อดีตพนักงานเผย 3 บทเรียนยอดแย่ จากการทำงานที่ Apple

อดีตพนักงานเผย 3 บทเรียนยอดแย่ จากการทำงานที่ Apple

อดีตพนักงานเผย 3 บทเรียนยอดแย่ จากการทำงานที่ Apple
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

      Matt MacInnis ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของ Inkling เล่าถึงประสบการณ์การทำงานที่ Apple มา 7 ปี แต่บทเรียนที่เขาได้รับ กลับไม่เหมาะกับการเป็นเจ้าของ startup ในยุคปัจจุบัน

3063269-poster-p-1-3-terrible-habits-i-learned-at-apple-and-why-i-unlearned-them

      Matt อยู่กับ Apple มาตั้งแต่ยุค 2000 ยุคที่มีแต่คนเจ๋งๆ ทำให้เขาได้เรียนรู้คุณค่าของการโฟกัสในสิ่งที่ทำ และเห็นว่าแบรนด์สามารถขับเคลื่อนเทรนด์ของผู้บริโภคได้ทั่วโลก ถือเป็นสถานที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเริ่มต้นอาชีพของเขา แต่กลับให้บทเรียนที่ไม่ดีนักสำหรับการเริ่มต้นเป็นเจ้าของ startup

      หลังจากที่ Matt ออกจาก Apple เพื่อเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง เขาเคยลองใช้วัฒนธรรมแบบเดิมๆ แต่กลับพบว่ามันล้มเหลว และต้องใช้เวลาเป็นปี กว่าเขาจะสามารถทิ้งนิสัยเสีย 3 อย่างที่ไม่เหมาะกับการเป็นเจ้าของ startup และ CEO

1. ผูกขาดความลับ

      ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มงานที่ Apple คุณจะถูกเตือนให้เห็นถึงความสำคัญของความลับ ใช่ มันจะไม่แปลกเลยถ้าเราต้องคอยเข้มงวดกับการปิดปากกับคนนอก แต่ที่นี่ไม่ให้แม้แต่จะคุยกับคนในองค์กร หรือแม้กระทั่งหัวหน้าของเราเอง นอกจากว่าคนนั้นจะถูกเซ็นต์สัญญาปิดความลับโปรเจกต์ร่วมกัน

      พอ Matt เริ่มเปิดบริษัทของตัวเอง เขาจึงกลัวการแชร์ข้อมูลอย่างเปิดเผย กลัวการพูดคุยกับสื่อ รวมถึงให้พนักงานเซ็นต์สัญญาปกปิดความลับด้วยตัวเขาเองด้วยซ้ำ ! แต่สุดท้ายก็พบว่า จริงๆ แล้วความโปร่งใสคือกุญแจสำคัญ การปกปิดความลับทำให้ไม่เกิดการร่วมมือกัน แต่เมื่อมีความโปร่งใส ความเชื่อมั่นในองค์กรก็เกิด และทำให้คนเก่งๆ สามารถตัดสินใจได้เร็วเมื่อต้องพบวิกฤต

2. ซ่อนนวัตกรรม

      Apple มีความสามารถแบบที่ไม่รู้จะอธิบายยังไงในการคาดเดาเทรนด์ของผู้บริโภค เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า Steve Jobs มีชื่อเสียงในเรื่องที่เขาสามารถมองเห็นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการจริงๆ ก่อนที่คนเหล่านั้นจะรู้ตัวซะอีก

      แน่นอนอยู่แล้วว่า Apple รับฟังความเห็นของลูกค้า แต่ในช่วงที่ Matt ทำงานอยู่ในฝ่ายการตลาด เขากลับพบว่าบริษัทไม่ค่อยทำ focus group  หรือไม่ค่อยชอบการปล่อยตัวเบต้าให้ทดลอง

      จนกระทั่งเริ่มทำของตัวเอง เขาพบว่าการซ่อนนวัตกรรมทำให้เขาไม่ได้รับข้อมูลในการไปพัฒนาเพิ่มเติม (และเขาก็ไม่ใช่ Steve Jobs ซะด้วย) ในทางกลับกันการปล่อยให้ลูกค้าลองทดสอบตัวเบต้า ทำให้เขาเข้าใจผลิตภัณฑ์ของตัวเองมากขึ้น

      นอกจากนี้สัญชาตญาณของเขาเองก็ไม่ได้เชื่อถือได้เสมอไป  Matt จึงเชื่อว่าการให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วม จะช่วยให้ starup ประสบความสำเร็จได้

3. การทำงานแบบบนลงล่าง

      การทำงานที่ Apple เน้นให้คนโฟกัสและทำหน้าที่ของตัวเองให้ออกมายอดเยี่ยม ทำให้เหลือช่องว่างในสิ่งที่เราสนใจจริงๆ เพียงนิดเดียว และถ้าคุณไม่ชอบสิ่งที่เป็นอยู่ ก็ยังมีคนที่รอต่อคิวทำแทนยาวเหยียด

      แม้มันจะดูไม่ใช่เรื่องแย่ที่พนักงานมีเป้าหมายที่ชัดเจน และเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองทำเป็นอย่างดี แต่บางทีมันก็เกิดความน่าเบื่อ ยิ่งกับงานประเภทที่ต้องการความสร้างสรรค์ด้วยแล้ว

      ที่ Apple งานเจ๋งๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ล้วนมาจากคนกลุ่มเดิมๆ ซึ่งถูกสั่งการมาจากเบื้องบน

      แต่การเป็น startup หลายครั้งก็ต้องการการค้นพบโอกาสในตลาดแบบที่ไม่ได้คาดหมายเอาไว้ ซึ่งอาจจะเกิดจากความสงสัยและความเฉลียวฉลาดของพนักงาน แม้การมีทิศทางที่ชัดเจนเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ไอเดียที่นึกไม่ถึงที่มาจากลูกทีม (จะเรียกว่าโชคช่วยก็ได้) ซึ่ง Apple มองว่าไม่มีก็ได้ มีก็ดี แต่ในวงการ startup กลับมองว่ามันคือสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก

      สังเกตได้จากโปรเจกต์อย่าง Hackathons หรือ pet projects ก็ได้กลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน

      Startup จะได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อมีการสื่อสารกันอย่างเปิดเผย การเปิดตัวต่อสื่อเป็นเรื่องที่ดี และความร่วมมือระหว่างคนเจ๋งๆ จะก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ การพูดคุยกับลูกค้าคือสิ่งสำคัญ การให้อิสระในการคิดหรือทำก็จะช่วยให้แต่ละคนมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น จากความสำเร็จของ Apple จริงๆ ก็สมควรที่จะได้รับคำชม แต่ในทางกลับกันมันก็เป็นสนามทดลองที่แย่สำหรับคนคิดจะทำธุรกิจของตัวเอง

ที่มา : Fast Company

สนับสนุนเนื้อหา:  thumbsup.in.th

ภาพ: istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook