กล้องดิจิทัลแห่งอนาคต

กล้องดิจิทัลแห่งอนาคต

กล้องดิจิทัลแห่งอนาคต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
Image Stabilizer System : ได้ภาพที่คมชัดมากขึ้นในการใช้งานบางประเภทนั้นถ้าไม่มีขาตั้งกล้องคุณจะไม่สามารถถ่ายภาพออกมาคมชัดได้เลย ช่างถ่ายภาพวิวที่ต้องการจะวางแผนการถ่ายล่วงหน้า โดยนำกล้องไปตั้งไว้ในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว รอจนกว่าจะได้สภาวะแสงที่สมบูรณ์ คงจะทำอะไรไม่ได้ถ้าไม่มีที่จับยึดที่มั่นคง แต่หลาย ๆ คนก็ไม่ชอบที่จะพกขาตั้งกล้องไปไหนมาไหนด้วย นั่นหมายความว่าคุณจะไม่สามารถถ่ายภาพระยะไกลหรือภาพในสภาวะแสงน้อยได้อีกแล้วหรือ? คำตอบที่ชัดเจนคือไม่ ถ้ากล้องของคุณมีระบบป้องกันภาพสั่น (Stabilizer) อยู่ด้วย ซึ่งจะทำหน้าที่ชดเชยการสั่นของมือช่างภาพ ทำให้คุณยังคงสามารถถ่ายภาพที่ใช้ระยะเวลาเปิดชัตเตอร์นาน ๆ หรือใช้เลนส์ซูมระยะไกล ๆ ได้อย่างคมชัด โดยไม่ต้องพึ่งพาขาตั้งกล้อง Panasonic และ Konica Minolta เป็นรายแรกที่เริ่มติดตั้งระบบป้องกันภาพสั่น ลงไปให้กับกล้องรุ่นใหม่หลายรุ่นของตน โดยใช้ชื่อเรียกต่างกันไป Panasonic ใช้ Mega O.I.S. (Optical Image Stabilizer) ส่วน Konica Minolta ใช้ Anti-Shake ในขณะที่ผู้ผลิต รายอื่นอย่างเช่น Canon นั้นมีกล้องเพียงรุ่น PowerShot S1 IS เท่านั้นที่เพิ่มอุปกรณ์แก้ไข การสั่นของภาพลงไป เช่นเดียวกับ Nikon Coolpix 8800 ส่วน Sony นั้นยังไม่มีการติดตั้ง อุปกรณ์นี้ให้กับกล้องของตนรุ่นใด ๆ ทั้งสิ้น ในความเป็นจริงหนึ่ง อาจจะเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก เพราะทั้ง Nikon และ Canon นั้นได้มีพัฒนาและใช้ Stabilized Lens สำหรับกล้อง SLR ของตนมาตั้งนาน แล้ว และก็น่าจะมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะนำระบบนี้กลับมาใช้กับเลนส์ของกล้อง ดิจิทัลขนาดเล็กด้วย แต่เหตุใดถึงไม่นิยมพัฒนากล้องที่มีระบบป้องกันภาพสั่นเหล่านี้ออกมาเสียที อาจเป็นเพราะทั้งสองยังไม่เข้าใจหรือไม่ได้มองว่า มือสมัครเล่นเองก็ ต้องการใช้ฟังก์ชั่นดี ๆ แบบนี้ด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับ Sony ที่ได้นำระบบนี้มาใส่ในกล้องวิดีโอดิจิทัลแทบ ทุกรุ่นแล้วเช่นกัน แต่ก็ยังไม่ยอมบรรจุมันลงไปในกล้อง ดิจิทัลบ้าง สำหรับผู้บุกเบิกตลาดก็คงหนีไม่พ้น Panasonic ที่ได้รับความนิยมมากกับ Lumix DMC- FX7 เพราะได้นำระบบ Mega O.I.S. บรรจุลงไป ซึ่งระบบนี้ Panasonic ได้นำมาใช้กับกล้องวิดีโอดิจิทัลและกล้องคอมแพค โปรแทบทุกรุ่นมาก่อนแล้ว End of Pixel : จุดจบของพิกเซลสูง ๆ สนใจเฉพาะสิ่งที่สำคัญ จากผลการทดสอบของเราจะเห็นได้อยู่เสมอว่า กล้องดิจิทัลที่ใช้เลนส์ คุณภาพดี ๆ และการจัดการสัญญาณที่ดีนั้นสามารถถ่ายภาพได้ดีกว่ากล้องที่มีจำนวนพิกเซลมากกว่าได้ ตัวอย่างที่ดีที่สุดของข้อสรุปนี้ก็คือ Fuji FinePix S20 Pro จากชาร์ตทดสอบ ทั้งหมดในกลุ่มกล้องคอมแพคสามารถทำคะแนนอยู่ในอันดับ 17 เพราะกล้องรุ่นอื่น ๆ นั้นมีการสนับสนุนการใช้งานที่ดีกว่า และใช้งานง่ายกว่า แต่เมื่อนำกลับมาทดสอบใหม่ทั้งหมดอีกครั้งกลับพบว่า กล้องรุ่นนี้ทำคะแนนในหัวข้อคุณภาพภาพได้ดีที่สุด โดยได้ไปทั้งหมด 100 คะแนนเต็มเลยทีเดียว แม้แต่กล้องอันดับดีที่สุดของเรา Sony Cyber-shot DSC- F828 ยังทำได้เพียง 97 คะแนนเท่านั้น ซึ่งข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือ Sony ใช้เซ็นเซอร์ CCD ขนาด 8 ล้านพิกเซล ส่วนเซ็นเซอร์ CCD ของ Fujifilm นั้นมีความละเอียดเพียง 3.2 ล้านพิกเซลเท่านั้น แต่ด้วยโครงสร้างเซ็นเซอร์พิเศษแบบ Super CCD SR จึงทำให้สร้างภาพให้ออกมามีความละเอียดสูงถึง 6.5 ล้านพิกเซลได้ สำหรับกล้องคอมแพค ความละเอียดสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 8 ล้านพิกเซล และ 16.7 ล้านพิกเซล (Canon EOS-1Ds Mark II) ของกล้อง DSLR ส่วนความละเอียดของ Digital Back สำหรับกล้องประเภท Medium Format นั้นมีความละเอียดสูงถึง 22 Megapixel เลยทีเดียว แต่สิ่งที่สำคัญกว่าขอบเขตทางเทคนิคหรือความละเอียดก็คือ ความเข้าใจของผู้ใช้ว่าตนเองนั้นจำเป็นต้องใช้กล้องขนาดความละเอียดเท่าใดกันแน่เพราะ 99% ของนักถ่ายภาพสมัครเล่นทั้งหลาย แค่ใช้กล้องที่มีความละเอียด 3-4 ล้านพิกเซลก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้องค์ประกอบอื่นก็ยังให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องจำนวนพิกเซลเหล่านี้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ความสะดวกในการใช้งาน เมนูที่ละเอียดชัดเจน การตอบสนองของชัตเตอร์ (Time Lag) ความแข็งแกร่งของตัวบอดี้ ระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ และอุปกรณ์เสริมที่จะนำมาต่อเพิ่มเติมเข้าไปให้กับกล้อง File Format : อนาคตที่มั่นคงสำหรับไฟล์ภาพ คำถามที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคือ เราจะยังสามารถดูภาพที่ถ่ายในวันนี้ในอีก 20 ปี ต่อไปข้างหน้าได้อีกหรือไม่ ถ้าเป็นภาพที่อัดลงบนกระดาษนั้นจะไม่มีปัญหานี้ให้สะกิดใจเพราะอย่างไรภาพก็ยังคงอยู่แม้ว่ามันจะซีดจางหรือเลือนรางไปบ้าง แต่สำหรับไฟล์ภาพดิจิทัลนั้นอาจเป็นไปได้ว่าในอนาคตข้างหน้าอาจจะไม่มีฟอร์แมตไฟล์อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็เป็นได้ หรือไม่ก็อาจจะไม่มีเครื่องที่เล่นแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้อีกต่อไป PASS Initiative (Picture Archiving and Sharing Standard) ที่มีผู้เข้าร่วมในขณะนี้คือ Fujifilm, Kodak และ Konica Minolta ได้กำลังปรึกษาหาทางแก้ปัญหานี้อยู่ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผู้ผลิตทั้งหลายหันมาใช้กรรมวิธีในการบันทึกภาพในรูปแบบเดียวกัน เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งภาพดิจิทัลที่มีอนาคตมั่นคง แต่แผนการนี้ก็ยังคงอยู่ในระยะเริ่มแรกเท่านั้น และคาดว่าภายในปีนี้จะมีการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวในเวอร์ชั่นชั่วคราวออกมาก่อนด้วย สำหรับ Adobe เองก็มีเป้าหมายคล้าย ๆ กัน เพราะไฟล์ภาพแบบ RAW นั้นผู้ผลิตแต่ละรายก็จะใช้กรรมวิธีและนามสกุลที่แตกต่างกันออกไป ไฟล์ของ Canon ก็ไม่สามารถนำมาเปิดด้วยซอฟต์แวร์ของ Nikon หรือในทางกลับกันก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น Adobe จึงได้คิดค้นฟอร์แมต DNG ขึ้นมา โดยหลักการคร่าว ๆ คือ ทำการแปลงไฟล์ภาพ RAW ของแต่ละผู้ผลิตให้อยู่ในรูปแบบของนามสกุล DNG ซึ่งในขณะนี้ก็มีชุดแปลงให้ใช้ฟรีกันแล้วด้วย อย่างไรก็ดีรูปแบบใหม่นี้จะเป็นประโยชน์จริง ๆ จัง ๆ ได้ก็ต่อเมื่อ กล้องสามารถที่จะ บันทึกภาพเป็นฟอร์แมต DNG ตั้งแต่ในตัวกล้อง โดยฟอร์แมต DNG น่าจะกลายเป็นรูปแบบมาตรฐานสำหรับไฟล์ภาพแบบ RAW ดังนั้น แนวโน้มต่อไปในอนาคตของเรื่องนี้จึงค่อนข้างชัดเจนคือ ความเป็นเอกภาพจะมาแทนความสับสน และความคงทนถาวรก็จะลบล้างการสูญเสีย แต่จะต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ ๆ กว่าที่เราจะสามารถจัดเก็บภาพถ่ายเหล่านี้ไว้ให้คงทนและใช้การในอนาคตต่อ ไปได้. content by ติดตามข่าวทั้งหมดได้ ที่นี่

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ กล้องดิจิทัลแห่งอนาคต

กล้องดิจิทัลแห่งอนาคต
กล้องดิจิทัลแห่งอนาคต
กล้องดิจิทัลแห่งอนาคต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook