4 นวัตกรรมไฟส่องสว่างสุดล้ำที่ไทยควรมี

4 นวัตกรรมไฟส่องสว่างสุดล้ำที่ไทยควรมี

4 นวัตกรรมไฟส่องสว่างสุดล้ำที่ไทยควรมี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในโลกที่เทคโนโลยีกำลังพลิกโฉมความคิดคนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ นาทีต่อนาที ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดจากการต่อยอดการใช้งานของสิ่งที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว เช่น ไฟส่องสว่าง อย่างนวัตกรรม “ไฟพื้นถนน เตือนคนเล่นมือถือ” หรือโปรเจ็คต์ “LightLine” ประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ได้ทดลองติดตั้งแถบไฟ LED บนทางเท้าจุดทางม้าลาย เพื่อบอกสัญญาณไฟจราจรให้กับผู้ที่ก้มหน้าเล่นมือถือ นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมไฟส่องสว่างในต่างประเทศซึ่งสามารถตอบโจทย์ที่เกิดขึ้นจริงในไทยได้อีกมากมาย ตั้งแต่การเดินหาของช็อปปิ้ง อุปสรรคประจำวันของชาวออฟฟิศ การพักฟื้นในโรงพยาบาล หรือแม้แต่การโทรเรียกช่างซ่อมไฟถนน วันนี้ เรามาดู 4 นวัตกรรมไฟส่องสว่างล้ำๆ ที่เห็นแล้วจะต้องทึ่งว่า “ไฟทำแบบนี้ได้ด้วยเหรอ”

ไฟแสนรู้ที่บอกทางหา “สิ่งของ” ในอาคารได้

เราไม่ได้พูดถึงป้ายไฟบอกทางหรือการส่องไฟฉายหาของในตึกอาคาร แต่เป็นการที่ “หลอดไฟ” แต่ละดวงมีความฉลาด รู้ได้ว่าสิ่งของที่มันกำลังให้แสงสว่างนั้นคืออะไร แถมยังสามารถบอกคนที่เดินในอาคารได้ด้วยว่าจะสามารถเดินมาหาของสิ่งนั้นได้อย่างไรอีกด้วย

นวัตกรรม: ฟิลิปส์ อินดอร์โพสิชันนิ่ง (Philips Indoor Positioning)

ทำไม: เพราะนวัตกรรมฟิลิปส์ อินดอร์โพสิชันนิ่งคือ เทคโนโลยีแสงสว่างที่ใช้การส่งสัญญาณผ่านแสงเพื่อระบุตำแหน่งที่มีความแม่นยำสูง ระยะไม่เกิน 30 ซม. เพื่อการค้นหาและนำทางภายในอาคาร โดยเทคโนโลยีนี้สามารถพัฒนาควบคู่ไปกับแอพพลิเคชั่นบนมือถือ เพื่อการใช้งานที่หลากหลาย เช่น การค้นหาสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ต การส่งข้อมูลและโฆษณาที่สอดคล้องกับตำแหน่งในห้างสรรพสินค้า การให้ข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ การนำทางในโรงพยาบาล เป็นต้น

มีแล้วที่ไหน: ที่คาร์ฟูร์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนอกจากการบอกตำแหน่งสินค้าแล้ว แอพพลิเคชั่นบนมือถือยังสามารถบอกโปรโมชั่นส่วนลดกับคุณได้ทันทีตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้าอาคาร และนำทางไปยังสินค้าดังกล่าว หรือนำเสนอโปรโมชั่นสินค้าในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกับที่คุณยืนอยู่ได้อีกด้วย

ไฟในออฟฟิศที่เราเลือกได้เอง

เชื่อว่าชาวออฟฟิศน่าจะคุ้นเคยกันดีกับการทำงานในช่วงบ่ายที่ต้องมาเจอทั้งแสงแดดอันร้อนแรงที่สะท้อนมาจากนอกอาคารกับแสงไฟบนโต๊ะตัวเองจนต้องหยีตาอ่านจอ แถมแอร์ยังหนาวจนเสื้อกันหนาวระดับผจญหิมะยังเอาไม่อยู่ แต่ทางเลือกกลับมีเพียงเปิดหรือปิด เพราะทั้งระบบไฟและระบบแอร์ถูกควบคุมโดยฝ่ายอาคาร จะติดต่อก็ดูยุ่งยาก จะดีกว่าไหมถ้าคุณสามารถเลือกได้เอง ว่าอยากหรี่ไฟ หรี่แอร์ที่โต๊ะของคุณอย่างไร  

นวัตกรรม: ฟิลิปส์ คอนเน็คเต็ด พีโออี (Philips Connected PoE (Power over Ethernet)

ทำไม: เพราะระบบไฟอัจฉริยะในสำนักงาน ฟิลิปส์ คอนเน็คเต็ด พีโออี สามารถต่อไฟและเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กในระบบอื่นๆ ในคราวเดียวด้วยสาย LAN ไม่ว่าจะเป็นระบบอุณหภูมิภายในอาคาร ระบบการระบายอากาศ และระบบการควบคุมแสงสว่าง เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะกับจำนวนคนที่ใช้งานจริงในอาคาร และยังให้ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถเลือกควบคุมแสงสว่างและอุณหภูมิที่ตนเองต้องการได้เอง ผ่านการล็อกอินบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต โดยฝ่ายอาคารเองก็จะได้รับข้อมูลเชิงลึกในด้านการใช้พลังงานและการใช้สอยพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์วางแผนการใช้งานและบำรุงรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

มีแล้วที่ไหน: ที่อาคารสำนักงาน “The Edge” ของบริษัท Deloitte กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยถือเป็นอาคารสำนักงานแห่งแรกของโลกที่ใช้ระบบดังกล่าว

ไฟที่ทำให้คุณฟื้นตัวได้เร็วขึ้นในโรงพยาบาล

ไม่มีใครอยากไปหาหมอบ่อยๆ ยิ่งการแอดมิทค้างคืนที่โรงพยาบาลก็เป็นเรื่องที่พาลทำให้ใจห่อเหี่ยว ไม่ว่าจะเป็นความกังวลเกี่ยวกับโรคภัย หรือบรรยากาศที่แข็งกระด้าง ด้วยไฟที่สว่างจ้าอยู่ตลอดเวลาจนแยกวันแยกคืนไม่ออก ซึ่งไม่ใช่แค่คนไข้ที่รู้สึกไม่ดีกับบรรยากาศ แต่บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นหมอหรือพยาบาลก็มีความเครียดที่เกิดจากบรรยากาศที่ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเช่นกัน

นวัตกรรม: ฟิลิปส์ ฮีลเวลล์ (Philips HealWell)

 

ทำไม: เยียวยาจิตใจไปพร้อมกันทั้งคนไข้และหมอ เพราะแสงมีผลต่อเรามากกว่าที่คุณคิด ระบบแสงสว่างฟิลิปส์ ฮีลเวลล์จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรงได้เร็วขึ้น พร้อมช่วยลดความเครียดในการทำงานให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยระบบแสงสว่างอัตโนมัติจะปรับเปลี่ยนแสงอย่างเป็นธรรมชาติไปตามช่วงเวลาของวัน เพื่อให้สอดคล้องกับจังหวะของร่างกาย (Biological clock) เพื่อส่งเสริมการพักฟื้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีวงจรการนอนหลับที่ยาวนานขึ้น นอกจากนี้ ยังสามารถปรับเป็นโหมดแมนวลเพื่อการใช้งานเฉพาะ เช่น เพื่อการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ หรือเพื่อการทำความสะอาดและบำรุงรักษา และเชื่อมต่อระบบในแต่ละห้องเข้ากับส่วนกลาง เพื่อดูสถานะและควบคุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้อีกด้วย

มีแล้วที่ไหน: นวัตกรรมฟิลิปส์ ฮีลเวลล์เพิ่งได้รับการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมาและพร้อมติดตั้งเชิงพาณิชย์เมื่อต้นปี 2560 โดยกำลังเป็นที่สนใจในสถาบันการแพทย์และศูนย์พักฟื้นทั่วโลก

ไฟถนนอัจฉริยะที่คุยกับช่างได้เอง ไม่ต้องรอคนแจ้ง

กลับบ้านดึกๆ ดื่นๆ ยังต้องมาเจอกับไฟถนนดับๆ ติดๆ ต้องแจ้งใคร เบอร์อะไร เมื่อไหร่จะมาซ่อมก็ไม่ค่อยมีใครรู้ แล้วยังต้องมากล้าๆ กลัวๆ กับอุบัติเหตุหรือเรื่องร้ายๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการรอแจ้งอีก แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้า “ดวงไฟ” แต่ละดวงสามารถบอกกับผู้เกี่ยวข้องได้โดยตรงว่า ตัวเองเสียอยู่ที่ไหน อย่างไร แถมยังเรียกช่างมาหาเองได้อีกด้วย

นวัตกรรม: ฟิลิปส์ ซิตี้ทัช (Philips CityTouch)

 

ทำไม: เพราะระบบฟิลิปส์ ซิตี้ทัช ควบคุมผ่านระบบคลาวด์ (Cloud-Based Control System) ควบคุมได้ทั้งโคมแต่ละโคม (Light-Point Control) และควบคุมตู้ไฟ (Cabinet Control) บนแพลทฟอร์มเดียวกัน ผ่านการเชื่อมต่อแบบ “Machine-to-Machine” ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ครอบคลุมทุกพื้นที่ ไม่ขาดการติดต่อ ทำให้ส่วนควบคุมส่วนกลางและช่างที่รับผิดชอบสามารถควบคุมการเปิดปิด การปรับหรี่ ได้ทั้งแบบแมนวล และ/หรือตั้งเวลาการทำงานล่วงหน้า โดยใช้แอพพลิเคชั่นบนหน้าเว็บ (Web-Based Application) รับข้อความแจ้งเตือนกรณีเกิดความผิดปกติ และยังได้รับข้อมูลการใช้พลังงาน อายุการใช้งาน สถานะการทำงานอย่างละเอียดแบบตามเวลาจริง (Real time) ทำให้การบริหารจัดการเป็นเรื่องง่าย ทำให้ถนนสว่างปลอดภัยอยู่เสมอ

มีแล้วที่ไหน: ปัจจุบัน ฟิลิปส์ ซิตี้ทัชได้มีการใช้ใน 700  โครงการใน 35 ประเทศทั่วโลก รวมถึงลอสแองเจอลิส ในสหรัฐอเมริกา ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมืองโตรอนโต้ ประเทศแคนนาดา  และเมืองจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย  

[ข่าวประชาสัมพันธ์]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook