เมื่อเฟซบุ๊กจะเปลี่ยนไป มีปุ่ม"Dislike"เพิ่ม แล้วเราควรจะ"ปรับตัว"อย่างไร?

เมื่อเฟซบุ๊กจะเปลี่ยนไป มีปุ่ม"Dislike"เพิ่ม แล้วเราควรจะ"ปรับตัว"อย่างไร?

เมื่อเฟซบุ๊กจะเปลี่ยนไป มีปุ่ม"Dislike"เพิ่ม แล้วเราควรจะ"ปรับตัว"อย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

       ที่ผ่านมา เราล้วนมีประสบการณ์ต่อการถูก "คลิกไลค์" หรือคลิก "ถูกใจ" อยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อเราฟีดดูข่าวสารหรือความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของเพื่อนเรา แต่ขณะเดียวกัน บางครั้งเราก็จะเกิดความรู้สึกไม่ชอบ ขยะแขยง เศร้า หรือแม้แต่เดือดพล่าน แต่เราก็มีแค่ปุ่มคลิกไลค์เท่านั้น นี่จึงทำให้เราได้แต่เพียงเขียนข้อความยาว ๆ เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกไม่เห็นด้วยกับบางเรื่อง หรือหลาย ๆ เรื่อง โดยที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก ยังไม่มีปุ่มแสดงอารมณ์ใน "เชิงลบ" เลย

       แต่สิ่งเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป เมื่อเฟซบุ๊กได้ประกาศว่าจะมีปุ่ม "dislike" หรือ "ไม่ชอบ" แม้ว่าก่อนหน้านี้ เจ้าพ่อเฟซบุ๊ก อย่าง"มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก จะเคยลั่นวาจาว่า จะไม่มีปุ่มทำนองนี้ โดยบอกว่า บางคนที่ขอให้เรามีปุ่ม ไม่ชอบ เพราะพวกเขาอยากจะสามารถได้ "สื่อสาร" ในสิ่งที่พวกเขารู้สึกไม่ดี และเราจะไม่ทำแบบนั้น อะไรทำนองนี้ ผมไม่คิดว่าโดยรวมแล้ว มันจะเป็นเรื่องสิ่งที่มีคุณค่าหรือสิ่งที่ดีสำหรับชุมชนออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก แต่ตอนนี้ เจ้าพ่อเฟซบุ๊ก ได้ยอมรับว่า ในทุกช่วงเวลา ไม่ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องดี ๆ เกิดขึ้น และบางที ปุ่ม "ไม่ชอบ" ก็อาจไม่ใช่ไอเดียที่แย่เสียเลยทีเดียว

       และเมื่อ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก อาจเปลี่ยนใจก็จริง แต่ผู้คนจำนวนมากอาจไม่คิดแบบเขา บางคนคิดว่า ปุ่ม "ไม่ชอบ" นี่แหละ จะเป็นตัวทำลายบรรยากาศความเป็นมิตรที่ดี ขณะที่บางคนกลัวว่า มันจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการยั่วยุกัน หรือการแสดงความก้าวร้าวต่อกันทางโลกออนไลน์ แต่สิ่งที่น่าวิตกที่สุดก็คือ ปุ่มดังกล่าวจะยิ่งเสริมสร้าง "ความรู้สึกเชิงลบต่อกัน" ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

       การเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้ดูเหมือนว่า มันเป็นเรื่องเปราะบางต่อการแสดงความรู้สึกเชิงลบต่อกัน แม้แต่การคว่ำนิ้วโป้งในโลกออนไลน์ ก็สมควรหลีกเลี่ยงด้วยประการทั้งปวง โดยหนึ่งในความคิดอันลึกซึ้งแยบยลที่สุดแห่งยุคสมัยนี้ ก็คือ การคิดในเชิงบวก สิ่งนี้ถูกปลูกฝังให้พวกเราหลายคนว่า คิดบวก อย่าคิดลบ เพราะฉะนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจที่ผู้คนจะพบว่า การปรากฎของปุ่ม "ไม่ชอบ" จะสร้างความวิตกกังวลให้แก่พวกเขา

http://www.matichon.co.th/online/2015/09/14428902661442890353l.jpg

      โดยปกติแล้ว คนเรานั้น มักจะถูกบอกให้"มีจิตใจฮึดสู้"แม้แต่ในสถานการณ์ที่น่ากลัวก็ตาม คนป่วยมักถูกบอกให้มองโลกในแง่บวก และคิดว่าโรคภัยของเขาเป็นเหมือน "ของขวัญ" คนตกงาน จะถูกแนะนำให้เลิกมองสิ่งต่าง ๆ ในด้านลบ (เช่น ฉันกำลังตกงาน)

      หรือการที่เราไม่ควรไปอ่านข่าวสารที่เป็นเรื่องร้าย ๆ เช่นเดียวกับผู้บุกเบิกธุรกิจที่ล้มเหลว พวกเขาจะถูกแนะเสมอว่า ให้มองความล้มเหลว ว่าเป็น "บันไดสู่หนทางข้างหน้า" และแน่นอน เราจะทำได้แค่ "คลิกถูกใจ" สิ่งหล่านี้ในเฟซบุ๊ก


      การมองโลกในแง่ดีนั้น ย่อมนำมาซึ่งผลดีต่าง ๆ หลายอย่าง แต่จากการวิจัยได้เผยว่า การคิดในเชิงปลุกใจตัวเอง ก็มีด้านเสียใหญ่บางอย่างเหมือนกัน คือ มันทำให้เราไม่สามารถแสดงออกความรู้สึกเชิงลบใด ๆ ออกมาได้เลย สิ่งนี้ขัดต่อธรรมชาติมนุษย์ที่มีอารมณ์ไร้ขอบเขตจำกัด

ผลเสียด้านนี้ ก็คือ มันทำให้เราไม่สามารถมองโลกหรือมองปัญหาได้ "ตามความเป็นจริง" ได้ นี่ย่อมหมายถึงมันจะทำให้เรา "มองข้าม" ความเสี่ยง หรือ "การทำเรื่องโง่ๆ" คนที่ไม่รู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จ จะเริ่มคิดว่า มันต้องมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวเขา ฉะนั้น คนที่มีอารมณ์ปลุกกระตุ้นอารมณ์ตัวเองให้กระดี๊กระด๊าในเรื่องต่าง ๆ  ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นพวกเห็นแก่ตัว หรือรู้สึกว่าตัวเองถูกโดดเดี่ยวมากขึ้น เพราะผู้คนอาจหมั่นไส้ สิ่งนี้จึงเป็นเรื่องน่าประหลาดใจมากกว่า คนที่ชอบบอกให้คนอื่นมองโลกในแง่บวก มักจะรู้สึกแย่เสียเองอยู่บ่อย ๆ

      และเมื่อเราเริ่มตระหนักว่า การมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ๆ ย่อมมีขีดจำกัดของมัน การคิดเชิงลบก็จะกลับมา!

      ฉะนั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะเฟซบุ๊กเท่านั้นที่จะทำให้เราได้แสดงออกถึงความไม่ชอบสิ่งต่าง ๆ บริษัทบางแห่งยังได้เริ่มสนับสนุนให้พนักงานมองปัญหาอย่าง "ตรงประเด็น" และวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจอย่างมากคือ การที่ "การมองการณ์ด้านลบ" เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ที่เกิดจากอคติ ความรักชอบส่วนตัวของเรานั่นเอง

      ซึ่งในกรณีนี้ เมื่อเราเริ่มโครงการใด ๆ ที่เราได้มุ่งเป้าในทางสดใส ฉะนั้น เราก็จะคิดว่า โครงการนั้นจะดีหรือเสียเท่า ๆ กัน 50 เปอร์เซ็นต์ แต่หากมองโลกแบบเชิงลบ หรือระมัดระวังใคร่ครวญ เราก็จะพยายามมองการณ์ด้านลบให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้เพื่อ "จำกัดความเสียหาย" ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ประโยคฮิตว่า "ในกรณีเลวร้ายที่สุด" และเมื่อคนเราลองคิดลบเช่นนี้แล้ว พวกเขาก็จะสามารถ "จับจ้อง" และ "มองเห็นข้อบกพร่อง" ก่อนที่มันจะกลายเป็นปัญหาขึ้นมา

      และบางที หากใช้ดีๆ ปุ่ม "dislike" ก็อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการเตือนภัยล่วงหน้าต่อชีวิตเราเอง มันจะทำให้เราได้เห็นว่า เรากำลังเดินผิดทางหรือไม่ คิดอย่างมองโลกด้วยความเป็นจริงหรือไม่ และหลีกเลี่ยงการมองโลกในแง่ดีด้วยการหลอกตัวเอง

      ฉะนั้น การมีชีวิตอยู่กับ "ปุ่มไม่ชอบ" อาจจะดูโหดร้าย เราอาจจะโกรธ ถูกห้ามปราม หรือทำให้เรารู้สึกหดหู่ ขณะที่การมองโลกในแง่ร้ายเกินไป ก็อาจทำให้เรากลายเป็นพวกก้าวร้าวอันธพาลได้ง่าย ๆ แต่การเปิดพื้นที่ให้เราได้แสดงอารมณ์ด้านลบ ในทุกวันที่เป็นอยู่นี้ ก็อาจช่วยให้เรา ได้สามารถเข้าใจถึงปัญหาหลายอย่างที่เรากำลังเผชิญ และจัดการมันด้วยวิธีทางที่สุขุมรอบคอบได้...

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook