จับ “ตา” มอง Iris Scanning เทคโนโลยีความปลอดภัยที่คนยุคนี้ควรรู้จัก

จับ “ตา” มอง Iris Scanning เทคโนโลยีความปลอดภัยที่คนยุคนี้ควรรู้จัก

จับ “ตา” มอง Iris Scanning เทคโนโลยีความปลอดภัยที่คนยุคนี้ควรรู้จัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

          ยังจำภาพยนตร์เรื่อง Minority Report ของ สตีเวน สปีลเบิร์ก ที่ออกฉายเมื่อ 14 ปีก่อนได้ไหม

          ในเรื่องนี้มีฉากที่ ทอม ครูซ ซึ่งรับบทนำต้องฝ่าด่านรักษาความปลอดภัยโดยใช้เทคโนโลยีสแกนม่านตา ซึ่งดูเป็นเทคโนโลยีที่ตัวละครคุ้นเคยดี โดยตามบทแล้วนี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2054 

          แต่ความเจ๋งของเทคโนโลยียุคนี้ทำให้เรื่องในหนังเกิดขึ้นไวกว่านั้น เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยีการสแกนม่านตา หรือ Iris Scanning ที่เราเคยมองว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแต่เฉพาะในโลกฮอลลีวู้ด กลายเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ใกล้ตัวเรายิ่งขึ้น อย่างเช่นการพัฒนาเพื่อให้ระบบนี้ใช้กับสมาร์ทโฟนได้ ดังนั้น นี่คือช่วงเวลาที่เราควรทำความรู้จักกับเทคโนโลยีนี้ที่กำลังจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรามากขึ้น

         เรื่องแรกที่ต้องพูดถึงระบบสแกนม่านตาก็คือ เรื่องความปลอดภัย เพราะระบบสแกนม่านตาสามารถจับจุดสังเกตในการสแกนแต่ละครั้งได้มากถึง 266 จุด เทียบกับระบบลายนิ้วมือที่จับได้ 40 จุดจากการสแกนแต่ละครั้ง

 

         นอกจากนี้ การปลอมแปลงม่านตาเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นแพทเทิร์นที่ร่างกายสร้างขึ้นตั้งแต่ยังเล็กและไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดชีวิต ยกเว้นกรณีที่มีการทำเลสิค การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องสแกนม่านตาก่อนจึงเป็นเรื่องที่เจ้าของดวงตาเท่านั้นถึงจะทำได้

         การทำงานของระบบสแกนม่านตาในอุปกรณ์ต่างๆ จะเริ่มจากกล้องถ่ายรูปจะจับภาพดวงตาก่อน จากนั้นจึงนำภาพที่จับได้ไปเข้ารหัส โดยจำกัดให้จับรายละเอียดเฉพาะบริเวณม่านตาเท่านั้น เมื่อเข้ารหัสไว้กับอุปกรณ์แล้ว พอถึงเวลาเปิดใช้ครั้งต่อไปก็สามารถใช้วิธีสแกนดวงตาได้ สะดวกกว่าการจำพาสเวิร์ดและไม่ต้องกังวลเรื่องการโดนแฮ็ค ทั้งยังรวดเร็วและผิดพลาดน้อยกว่าระบบความปลอดภัยแบบอื่น

         เมื่อนำเทคโนโลยีสแกนดวงตามาอยู่ในสมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลสำคัญ เราจะตัดปัญหาเรื่องการนำข้อมูลในสมาร์ทโฟนไปใช้ได้หากโทรศัพท์หาย 

         ส่วนในสถานการณ์ปกตินั้น เทคโนโลยีนี้สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้สำหรับคนที่ทำธุรกรรมผ่านมือถือเป็นประจำ หรือแม้แต่คนเป็นพ่อแม่ที่ไม่อยากให้ลูกเล่นสมาร์ทโฟนของตัวเองเพราะเห็นว่ายังไม่ถึงวัย ก็อาจใช้เทคโนโลยีนี้เป็นตัวกันไม่ให้ลูกเข้าถึงแอพพลิเคชันเกมได้ด้วย

         Sanook! Hitech เชื่อว่าตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป ระบบสแกนม่านตานี้จะกลายเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันมากขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ โดยไม่ต้องรอไปอีกหลายทศวรรษเหมือนในเรื่อง Minority Report

[#Note7th]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook