แนะเอกชน-ซิป้า เร่งปรับกลยุทธ์ดัน อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล

แนะเอกชน-ซิป้า เร่งปรับกลยุทธ์ดัน อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล

แนะเอกชน-ซิป้า เร่งปรับกลยุทธ์ดัน อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นายเวทิต ทองจันทร์ หัวหน้าภาควิชาสื่อดิจิตอล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนของประเทศไทยในขณะนี้ ไม่ใช่ปัจจัยที่จะชี้นำแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมสื่อดิจิตอลแต่ตัวแปรสำคัญคือ จะต้องผลิตผลงานระดับมาสเตอร์พีชเป็นจำนวนมาก และขายงานต่างประเทศให้ได้ง่ายต่างหาก ทั้งนี้เพราะตลาดของประเทศไทยไม่ใหญ่พอที่จะสร้างเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล อุตสาหกรรมดิจิตอลในไทยจะเติบโตในทิศทางที่ค่อยๆ โต ไม่เหมือนกับประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ที่ไม่เพียงแต่เป็นชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ยังเป็นผู้นำอุตสาหกรรมดิจิตอลอีกด้วย หน.ภาควิชาสื่อดิจิตอล ม.สยาม กล่าวถึงข้อจำกัดของผู้สร้างแอนิเมชันไทยว่า การนำเสนองานของบริษัทผู้ผลิตสื่อดิจิตอลไทยส่วนมาก พยายามขายงานของตนสู่ตลาดต่างประเทศ โดยนำเสนอว่าเป็นงานระดับสากลแล้ว ล้มไม่เป็นท่านั้น มีสาเหตุมาจากข้อจำกัดอยู่ 2 ประเด็น ที่ทำให้งานไม่ผ่านการพิจารณาจากลูกค้า คือ ข้อจำกัดทางด้านเทคนิค แต่ละบุคคลยังมีคุณภาพไม่เท่ากัน และปัญหาต่อมา คือ การเล่าเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตสื่อดิจิตอลส่วนมาก ยังสร้างสรรค์งานที่มีรูปแบบการเล่าเรื่อง องค์ประกอบของเรื่อง ตลอดจนคาร์แรคเตอร์ของตัวละครไม่เป็นสากล หมายถึงการทำงานแบบไทยๆ มากเกินไป นายเวทิต กล่าวต่อว่า การเข้าไม่ถึงวัฒนธรรมระดับ ก็ไม่ประสบความสำเร็จในตลาดโลก ทั้ง 2 ประเด็นหลักควรสอนเด็กไทยให้เป็นคนยุคใหม่ ทางแนวคิดที่เปิดกว้าง มีทัศนคติว่า ทำอย่างไรจึงจะคิดอย่างนั้นได้ อย่าคิดว่าทำอย่างไรจึงจะทำแบบนั้นได้ ตลอดจนเสริมความสามารถทาง CG ในการทำงานระดับสูง ไม่ใช่แค่เพียงนำ CG มาใช้หัดสร้างเว็บไซต์เท่านั้น ดูตัวอย่าง เช่น ต้มยำกุ้ง ชื่อนี้รู้จักกันทั่วโลก หรือ ก้านกล้วย ที่มีการเล่าเรื่องแบบฝรั่งดูแล้วเข้าใจ หน.ภาควิชาสื่อดิจิตอล ม.สยาม กล่าวอีกว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องผลักดันเป็นนโยบายใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพส่งเสริมอุตสาหกรรมสื่อดิจิตอลให้ยืนหยัดในตลาดต่างประเทศ ที่ผ่านมาเห็นว่ามาตรการภาครัฐแก้ปัญหาได้ไม่ตรงจุด สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้าเองมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ดังนั้น ต้องพุ่งเป้าไปที่นักศึกษาสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงาน ไม่ใช่มาสนับสนุนบริษัทเอกชนเพียงอย่างเดียว โดยซิป้าควรประสานงานกับสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง เปิดฟรีเวลาให้นักศึกษานำเสนอผลงานแอนิเมชันสั้นๆ ตัวละ 30 วินาทีออกอากาศหลังเบรกละคร หลังเบรกรายการ หรือหลังข่าว นายเวทิต กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้การที่เลือกช่วงเวลาดังกล่าว เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากเป็นช่วงที่กลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ให้ความสนใจ ส่งผลให้เกิดการประเมินผลงานจากฝีไม้ลายมือเบื้องต้น นับเป็นการบันไดขั้นแรกของการครงสร้างอุตสาหกรรมด้านนี้ในระยะยาว แต่ถ้าจะให้ผลคุ้มค่า ทางซิป้าเองควรต้องมีบทบาทเร่งผลักดันฟรีทีวีให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะถึงอย่างไรสื่อโทรทัศน์จัดเป็นสื่อที่ประชาชนทั่วไปเข้าถึงมากที่สุด ซึ่งจะทำให้เกิดการแข่งขันในแง่มุมต่างๆ มากขึ้นด้วย รายงานข่าวแจ้งว่า ในส่วนของภาควิชาสื่อดิจิตอล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้วางกลยุทธ์พัฒนาศักยภาพนักศึกษาในทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟฟิค เพื่อพัฒนาฝีมือ สร้างโอกาสการทำงานหลังสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดย ร่วมกับ นิตยสารเมนู คอมพิวเตอร์ ไอเดีย และทีมงานเมนูเทรนนิ่ง จัดโครงการ WORKSHOP DIGITAL ARTIST เรียน CG อย่างไรให้เป็นเซียน ที่อาคาร IT 48 ศูนย์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม วันเสาร์ อาทิตย์ ที่ 1-2 และ 8-9 ก.ย. 2550 เวลา 09.00 17.00 น. ร่วมถ่ายทอดเทคนิค CG โดย อาจารย์ระดับมืออาชีพจากบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ มีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

สนับสนุนเนื้อหาโดย

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ แนะเอกชน-ซิป้า เร่งปรับกลยุทธ์ดัน อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล

แนะเอกชน-ซิป้า เร่งปรับกลยุทธ์ดัน อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล
แนะเอกชน-ซิป้า เร่งปรับกลยุทธ์ดัน อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล
แนะเอกชน-ซิป้า เร่งปรับกลยุทธ์ดัน อุตสาหกรรมสื่อดิจิตอล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook