเช็กลิสต์, สามารถวาดรูปต่างๆ และให้ Google Voice Typing พิมพ์ข้อความจากเสียงได้เช่นกัน โดยเป็นความสามารถที่สามารถทำได้เหมือนกับแอปพลิเคชัน Notes ใน iOS 9 ได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน

 Siri Reminders

Siri มีเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นใน iOS 9 โดยเฉพาะฟีเจอร์การแจ้งเตือน เมื่อมีอีเมลที่มีกำหนดการเข้ามา Siri จะทำการเพิ่มกำหนดการนั้นไปยังปฏิทินแบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเพิ่มกำหนดนัดหมายเอง อีกทั้ง Siri ยังมีการเชื่อมต่อกับระบบแผนที่ และระบบจราจรเพื่อคาดการณ์

เมื่อฟังดูฟีเจอร์ต่างๆ ค่อนข้างคล้ายคลึงกับการทำงานของ Google Now ไม่น้อย โดย Google Now นั้นสามารถทำงานได้ตามแบบที่ Siri ทำได้เช่นกัน

Spotlight Search

การค้นหาด้วย Spotlight Search เป็นการค้นหาที่สามารถทำได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นหารายชื่อผู้ติดต่อ, แอปพลิเคชัน และสถานที่ โดยการกดค้นหาเพียงครั้งเดียว ก็จะแสดงข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการได้ในทันที ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้การใช้งาน iOS 9 เป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น

แต่อย่างไรก็ดี การแสดงผลการค้นหาแบบละเอียดนั้น Google Now สามารถทำได้เช่นกัน โดยการค้นหารายชื่อผู้ติดต่อ, แอปพลิเคชัน และสถานที่ โดยการกดค้นหาเพียงครั้งเดียว Google Now มีมาก่อนประมาณ 2 ปี

 โดยฟีเจอร์ที่กล่าวมาในด้านบนนั้น จะเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรนั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ ทั้ง iOS และ Android ต่างฝ่ายได้นำฟีเจอร์มาพัฒนาและปรับปรุงในระบบปฏิบัติการของตน ดังนั้นแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใด ที่ ทั้งสองระบบปฏิบัติการได้นำสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด มาใส่ไว้ในระบบปฏิบัติการของตนเอง เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์จากการใช้งานที่ดีที่สุดนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook