5 กระบวนท่องเที่ยวแบบออนไลน์ใช้แอป ที่คุณต้องไม่พลาด

5 กระบวนท่องเที่ยวแบบออนไลน์ใช้แอป ที่คุณต้องไม่พลาด

5 กระบวนท่องเที่ยวแบบออนไลน์ใช้แอป ที่คุณต้องไม่พลาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงที่คนไทยเดินทางท่องเที่ยวมากที่สุด บอกเลยว่าช่วงปิดเทอมใหญ่ ตั้งแต่มีนาคม ถึง พฤษภาคมคือฤดูกาลการเดินทางออกนอกประเทศสูงสุด ถามว่าถ้าจะเดินทางไปช่วงปิดเทอมต้องเตรียมการตั้งแต่ตอนไหน บอกเลยเดือนธันวาคมดีสุด แต่ถ้าต้องตัดสินใจจ่ายเงินจองอะไรต่อมิอะไร ช่วงนี้หละครับหัวเลี้ยวหัวต่อ

บทความนี้กำลังจะบอกวิธีการเดินทางท่องเที่ยวด้วยการใช้ดิจิตอลดีที่สุดในตอนนี้ให้พวกท่าน ตามผมมาเลยครับ

1 วางแผนท่องเที่ยวแบบออนไลน์ บางครั้งบางหนเราแค่คิดอยากท่องเที่ยว แต่ก็ไม่ได้จริงจังว่าจะไปที่ไหน วันดีคืนดีเพื่อส่งแชร์ข้อความมาว่า สายการบินนี้ลดราคามโหฬาร ถ้าเราไปประเทศนี้ ในช่วงเวลานี้ ในราคาที่เรากดคลิกจองตั๋วโดยไม่รู้ตัว เหมือนวิญญาณมันออกจากร่าง จนต้องกลับมาถามว่า กดจองไปได้ไง ไม่รู้ว่าจะว่าง หรือจะมีเงินไปเที่ยวพอหรือเปล่า

ไอ้ครั้นจะต้องมาเฝ้าเพจ ให้กับเพจดังๆ อย่างอาแปะ ก็ไม่ต้องทำมาหากินกันแล้ว เพราะข้อเสียของเพจพวกนี้ก็คือ บอกแต่ข้อมูล แต่ถ้าจองเราก็ต้องแจ้นเข้าไปในเว็บของสายการบินนั้นๆ ซึ่งบ่อยครั้งมากที่เรากดไม่ทัน ผมเจอปัญหานี้จนเอือมระอาตัวเอง อยากได้ตั๋วถูกแต่ไม่มีเวลาติดตาม โหลดแอป traveloga มาก็ไม่ตอบสนองเรื่องนี้ เผอิญมีแอปใหม่อย่าง penguint ครับ เพนกวินนี่แหละครับ

แอปเพนกวินถือว่าเก่งสุดในเรื่องวางแผนท่องเที่ยว มันจะตามราคาโปรที่ดีที่สุดให้เราทุกช่วงเวลา เหมือนมีอาแปะติดตัว และมันจองได้ทันทีโดยใช้โทรศัพท์มือถือกดไม่กี่ครั้ง ไม่ต้องไปเว็บของสายการบินหรือเอเย่นต์อื่นๆ อีก

2 ท่องเที่ยวตามกำหนด อย่างที่บอกว่าคนไทยชอบเดินทางช่วงปิดเทอมใหญ่ที่สุด จองตั๋วเดือนธันวาคม เดินทางเมษายน ราคาตั๋วจะดีสุด แต่ถ้าจองมกราคม ราคาเริ่มพุ่งแล้ว ยกตัวอย่างไปโตเกียว จองธันวาจะประมาณ 18,000 บาท แต่จองเดือนมกราคมราคาจะพุ่งไป 20,000 กว่าบาท (ในกรณีบินตรง) แต่ถ้าเลื่อนวันไปปลายเดือนเมษายนใกล้ต้นเดือนพฤษภาคม ราคาตั๋วจะลดลงอีก เรื่องราวพวกนี้มือใหม่ไม่ค่อยรู้

ผมลองเอาสามแอปมาเทียบกันคือ traveloga expedia และ penguint มาเทียบกัน ณ วันนี้ถ้าบินเอ้าท์บาวจากเมืองไทย penguint ราคาดีสุด มีสายการบินให้เลือกหลากหลายสุด การติดต่อง่ายสุด และเงื่อนไขต่างๆ เช่น จองก่อนถ้าเจอราคาดีกว่ายกเลิกดีลเก่าได้ รวมถึงวิธีการจ่ายเงินที่ถูกใจคนไทยมากกว่า รายใหญ่สองรายแรกนี่เทียบไม่ติดเลย

3 จองที่พัก ผมต้องแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือพักโรงแรม กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกครอบครัว ไม่เน้นความเสี่ยงของห้องพักที่ไม่ได้มาตรฐาน อีกกลุ่มคือพักบ้านพัก นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักเป็นหนุ่มสาว หรือเพื่อนฝูงที่เป็นพวกแบ็คแพค เที่ยวแบบลุยๆ ถ้าเป็นอย่างหลังผมไม่มีตัวเปรียบเทียบ ก็ต้องไปแอป air bnb สถานเดียว ชอบใจแบบไหนก็เข้าไปจอง แต่ผมแนะนำว่าหาข้อมูลบริเวณรอบข้างของบ้านพักให้ดี เสร็จแล้วก็ติดตามการรีวิวของคนเคยมาพัก อยู่ๆ มีคนรีวิวว่าเจอผีที่บ้านพัก พวกจิตอ่อนนี่มีถอยแน่

ส่วนกลุ่มที่พักโรงแรม และที่พักมาตรฐานทั่วไป สองแอปที่ผมโอเคคือ booking.com กับ agoda ถึงวันนี้ถ้าคุณเป็นนักเดินทาง ผมฟันธง booking.com แน่นอน ผมนี่ติดใจระบบเดินทางก่อนจ่ายทีหลัง และราคาที่ให้ก็ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมบอกเท่าไหร่ก็เท่านั้น แต่ agoda นี่ ราคาที่แจ้งเริ่มต้น แต่เมื่อผ่านขั้นตอนไปแล้วราคาอาจพุ่งขึ้นมาตอนท้าย เล่นเอาถอนตัวแทบไม่ทัน นี่ไม่รวมเรื่องส่วนลดเพิ่มเติมหากคุณจองบ่อยๆ ระบบมันจะจำคุณได้และส่วนลดที่ให้นี่ใช้ได้เลย

4 หาประกันท่องเที่ยวดีๆ คนไทยไม่ค่อยคุ้นกับการทำประกันท่องเที่ยว แต่เชื่อผมเถอะด้วยเงินเพียงไม่กี่ร้อยบาท คุณได้หายห่วงเรื่องความเสี่ยงหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยไม่สบายระหว่างเดินทาง การเคลมกระเป๋าไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดส่งล่าช้า หรือกระเป๋าหาย ซึ่งผมแนะนำให้ใช้บริการเว็บของบริษัทประกันทั่วไปได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ซิกน่า อลิอันซ์ เอไอจี ฯลฯ

แต่การทำประกันความเสี่ยงก็คือความเสี่ยงอย่างหนึ่ง อะไรเคลมได้ อะไรเคลมไม่ได้ อะไรที่เคยตกลงกับเราไม่แน่ว่าจะเคลมได้จริง มันคือความไว้ใจและการเลือก อย่าถามผมว่ารายไหนจะมีปัญหาน้อยสุด ผมตอบไม่ได้จริงๆครับ

5 บริษัททัวร์คือตัวเปรียบเทียบที่ดีที่สุด เอเย่นต์ทัวร์ปกติกำลังดิ้นเฮือกสุดท้ายหลังจากที่โดนระบบออนไลน์ทั้งหลาย ถ้าคุณจะเดินทางแบบทำทุกอย่างด้วยตัวคุณเองผ่านโทรศัพท์มือถือแล้วหละก็อย่าลืมเอาสิ่งที่คุณได้ข้อมูลมาตรวจสอบกับเอเย่นต์ทัวร์ปกติ บางครั้งบางทริปคุณอาจจะได้ราคาและบริการที่ดีกว่า แต่ถ้าคุณไม่ชอบชะโงกทัวร์ อยากไปเที่ยวแบบคุณเอง ก็ลืมมันซะเถอะ

         

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook