ผู้หญิงต่างชาติ กับความสำเร็จในการทำงานที่ "ซิลิคอน แวลลีย์"

ผู้หญิงต่างชาติ กับความสำเร็จในการทำงานที่ "ซิลิคอน แวลลีย์"

ผู้หญิงต่างชาติ กับความสำเร็จในการทำงานที่ "ซิลิคอน แวลลีย์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พุชพา อิทัล (Pushpa Ithal) อาจไม่เหมือนกับซีอีโอทั่วไปในซิลิคอน แวลลีย์ (Silicon Valley) เพราะเป็นผู้หญิงเกิดในต่างประเทศเเละเป็นคุณแม่ลูกสอง

อิทัล เป็นผู้ประกอบการที่อาศัยใน ซิลิคอน แวลลีย์ ที่มีบริษัท startup เป็นของตนเอง

มีผู้หญิงที่เกิดในต่างประเทศอีกมากมายที่ประสบความสำเร็จในซิลิคอน แวลลีย์ ขณะที่บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ต้องว่าจ้างพนักงานชาวต่างชาติมากขึ้นเพื่อผลิตสินค้าเเละบริการ

อิทัลเกิดเเละโตในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย เธอเคยทำงานในบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ เเละบริษัท startups หลายแห่ง สามีของเธอก็มาจากอินเดียเช่นกัน เเละเธอประสบความสำเร็จในการตั้งบริษัท startups มามากเเล้ว เเต่การตั้งบริษัทของตนเองถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญสำหรับเธอ

อิทัล ก่อตั้งบริษัท MarketBeam และดำรงตำเเหน่งเป็นซีอีโอ บริษัทนี้ทำธุรกิจด้านการตลาดทางออนไลน์ เธอบอกว่าตนเองโยกย้ายมาทำงานในสหรัฐฯ เเละยอมเสี่ยงเพื่อแลกกับความสำเร็จ

ผู้หญิงต่างชาติที่ทำงานด้านเทคโนโลยีในซิลิคอน แวลลีย์ เหล่านี้มาจากหลายประเทศ รวมทั้งอินเดียและจีน

สถาบันการศึกษาระดับภูมิภาคแห่งซิลิคอน แวลลีย์ รายงานว่าพนักงานบริษัทในเขตปกครอง Santa Clara กับ San Mateo ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทกูเกิล เฟสบุ๊ก ลิงค์อิน และบริษัทอื่นๆ กว่าร้อยละ 60 เป็นคนต่างชาติย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในสหรัฐฯ และคนต่างชาติเหล่านี้จำนวนมากเป็นผู้บริหาร ผู้ก่อตั้งบริษัทเเละนักธุรกิจเเบบบริษัทร่วมทุน

ทางสถาบันนี้รายงานด้วยว่า เกือบ 3 ใน 4 ของผู้หญิงทั้งหมดที่มีประสบการณ์นานหลายปี เเละอยู่ในตำแหน่งที่ต้องใช้ความสามารถทางเทคโนโลยีในซิลิคอน แวลลีย์ เป็นคนต่างด้าว

เเละในตำแหน่งงานด้านคอมพิวเตอร์เเละทางคณิตศาสตร์ มีหญิงต่างด้าวเข้าทำงานอยู่ถึงเกือบร้อยละ 80 ของแรงงานหญิงทั้งหมด

มีปัจจัยหลายอย่างที่ภาคเทคโนโลยีของสหรัฐฯ เต็มไปด้วยผู้หญิงต่างด้าว อย่างเเรก มีผู้หญิงในสหรัฐฯ ที่เรียนด้านนี้เเละต่างประเทศเน้นการศึกษาด้านเทคโนโลยีเเก่เด็กหญิงมากกว่าเ พราะมองว่าเป็นสาขาที่ได้เงินเดือนสูง เเละอาจขอวีซ่ามาทำงานในสหรัฐฯ ได้

นอกจากนี้ ผู้หญิงที่เกิดในต่างแดนเละทำงานในภาคเทคโนโลยีของสหรัฐฯ มีเเนวโน้มที่จะเเต่งงานและมีบุตรสูงกว่าเพื่อนร่วมงานหญิงที่เกิดในสหรัฐฯ

อิทัลมีลูกสองคน อายุ 5 ปี และ 10 ปี ทุกวันอาทิตย์เธอกับลูกๆ จะเตรียมเสื้อผ้าที่เด็กๆ จะสวมไปโรงเรียนให้ครบทั้ง 5 วันไว้ให้พร้อมใส่ โดยบนไม้เเขวนระบุวันที่จะใส่เอาไว้ เธอใช้วิธีเดียวกันนี้กับขนมกินเล่นของลูกที่ต้องเเพ็คไปโรงเรียน

อิทัลบอกว่า จำเป็นต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม เพราะเธอวุ่นกับการบริหารบริษัทในขณะที่ต้องทำหน้าที่เป็นเเม่ลูกสองด้วย

ด้าน หลิงหลิง ชือ ก็เป็นหนึ่งในผู้หญิงต่างชาติที่ทำงานในภาคเทคฯ ของสหรัฐฯ เธอเกิดในประเทศจีน เเละตัดสินใจเรียนทางด้านคอมพิวเตอร์เพราะเห็นว่าเป็นสาขาอาชีพที่จะช่วยให้ขอวีซ่ามาทำงานในสหรัฐฯ ได้ง่ายขึ้น

เธอประสบความสำเร็จในงานทุกตำเเหน่งที่ทำ เธอศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีทางออนไลน์ในช่วงกลางคืนอยู่เสมอ เเละตอนนี้เธอเป็นรองประธานฝ่ายเทคโนโลดีด้านธนาคารออนไลน์ที่ธนาคารอีสเวสต์ เธอและสามีซึ่งมาจากจีนเช่นกัน มีลูกชายหนึ่งคน

เธอกล่าวว่า สำหรับชาวจีน การสร้างครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะครอบครัวจีนต้องมีทายาทสืบทอดโ ดยเฉพาะตายายและปู่ย่าที่ต้องการมีหลาน

แอนนาลี แซกเซนเนียน (AnnaLee Saxenian) คณบดีภาควิชาข้อมูลแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ซึ่งเขียนเกี่ยวกับคนต่างด้าวโยกย้ายถิ่นในภาคเทคโนโลยีของสหรัฐฯ กล่าวว่า ผู้หญิงจำนวนมากจากอินเดียและจีนมักเจอเเรงกดดันทางวัฒนธรรมและสังคม ต้องเเต่งงานเเละมีบุตรทันทีหลังเเต่งงาน นอกจากนี้ พวกเธอยังต้องประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานอีกด้วย

เธอกล่าวว่า ผู้หญิงเหล่านี้เป็นซุปเปอร์วีเมนในหน้าที่การงานเเละหน้าที่ในครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ

และในขณะที่ ซิลิคอน แวลลีย์ กำลังจะว่าจ้างผู้หญิงเข้าทำงานมากขึ้น ผู้หญิงที่เกิดในต่างแดนเหล่านี้จะกลายเป็นแบบอย่างของการประสบความสำเร็จในงานด้านนี้

 

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook