Tips : ดูแลฮาร์ดดิสก์ ก่อนชีวิตจะซวย

Tips : ดูแลฮาร์ดดิสก์ ก่อนชีวิตจะซวย

Tips : ดูแลฮาร์ดดิสก์ ก่อนชีวิตจะซวย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

      ฮาร์ดดิสก์นั้นป็นอุปกรณ์ง่ายๆ ที่มีมูลค่าของตัวมันเองไม่ได้เยอะแยะอะไรมาก แค่ไม่กี่พันบาทก็ได้ความจุที่แทบจะใช้งานกันไม่หมดอยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยู่ภายใน หรือมูลค่าของข้อมูลที่เราเก็บไว้ภายในตัวมันนี่สิ เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามากจนบางครั้ง ไม่สามารถประเมินค่าได้เลยก็มี ดังนั้น การดูแลประคบประหงมมันก็คงต้องดีไม่แพ้อุปกรณ์แพงๆ อื่นๆ เช่นกัน

      การดูแลฮาร์ดดิสก์โดยพื้นฐานนั้นก็จะมีอยู่ 3 ด้านหลักๆ ด้วยกัน นั่นคือ ความสามารถในการเก็บข้อมูลได้ตามปกติ ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูล และส่วนสุดท้ายก็คือพื้นที่ความจุในการเก็บข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณต้องหมั่นสังเกตและดูแลอยู่เสมอ เรามาดูกันว่าเราสามารถดูและมันอย่างง่ายๆ ได้อย่างไร

001ดูแลฮาร์ดดิสก์

      หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไม่ว่าจะเป็นเวอร์ชันอะไรก็ตาม (ตั้งแต่ XP เป็นต้นมา เก่ากว่านี้คงไม่มีใครใช้แล้วมั้ง) สามารถที่จะทำการตรวจสอบและบำรุงรักษาได้ด้วยตัวเองเลยครับ โดยเข้าไปที่ My Computer หรือ Computer จากนั้นคลิกขวาที่ไดรฟ์ใดก็ตามที่เราต้องการจะทำการตรวจสอบหรือบำรุงรักษา จากนั้นไปที่แท็บ Tools ซึ่งในนั้นจะมีเครื่องมือให้เรียกใช้งานอยู่ 3 ตัวด้วยกัน (ในบางวินโดวส์จะมีแค่ 2 ตัว)

002ดูแลฮาร์ดดิสก์

– Error checking

      เป็นการตรวจสอบความผิดพลาดในการทำงานของฮาร์ดดิสก์ หรือก็คือการ Scan Disk นั้นเอง จำได้ว่าสมัยที่มีคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ นั้นเห่อมาก และไม่รู้จะทำอะไร วันๆ นั่งสั่ง Scan Disk กันทั้งวัน กลัวว่ามันจะเสียหายหรือเป็นอะไรขึ้น จนมารู้ว่าฮาร์ดดิสก์จริงๆ แล้วมันทนกว่าที่เราคิด เอาเป็นว่าทำสักเดือนละครั้ง หรืออย่างมากอาทิตย์ละครั้งก็เหลือเฟือแล้วครับ

      การสแกนนี้จะตรวจสอบทั้งหมด ตั้งแต่ระบบไฟล์ การเชื่อมโยงกันของข้อมูล การค้นหา Bad Sector และความผิดปกติอื่นๆ รวมถึงเครื่องมือตัวนี้สามารถแก้ไขปัญหาให้อัตโนมัติด้วย ดังนั้นแค่คลิกแล้วรอให้มันจัดการไปก็พอแล้วครับ ที่สำคัญควรจะทำทุกไดรฟ์นะครับ

003

– Optimise and defragment drive

      ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า มันคือการ Defragment หรือการจัดเรียงข้อมูลให้เป็นระเบียบ เพื่อการเรียกใช้งานที่รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งถ้าเทียบกับฮาร์ดดิสก์ของเราก็เหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ พอมีการหยิบเอาหนังสือออกมาอ่านแล้วก็มักจะไม่ได้เก็บเข้าที่นัก ทำให้บรรณารักษ์ต้องมาจัดเก็บให้เข้าที่เข้าทาง เพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาและหยิบมาอ่านคราวหน้าอีกครั้ง

      การทำ Defragment นั้นขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลในไดรฟ์ที่คุณมีอยู่นั้นมีการเรียกใช้งาน หรือมีการแก้ไขข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่ค่อยได้ใช้งานหรือแก้ไขข้อมูล การเกิด Fragment หรือข้อมูลที่กระจัดกระจายก็ไม่มาก ไม่ต้องทำ Defragment บ่อยก็ได้ครับ

      อีกกรณีคือพวก Flashdrive หรือคนที่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD นั้น “ห้าม” ทำการ Defragment ครับ เพราะมันไม่ทนต่อการเขียนข้อมูลซ้ำไปซ้ำมาบ่อยๆ เพราะจะทำให้มันหมดอายุเร็วขึ้น

004

– Disk Cleanup

      เครื่องมือตัวนี้บางทีก็อยู่ใน Tools ของไดรฟ์ และบางทีต้องเรียกขึ้นมาใช้เอง ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะอยู่ใน Accessories โดยเครื่องมือตัวนี้จะช่วยค้นหาไฟล์ขยะ หรือไฟล์ที่ไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว เช่นไฟล์ Cache หรือพวก Internet Temp ต่างๆ จะช่วยให้พื้นที่ในการทำงานบนฮาร์ดดิสก์ของคุณมีมากขึ้น และอาจจะทำให้เครื่องทำงานเร็วขึ้นด้วยครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook