Innovation Invention : ญี่ปุ่นโชว์เครื่องฉายรังสีรักษามะเร็งชะงัด

Innovation Invention : ญี่ปุ่นโชว์เครื่องฉายรังสีรักษามะเร็งชะงัด

Innovation Invention : ญี่ปุ่นโชว์เครื่องฉายรังสีรักษามะเร็งชะงัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ดร.ซาดายูกิ บัน หัวหน้าฝ่ายประสานงานวิจัยนานาชาติ สถาบันเวชศาสตร์รังสีวิทยาแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า อุปกรณ์ฉายรังสีไอออนหนัก (Heavy Ion Medical Accelerator: HIMAC) ที่นำมาจัดแสดงภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2550 ที่ไบเทคบางนา เป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งสูง มีผลข้างเคียงต่อกลไกการทำงานและรูปทรงของอวัยวะเสียหายน้อย รังสีไอออนหนัก (ไอออนคาร์บอน) จะถูกปล่อยเข้าสู่ร่างกายในลักษณะที่ความร้อนต่ำ ก่อนที่ความร้อนจะพุ่งสูงเมื่อถึงตำแหน่งของมะเร็ง ต่างจากเครื่องฉายรังสีที่ใช้กันทั่วไป ที่จะปล่อยความร้อนสูงตั้งแต่แรก ทำให้ความร้อนลดลงเรื่อยๆ เมื่อถึงจุดของมะเร็ง ประสิทธิภาพในการฆ่ามะเร็งน้อยกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ความร้อนสูงในช่วงแรกก็จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับร่างกาย อย่างไรก็ดี ข้อจำกัดของการรักษาด้วยเครื่องฉายรังสีไอออนหนักนี้คือ ต้องเป็นมะเร็ง่มีขนาดใหญ่พอจะยิงรังสีไปได้ ทำให้ไม่สามารถใช้รักษามะเร็งขนาดเล็ก หรือมะเร็งที่มีการกระจายตัว เช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่แพงมาก ราว 3.4 ล้านเยนหรือประมาณ 1 ล้านบาท เครื่องยิงรังสีดังกล่าวใช้เวลาพัฒนาและปรับปรุง 13 ปี ที่ผ่านมาได้ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งมาแล้วกว่า 3,178 คน โดยผลการรักษามีทั้งหายขาดและดีขึ้น ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง โดยจะใช้วิธีนี้รักษาได้กับมะเร็งประสาทส่วนกลาง ต่อมน้ำตา มะเร็งส่วนคอและศีรษะ (ปาก, คอ, จมูก, โพรงจมูก) เนื้องอกที่ตา มะเร็งปอด ตับ กระดูกและกล้ามเนื้อ ตับอ่อน ทวารหนัก ทางเดินอาหาร มะเร็งในกะโหลก ในรายที่เป็นตรงฐานกะโหลก และมะเร็งแบบคงที่อื่นๆ ปัจจุบัน การรักษาด้วยเครื่องฉายรังสีไอออนหนักนี้ ยังมีอยู่เฉพาะที่เมืองชิบะในญี่ปุ่นเพียงแห่งเดียว แต่ ดร.ซาดายูกิ กล่าวว่า โกเบ กุมมะ และชิสึโอกะ กำลังพัฒนาและผลิตเครื่องฉายรังสีไอออนหนักอยู่ ในขณะเดียัน สถาบันเวชศาสตร์รังสีวิทยาแห่งชาติ ประเทศญี่ปุ่น ก็มีความร่วมมือกับฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนีและออสเตรเลีย ในการอบรมเพื่อพัฒนาเครื่องฉายรังสีไอออนหนักใช้ในประเทศนั้นๆ การที่สถาบันเวชศาสตร์รังสีวิทยาแห่งชาติของเรา นำเครื่องฉายรังสีไอออนหนักมาจัดแสดงในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติที่ประเทศไทยในครั้งนี้ เพื่อกระตุ้นความสนใจ และเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่มางานนี้ เห็นประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง และทางสถาบันเวชศาสตร์รังสีวิทยาแห่งชาติของญี่ปุ่นยินดีร่วมมือกับไทยพัฒนาเครื่องนี้เพื่อรักษาผู้ป่วยไทย ดร.ซาดายูกิ กล่าว

สนับสนุนเนื้อหาโดย

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ Innovation Invention : ญี่ปุ่นโชว์เครื่องฉายรังสีรักษามะเร็งชะงัด

Innovation Invention : ญี่ปุ่นโชว์เครื่องฉายรังสีรักษามะเร็งชะงัด
Innovation Invention : ญี่ปุ่นโชว์เครื่องฉายรังสีรักษามะเร็งชะงัด
Innovation Invention : ญี่ปุ่นโชว์เครื่องฉายรังสีรักษามะเร็งชะงัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook