หลิว หยาง นักบินอวกาศหญิงของจีนเยือนไทยในงาน NST Fair 2017

หลิว หยาง นักบินอวกาศหญิงของจีนเยือนไทยในงาน NST Fair 2017

หลิว หยาง นักบินอวกาศหญิงของจีนเยือนไทยในงาน NST Fair 2017
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขอแสดงความยินดีกับคนไทยที่พัฒนาไอเดียจนเกิดเป็นโครงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ภายในงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 26 สิงหาคม 2560 (NST Fair 2017)” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี

ซึ่งภายในงานนี้ได้มีการมอบรางวัลผู้ที่ได้ทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศหรือ GISTDAได้ร่วมมือกับ สวทช. ภายใต้โครงการ National Space Exploration 2017 โดยประธานผู้มอบรางวัล ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการมาประเทศไทยครั้งแรกของนักบินอวกาศหญิงคนแรกแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน Ms. Liu Yang(หลิว หยาง)

โดยโครงการที่ได้รับทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในงานนี้คือ

โครงการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของโปรตีน-สารยับยั้ง และโปรตีน-โปรตีนสำหรับการพัฒนายาต้านมาลาเรีย โดย ดร.ชัยรัตน์ อุทัยพิบูลย์และทีมงาน โครงการอาหารไทยไปอวกาศ โดย นายกฤษณ์ คุนผลินและทีมงาน โครงการชักนำหัวของพืชสร้างหัวภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก โดย ดร. สุริยันตร์ ฉะอุ่มและทีมงาน โครงการเครื่องพิมพ์สามมิติเพื่อผลิตอาหารในอวกาศ โดย นายตะวัน ถิ่นถาวรกุล และทีมงาน

หนึ่งในกลุ่มที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยคือกลุ่มครัวไทย ครัวอวกาศ โดยมีไอเดียว่าจะทำ อย่างไรให้อาหารไทยไปนอกโลกได้ โอ้โห! ใครชอบทานอาหารบนที่สูงไม่แน่อาจได้ออกไปลองกินนอกโลกก็เป็นได้ (คิดเองนะครับ^_^)

ขณะนี้โครงการทดลองในอวกาศและสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงอาหารไทยไปอวกาศจะต้องทำ การวิจัยก่อนว่าควรจะทำ แพคเกจจิ้งแบบไหนและอีกหลายอย่างหลังจากนั้นนำ ไปทดสอบกับสถาบันวิจัยทางอวกาศอาจจะเป็นที่ญี่ปุ่นกฤษณ์ คุนผลิน ผู้แทนศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐ

Ms. Liu Yang (หลิว หยาง) ยังได้มาแบ่งปันประสบการณ์ให้กับคนไทย เกี่ยวกับภารกิจที่เธอได้ไปทำมาที่อวกาศ มีทั้งการนำตัวหนอนไหมออกไปนอกอวกาศเพื่อให้มันสร้างไหมขึ้นมา ความเป็นอยู่ที่แปลกใหม่ที่จะต้องปรับสภาพร่างกาย การนอน การใช้ชีวิตและการกินในอวกาศ และภาพที่น่าตื่นเต้นน่าประทับใจจากอวกาศที่เธอได้พบเจอเพื่อเป็นแรงบรรดาลใจให้กับคนไทยเยาวชนไทยที่มีความฝันอยากจะเป็นนักบินอวกาศ นักวิจัย อาจารย์ และเยาวชนคนไทยทั้งประเทศ จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยผลักดันและขีดเส้นทางไปอวกาศ ไปดวงจันทร์ ไปดาวอังคาร และการสำรวจในห้วงอวกาศลึกของคนไทยได้ต่อไปในอนาคต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook