พฤติกรรม “ไทย-ฮ่องกง-ไต้หวัน-สิงคโปร์” ต่างกันไหมบน Social media

พฤติกรรม “ไทย-ฮ่องกง-ไต้หวัน-สิงคโปร์” ต่างกันไหมบน Social media

พฤติกรรม “ไทย-ฮ่องกง-ไต้หวัน-สิงคโปร์” ต่างกันไหมบน Social media
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

APAC อาจเป็นภูมิภาคที่ทั่วโลกต่างจับตาว่ามีการเติบโตของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงอย่างมาก ซึ่งหากไม่มีข้อมูลในมือ องค์กรที่ต้องการจะเจาะตลาด APAC ซึ่งเต็มไปด้วยประเทศ ที่มีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเองนั้น คงมองออกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

 ตรงกันข้ามกับผู้ที่มีข้อมูลในมือ ซึ่งข้อมูลชั้นดีตัวหนึ่งก็คือ ข้อมูลจากแพลตฟอร์มโลกเสมือนอย่าง Social Media ที่สามารถดึงผู้ใช้งานจำนวนมากให้ร่วมกันแชร์ โพสต์ ส่งข้อความ คลิก Like ฯลฯ ให้กับคอนเทนต์ที่ตนเองถูกใจนั่นเอง

โดยในวันนี้ เราขอนำความต่างของพฤติกรรมการใช้งานสื่อดิจิทัลในตลาด “ไทย-ฮ่องกง-ไต้หวัน-สิงคโปร์” จากงานเสวนา Digital Marketing Trend Talk ของแสนสิริมาฝากกัน ดังนี้ค่ะ

ภาพรวมการใช้งานดิจิทัลของประเทศไทย

untitled-2

  • ข้อมูลจาก Etda ระบุว่า กลุ่มเพศที่สามมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงสุดที่ 48.9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขณะที่เพศหญิงและชายใช้งานอินเทอร์เน็ตพอ ๆ กัน ที่ 44.7 และ 45.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • เมื่อเทียบเป็นเจเนอเรชั่นพบว่าGen Y มีการใช้งานสูงสุดที่ 53.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามมาด้วย Gen X (44.3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) Gen Z (40.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) และ Baby Boomer (31.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
  • จากตัวเลขดังกล่าวยังเห็นได้ว่า จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงขึ้น และ Mobile Phone คืออุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของคนไทยทุกวันนี้ไปแล้ว
  • เมื่อเอ่ยถึงแพลตฟอร์มส่งข้อความ ข้อมูลจาก Hootsuite เผยว่า แอปพลิเคชันส่งข้อความอย่าง LINE กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มากไปกว่าการส่่งข้อความ เพราะ LINE พัฒนาตัวเองกลายเป็นทั้ง Social Media, บริการช้อปปิ้ง และเครื่องมือในการสร้างแบรนด์ที่มีประสิทธิภาพ และคนไทยมากถึง 74% มีการใช้งานแอปพลิเคชันส่งข้อความ “ทุกวัน”
  • ทั้งนี้ อนาคตของยุคดิจิทัลไทยก็คือ Live VDO โดยบริการที่ได้รับความนิยมมีตั้งแต่ Facebook Live, Instagram Live และ YouTube Live กับอีกตัวหนึ่งก็คือ VR และ AR เหมือนเช่นที่เคยเกิดกระแสจากเกม Pokemon Go อยู่พักใหญ่นั่นเอง

ภาพรวมการใช้งานดิจิทัลของชาวฮ่องกงuntitled-3

  • ฮ่องกงเป็นประเทศที่อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงมากที่สุดในภูมิภาค APAC
  • การเข้าถึง Social Media อย่างFacebook ในระหว่างวันพบว่า ชาวฮ่องกงเชื่อมต่อจากสมาร์ทโฟนมากกว่าคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปค่อนข้างมาก แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงดึกไปแล้ว อัตราการใช้งาน Facebook ผ่านเดสก์ทอปจึงค่อยเพิ่มขึ้นแซงหน้าสมาร์ทโฟน
  • แพลตฟอร์ม Social Media ที่ชาวฮ่องกงใช้งานมากที่สุดในเดือนมกราคมคือ Facebook, Youtube และตามมาด้วย WhatsApp
  • กิจกรรมที่ชาวฮ่องกงใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น หลัก ๆ เป็นเรื่องของการส่งอีเมล 64%, โพสต์-แชร์ภาพ 62%, ค้นหาข้อมูล 55%, เล่นSocial Network 44%, ส่งข้อความผ่านแอปพลิเคชัน 40%, E-Commerce 34%, อ่านหนังสือพิมพ์ 33% และทำธุรกรรมทางการเงิน  24%

ภาพรวมการใช้งานดิจิทัลของชาวสิงคโปร์

untitled-4

  • จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของสิงคโปร์ทะลุ 100% เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร เป็นที่สองของ APAC รองจากฮ่องกง ทั้งนี้ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และคนสิงคโปร์จะรู้สึกไม่ดีเลยหากไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
  • ชนิดของหน้าจอที่ชาวสิงคโปร์ใช้งานมากเป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ โมบายล์โฟน 98.6%, PC 93.2%, แท็บเล็ต 52.7% และสมาร์ททีวี 43.1% โดยชาวสิงคโปร์ 96% เป็นเจ้าของอุปกรณ์ดังที่กล่าวมานี้สองชิ้น และมีถึง 66% ที่เป็นเจ้าของอุปกรณ์มากถึง 3 ชิ้นขึ้นไป
  • Facebook เป็น Social media ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสิงคโปร์ และ Google เป็นเสิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของสิงคโปร์เช่นกัน
  • ชาวสิงคโปร์มีความมั่นใจในการช้อปปิ้งออนไลน์สูงสุดในภูมิภาค SEA และยังพบว่าสาเหตุที่ทำให้หันมาช้อปออนไลน์มากขึ้นเพราะความสะดวก อีกทั้งยังสามารถได้รับสิทธิพิเศษมากกว่าการซื้อจากร้านค้าธรรมดานั่นเอง
  • สื่อประเภท OOH ของสิงคโปร์ถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ AR หรือสมาร์ทโฟนมากขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้บริโภค

ภาพรวมการใช้งานดิจิทัลของชาวไต้หวัน

untitled-5

  • ใช้งาน YouTube (89%) สูงกว่า Facebook (82%)
  • แอปพลิเคชันส่งข้อความพบว่าใช้ LINE มากกว่า FB Messenger เช่นกัน

ภาพรวมของ 4 ตลาด

untitled-6

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook