Ensogo ธุรกิจ Daily Deal ล้มได้อย่างไร? พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ

Ensogo ธุรกิจ Daily Deal ล้มได้อย่างไร? พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ

Ensogo ธุรกิจ Daily Deal ล้มได้อย่างไร? พร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ข่าวการปิดกิจการสายฟ้าแลบทั่วทั้งอาเซียนของ Ensogo เว็บไซต์ขายดีลชื่อดัง ทำเอาทั้งลูกค้าที่ซื้อดีลไปและร้านค้าที่ลงดีลไว้สับสนวุ่นวายกันเป็นแถว ลูกค้าที่มีดีลอยู่ในมือก็ไม่สามารถใช้ได้ เพราะร้านค้าก็ยังไม่ได้เงินส่วนแบ่งจาก Ensogo เหมือนกัน จะขอคืนเงินก็ไม่ทราบจะไปขอกับใคร เพราะ Ensogo ได้เลย์ออฟพนักงานทั้งหมดไปแล้วพร้อมๆ กัน อีกสิ่งหนึ่งที่น่าคิดคือ ทำไม Ensogo จึงล้มหายตายไปจากอย่างปัจจุบันทันด่วนเช่นนี้ เกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจ Daily Deals กันแน่?
 

แถลงการณ์ล่าสุดจาก Ensogo

ธุรกิจดีลรายวัน (Daily deal) คือ e-commerce รูปแบบหนึ่งที่เคยได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเว็บไซต์ที่ดำเนินธุรกิจดีลรายวันจะไม่ได้ขายสินค้าเอง แต่จำหน่ายคูปองโปรโมชันต่างๆ สำหรับสินค้าและบริการ รวมไปถึงการท่องเที่ยวและร้านอาหาร โดยจะเปิดให้ลูกค้าเลือกซื้อดีลที่ชอบในเวลาที่จำกัด ด้วยวิธีนี้ ลูกค้าก็จะได้ดีลที่ชอบ ในขณะที่ร้านค้าก็ได้ประชาสัมพันธ์ร้านของตนไปในตัว ส่วนบริษัทก็จะได้รับส่วนแบ่งจากการขายคูปองในฐานะคนกลาง เรียกว่ามีแต่ได้กับได้กันทั้ง 3 ฝ่าย

แล้วทำไมดีลในเมืองไทยถึงไม่ Work ?

หากไม่นับเรื่องของการบริหารจัดการภายใน จริงๆแล้วการให้ส่วนลดหรือโปรโมชันของเว็บดีลในต่างประเทศนั้นมาจากแนวคิด ที่ว่า แทนที่จะเสียเงินประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ การลงเว็บดีลจะได้ประโยชน์ถึง 2 ต่อนั่นคือ

1. การประชาสัมพันธ์ร้านค้าผ่านเว็บดีลเอง โดยดีลที่มีราคาถูกน่าสนใจและมีผู้สนใจเยอะ ก็เหมือนได้โฆษณาในเว็บที่มีคนเข้าชมเยอะๆฟรี
2. คนที่ซื้อดีลของเว็บไปเมื่อนำไปใช้ก็มีโอกาสที่จะซื้อสินค้าอื่นหรือกลับมาซื้อซ้ำก็จะลดต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ของร้านค้า   

แต่ในเมืองไทยต้องยอมรับว่าบางร้านค้าที่มองว่าเว็บดีลเป็นเว็บที่ใช้ขาย สินค้ามากกว่าที่จะใช้เป็นที่ประชาสัมพันธ์หรือหาลูกค้าใหม่ ทำให้มีพ่อค้าหัวใสบางเจ้าเสนอดีลที่ให้สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่าสินค้าหรือ บริการปกติของทางร้าน ซึ่งมักจะมีกรณีที่มีการร้องเรียนหรือโพสข้อความในเว็บไซต์สังคมออนไลน์อยู่ บ่อยๆถึงความไม่โปร่งใสของร้านค้าที่เสนอดีลให้ รวมถึงข้อจำกัดของการใช้ดีลที่อาจจะไม่แจ้งให้ทางผู้ซื้อดีลทราบล่วงหน้า

เมื่อมีร้านค้าที่ไม่ซื่อสัตย์มากขึ้นก็ทำให้ร้านค้าดีๆที่ตั้งใจใช้เว็บดี ลเพื่อโปรโมทสินค้าจริงๆไม่สามารถขายดีลได้ด้วย ส่วนนี้เป็นปัญหาที่ทางเว็บที่ให้บริการอาจจะต้องแก้ไขและดูแลผู้เสนอดีลที่ ไม่ดีให้ทั่วถึง อย่างไรก็ดีปัญหานี้คงจะเป็นแค่ปัญหาเพียงส่วนนึงที่ทำให้เว็บดีลได้รับความ นิยมน้อยลง

แต่ ณ.วันนี้ต้องยอมรับว่าการแก้ปัญหาของทางผู้ให้บริการที่ต้องการปิดให้บริการ นั้นยังไม่ชัดเจน รวมถึงการเยียวยาผลกระทบของผู้ที่ซื้อดีลไปแล้วนั้นก็ยังคงต้องดูต่อไปว่าจะ มีการแสดงความรับผิดชอบอย่างไร 

อย่างไรก็ดี ณ.ขณะนี้ ผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าวได้ไปรวมตัวกันในเพจ รวมผู้ได้รับผลกระทบensogo เพื่อร่วมกันพูดคุยหาทางออก โดยล่าสุด คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้แนะนำให้ผู้เสียหายรวมตัวกันมาร้องเรียนที่ สคบ. เพื่อเตรียมดำเนินคดีฟ้องร้องต่อบริษัท Ensogo และชดเชยค่าเสียหายต่อไป

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EDTA ได้ออกมาแนะนำแนวทางแก้ปัญหาสำหรับร้านค้าและผู้บริโภค โดยสรุปใจความได้ว่า

  1. ร้านค้าที่ลงดี ลกับ Ensogo ไม่สามารถปฏิเสธการใช้ดีลของลูกค้าได้ เพราะถือว่าธุรกรรมระหว่างร้านค้าและลูกค้าเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว โดยทางร้านค้าจะต้องไปติดตามค่าส่วนแบ่งดีลจากทาง Ensogo เอาเอง ซึ่งส่วนนี้แนะนำว่าให้แจ้งความดำเนินคดีจาก Ensogo ให้เร็วที่สุด
  2. สำหรับลูกค้าที่ซื้อดีลไปแล้ว หากพบร้านค้าใดๆ ปฏิเสธดีลที่ซื้อมาอย่างถูกต้อง สามารถโทร 1212 เพื่อร้องเรียนไปยังศูนย์กลางในการดูแลเรื่องนี้ หรือที่ สคบ. โทร. 1166
  3. หากลูกค้าไม่ ต้องการรับสินค้าหรือบริการ สามารถขอยกเลิกการซื้อสินค้าหรือขอรับบริการภายใน 45 วันนับแต่วันที่ที่ซื้อหรือขอรับบริการ หรือภายใน 30 วันนับแต่วันถึงกำหนดการส่งมอบหรือบริการ อันเป็นสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
  4. หากลูกค้าชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ขอให้แจ้งเรื่องไปยังธนาคารเจ้าของบัตรเครดิตเพื่อขอให้ระงับการจ่ายเงินไปยัง Ensogo
  5. ในส่วนของ สินค้าหรือบริการ รวมถึง Ensogo cash ที่เป็นบริการโดยตรงของ Ensogo ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายสามารถประสานงานได้ทั้งสองช่องทาง คือ 1212 ที่ สพธอ. ซึ่งจะมีการประสานการทำงานร่วมกับกับ สคบ. เพื่อให้ Ensogo เยียวยาความเสียหายดังกล่าวต่อไป

สามารถอ่านแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นของ EDTA ฉบับเต็มได้ที่นี่ 

สุดท้ายนี้ ทีมงาน Techmoblog ได้รวบรวมรายชื่อร้านค้าที่ยังรับดีลของ Ensogo เอาไว้ด้านล่างบทความ ซึ่งอาจจะไม่ครบทั้งหมดเพราะมีการอัปเดตอยู่เรื่อยๆ ซึ่งสามารถติดตามได้จากเพจ รวมผู้ได้รับผลกระทบensogo หรือโทรสอบถามกับทางร้านค้านั้นๆ ได้โดยตรงครับ

รายชื่อร้านค้าที่มีความรับผิดชอบยังเปิดรับดีลจาก Ensogo อยู่ (อาจมีเพิ่มเติมจากนี้)

 

  • Burger King
  • Centra Central Station Hotel
  • Kanemochi Icecream
  • Katsuya
  • Maisen
  • Masizzim 
  • Osha Cafe เอเชียทีค โกดัง 10 
  • Outback Steakhouse 
  • Patara Fine Thai Cuisine 
  • Paul
  • SF Cinema
  • Sizzler
  • Squeeze
  • Terrace
  • The Pizza company 
  • คูปองสำหรับล่องเรือดินเนอร์ ไวท์ออร์คิด 
  • พุทธรักษา รีสอร์ท
  • The Regent Cha-Am Beach Resort
  • ลิ้มเหล่าโหงว บิสโทร
  • Aladdin Roof Bar
  • Coffee World (ยกเว้นสาขาในสนามบินสุวรรณภูมิ)
  • ห้องอาหาร Glass House โรงแรม Eastin Grand Hotel Sathorn
  • Buddhi Belly
  • Hard Rock Café Bangkok
  • Zinnia Bedding Store
  • Humming Birds Kitchen and Garden
  • Carl's Jr.
  • Daisy Restaurant & Coffee
  • Simply W เซ็นทรัล ลาดพร้าว

 


เรียบเรียงโดย : techmoblog.com



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook