“แสงสว่าง” กับมุมมองคนดังในแต่ละวงการ

“แสงสว่าง” กับมุมมองคนดังในแต่ละวงการ

“แสงสว่าง” กับมุมมองคนดังในแต่ละวงการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณป้อม ศิวัตร เชาวรียวงษ์: วงการ โฆษณาดิจิทัล

       เจ้าพ่อแห่งวงการ โฆษณาดิจิทัล จากบริษัท mInteraction และนายกสมาคมโฆษณาดิจิตอล(ประเทศไทย)

มีวิธีจัดการบริษัทยังไงให้คนเข้ามาทำงานในเรื่องของบรรยากาศ พื้นที่การทำงาน?

       แน่นอนเรื่องที่สำคัญเรื่องแรกคือ ที่ทำงานต้องเป็นที่ที่น่าอยู่ ไม่อึดอัดจนเกินไป ที่ที่น่าอยู่คือต้องสามารถมีตัวเลือกในการนั่งทำงาน นั่งที่ตรงนู้นตรงนี้ เดินไปเดินมาได้ มีความผ่อนคลายพอสมควร มีมุมมีสถานที่ที่เมื่อต้องการพักผ่อนก็สามารถทำได้อย่างมีคุณภาพ เรื่องแสงสว่างก็สำคัญ

แสงสว่างที่ดีของพี่ป้อมเป็นอย่างไร?

       แสงสว่างที่ดีก็คือ ขอตอบแบบบ้านๆก็คือ ไม่ต้องเพ่ง คือถ้าคนมาทำงานออฟฟิศเนี่ยแล้วต้องเพ่งมันก็เสียสายตา มันมีเพ่งแบบที่ว่ารู้เลยว่ากำลังเพ่งอยู่กับแบบที่ต้องเพ่งนิดหน่อยแล้วคนก็จะไม่รู้ว่ากำลังเพ่งอยู่ซึ่งก็เสียสายตาเช่นกัน เรื่องแสงสว่างในที่ทำงานนี้เป็นสิ่งที่ไม่ใช่ว่าจะต้องให้พนักงานมาคอยดูแลตัวเอง มันควรเป็นสิ่งที่บริษัทควรจะมีนโยบายสนับสนุนและมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญมาบอกว่าแสงสว่างในแต่ละจุดมันดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพหรือไม่

นุ๊ก รัชพล ชัยวัฒน์: วงการสถาปนิก

       เจ้าของบริษัท Nuk Architect Co., Ltd. ออกแบบสถาปัตยกรรม, Interior และ Master plan

คุ้นเคยหรือเคยได้เห็นหรือสัมผัสกับหลอดแอลอีดีบ้างไหม?

       เคยครับ ทั้งที่บ้านอาศัยและที่เราต้องนำเสนอลูกค้าด้วย ถ้าเป็นพวกจุดพิเศษๆที่ต้องการแสงแบบสปอร์ตไลท์ เช่น รูปภาพหรือสิ่งที่เราต้องการที่จะโชว์เป็นพิเศษเราก็จะใช้ LED ลูกค้าก็ตอบรับมากขึ้นเพราะลูกค้าเริ่มรู้จักเทคโนโลยี LED กันมากกว่าก่อนและเป็นอะไรที่ไม่ยากสำหรับการที่เราได้นำเสนอ

เคยใช้แอลอีดีเป็นลูกเล่นอะไรในการตกแต่งบ้านบ้าง

       พวกงานตกแต่งภายในที่จะต้องใช้ในส่วนของเฟอร์นิเจอร์หรือเคาเตอร์ หรือมุมเฉพาะจุดที่เราอยากจะให้โดดเด่นดูนุ่มนวลกว่าจุดอื่นๆตรงนี้จะใช้ LED เข้ามาช่วยได้เยอะเลยครับ หรือในการนำมาเล่นในมิติของแสง เช่น การซ่อน LED Spotlight ลงไปจะช่วยให้งานสถาปัตยกรรมเกิด Layer หรือเกิดมิติขึ้นมาได้

 อะไรคือสิ่งที่ทำให้คุณเลือกมาใช้ หลอดแอลอีดี ?

       เรื่องค่าไฟที่ลดลงแบบเห็นผลเลยครับ ยิ่งบ้านไหนที่เปลี่ยนทั้งหมดหรือธุรกิจไหนที่เปลี่ยนใช้ทั้งหมดแบบนี้ยิ่งเห็นผลชัดเลยครับ ถ้าเทียบที่บ้านและที่ทำงานผมเนี่ยตั้งแต่เปลี่ยนแล้วค่าไฟลดลงไปได้ประมาณ 10% เลยครับ ถ้าเทียบกับหลอดเก่าแสงจะนุ่มกว่าและไม่ร้อนด้วยครับ

 รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์: วงการจักษุแพทย์

จักษุแพทย์ หัวหน้าศูนย์ตาธรรมศาสตร์

การใช้แสงสว่างที่เหมาะสมกับการทำงาน

       การใช้แสงไฟที่เหมาะสมในที่มืดทั้งการทำงาน ที่พักอาศัย การนอน แสงที่พอเหมาะในการทำงาน ถ้าแสงน้อยไปก็จะไม่เหมาะ เนื่องจากม่านตาคนเราเหมือนกล้องถ่ายรูปย่อมเปิดม่านตากว้างเพื่อที่จะรับแสงเข้าไป อาการนี้จะมีอาการปวดตาง่าย

       ถ้าสังเกตว่าคนใช้สายตาหรือทำงานในที่มือจะปวดตาง่ายเพราะว่ากล้ามเนื้อม่านตาต้องทำงานเยอะ ในขณะที่คนทำงานในที่แสงจ้าเยอะเกิดไปก็จะทำให้มีความเสียงต่อการเกิดจอประสาทตาเสื่อมเร็วกว่าคนทั่วไป เพราะฉะนั้นแสงที่เหมาะสมก็คือต้องไม่มืดเกินไปและต้องไม่สว่างจนทำให้รู้สึกแสบตา สำหรับเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแสงน้อยเกินไป เราจะรู้ได้เลยว่าเรารู้สึกว่าต้องใช้กล้ามเนื้อตาในการเพ่งมากขึ้นยกเหมือนเวลาปิดไฟแล้วเล่นโทรศัพท์มือถือจะรู้สึกได้เลยว่าเราเมื่อยตา

 การดูแลรักษาตาเบื้องต้นของคนวัยทำงาน

       ปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์หรือ Smartphone กับดวงตาเขามีคำเรียกเลยว่า Computer Vision Syndrome ก็คือปัญหาของดวงตาที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์และ Smartphone ข้อแนะนำก็คือไม่ควรทำงานในที่มืดเพราะว่าจะทำให้ปวดตามากขึ้นและก็ไม่ควรจะทำงานในที่ที่แสงสว่างเยอะเกินไปหรือเปิดความสว่างหน้าจอมากเกินไป  เพื่อลดการปวดตาจากการเพ่งแนะนำว่าทุกๆการทำงานทุก 45 นาที ควรจะมีการหยุดพักอย่างน้อย 5-10 นาทีเพื่อคลายการเพ่งของตาก็จะทำให้สามารถทำงานต่อได้โดยที่ไม่เกิดปัญหากับดวงตา หรือใช้หลอดไฟ LED ที่ถนอมสายตาและปราศจากรังสี UV

    ข้อมูลเพิ่มเติม www.lighting.philips.co.th


 Advertorial

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook