ข้อจำกัดในการออกแบบโน้ตบุ๊กบางๆ

ข้อจำกัดในการออกแบบโน้ตบุ๊กบางๆ

ข้อจำกัดในการออกแบบโน้ตบุ๊กบางๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมยังไม่มีโน้ตบุ๊กรุ่นใดในตลาดที่สามารถทำได้บางเบาเท่าแม็คบุ๊กแอร์ (macbook air) ของแอปเปิ้ล (Apple) แม้ผู้ผลิตหลายรายพยายามจะวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ไว้ในระดับเดียวกันก็ตาม ซึ่งในเทคโนโลยีระดับเดียวกันไม่น่าที่โน้ตบุ๊กจะทำไม่ได้? Doug Freedman นักวิเคราะห์จาก Broadpoint AmTech ได้ให้เหตุผลต่อปรากฎการณ์ทีเกิดขึ้นนี้ว่า เนื่องจากผู้ผลิตพีซีโน้ตบุ๊กบางเบาส่วนใหญ่จะใช้ตัวถังของเครื่องเป็น"พลาสติก" ซึ่งทำให้มันกลายเป็นข้อจำกัดของการออกแบบให้บางไปกว่านี้ เพราะมันจะทำให้เกิดการแตกหักได้ง่าย โน้ตบุ๊กบางๆ "การผลิตโน้ตบุ๊กให้มีความบางมากๆ ด้วยตัวถังที่ทำจากพลาสติกจะพบว่า มันสามารถแตก หักได้ง่ายมาก" Feedman กล่าว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวมาจากการพูดคุยกับเหล่าบรรดาผู้ผลิตโน้ตบุ๊กพวกนี้ โดยตรง ในขณะที่ผู้นำตลาดอย่างแอปเปิ้ลเลือกใช้ตัวถังเป็นโลหะ ทำให้แม็คบุ๊กแอร์สามารถบางได้โดยไม่ต้องกังวลปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันนอกจากแม็คบุ๊กแอร์ก็จะมี Dell Adamo ที่ใช้ตัวถังสำหรับโน้ตบุ๊กรุ่นบางเบาเป็นโลหะ แต่ผลจากการใช้วัสดุที่แข็งแรงกว่าทำให้มันมีราคาค่อนข้างสูง โดยแม็คบุ๊กแอร์มีราคาเริ่มต้นที่ 1,499 เหรียญฯ (ประมาณ 54,000 บาท) และ Admo อยู่ที่ 1,999 เหรียญฯ(ประมาณ 72,000 บาท) เมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กบางๆ อย่าง X-Slim 340 ของ MSI ที่ตัวถังเป็นพลาสติกเกือบทั้งหมดจะอยู่่ที่ 900 เหรียญฯ(ประมาณ 32,500 บาท)เท่านั้น โน้ตบุ๊กบางๆ ดังนั้น ข้อจำกัดในการออกแบบโน้ตบุ๊กให้บางจึงไม่ได้อยู่ที่ซีพียูอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นเรื่องของวัสุดที่ใช้ทำตัวถังนั่นเอง อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้ที่กำลังมองหาโน้ตบุ๊กบางเบาที่เรียกว่า ULV ทาง Intel ได้กำหนดคุณสมบัติของเครื่องพวกนี้ไว้สามข้อด้วยกันคือ ต้องมีความหนาไม่เกิน 1 นิ้ว หนักไม่เกิน 1.6-1.8 กิโลกรัม และสามารถทำงานได้นาน 8 ชั่วโมง ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก...

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ ข้อจำกัดในการออกแบบโน้ตบุ๊กบางๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook