กม.ปราบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ บังคับใช้แล้ว !!

กม.ปราบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ บังคับใช้แล้ว !!

กม.ปราบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ บังคับใช้แล้ว !!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ในวันนี้(18 กรกฏาคม) เป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ตามกฏหมาย หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาครบ 30 วันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหานคร ในฐานะกรรมาธิการพิจาณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กล่าวถึงสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ว่า ผู้ที่ใช้บริการตามปกติจะไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่ก็ขอให้ระมัดระวังเรื่องการฟอร์เวิร์ดเมล ซึ่งนับว่ามีความล่อแหลม โดยเฉพาะการส่งภาพลามกอนาจาร ภาพตัดต่อ หรือข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของผู้อื่น ซึ่งในกรณีที่ได้รับข้อความ หรือรูปภาพจากผู้อื่นไว้ แต่ไม่ส่งต่อให้ใครก็ถือว่าไม่มีความผิด แต่ถ้าเมื่อใดมีการส่งข้อมูล หรือภาพที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ก็ถือว่ามีความผิดทันที และผู้ที่ทำการส่งต่อจะถือว่ามีความผิดทั้งหมด ดร.สุเจตน์ กล่าวอีกว่า ส่วนผู้ให้บริการก็ต้องปรับตัวเช่นกัน โดยต้องเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ว่าใครติดต่อไปหาใครที่ไหน เมื่อไร โดยต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ ส่วนกรณีที่เป็นความผิดที่ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน ชื่อเสียง และข้อมูลที่เป็นความลับผู้อื่น จะต้องมีผู้เสียหายเข้าไปร้องทุกข์ แต่ถ้าเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ส่งผลกระทบต่อสาธารณะ หรือจาบจ้วงสถาบัน เจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้สามารถมีอำนาจดำเนินการในการอายัดข้อมูล เชิญตัวผู้ที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการร้องทุกข์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีได้ทันที ดร.สุเจตน์ กล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ครอบคลุมถึงการกระทำความผิดในต่างประเทศ ทั้งที่กระทำโดยคนไทย หรือแม้แต่คนต่างด้าว แต่ถ้าการเผยแพร่ข้อมูลนั้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล หรือสถาบัน หรือความมั่นคงของชาติ ก็ถือว่าเข้าข่ายความผิดทั้งสิ้น.

ที่มา : นสพ. โพสต์ทูเดย์

รายละเอียดของ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยสรุป คลิ๊กอ่าน พ.ร.บ. ฉบับเต็ม (ไฟล์ .pdf : เปิดอ่านด้วยโปรแกรม Acrobat Reader) 1. เจ้าของระบบคอมพิวเตอร์ไม่ให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราแอบเข้าไป … มีโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 5) 2. แอบไปรู้วิธีการเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น แล้วนำไปเผยแพร่ให้คนอื่นๆรู้ … มีโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 6) 3. ข้อมูลของผู้อื่น ซึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ดี ๆ แล้วแอบไปล้วงของหรือลักลอบเอามา (ขโมย) …จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท (มาตรา 7) 4. ผู้อื่นส่งข้อมูลหากันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบส่วนตั๊วส่วนตัว แล้วไปดักจับข้อมูลของเขา …จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท (มาตรา 8) 5. ข้อมูลของผู้อื่นอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเขาดี ๆ หากผู้ใดมือบอนไปทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง แก้ไข …จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 9) 6. ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นทำงานอยู่ดี ๆ หากผู้ใดยิง packet หรือ message หรือ virus หรือ trojan หรือ worm เข้าไปก่อกวนจนระบบเขาเสียหาย …จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 10) 7. เขาไม่ได้อยากได้ข้อมูลหรืออีเมลล์จากเรา เราก็ทำการเซ้าซี้ส่งให้เขาซ้ำ ๆ อยู่นั่นแหล่ะ (โดยปกปิดหรือปลอมแหล่งที่มา) จนทำให้เขาเบื่อหน่ายรำคาญ … ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 11) 8. ถ้าผู้ใดทำผิดตามมาตรา9 กับ มาตรา 10. แล้วมันสร้างความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าทันทีหรือไม่......จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท (มาตรา 12 (1)) 9. ถ้าผู้ใดสร้างซอฟต์แวร์เพื่อช่วยให้บุคคลอื่นหรือตน ๆ ทำเรื่องแย่ ๆ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 ถึงมาตรา 11 … จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 13) 10. ผู้ใดกระทำความผิด เช่น ปลอมแปลงข้อมูล ทั้งหมดหรือบางส่วน (fishing), แสดงข้อความอันเป็นเท็จ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั้นคงของชาติ ก่อให้เกิดความตระหนกตกใจ เช่นการ ส่งเมล์เรื่องการก่อการร้าย (ไปต่อ ต่อ กัน), โป๊ก็โดน, โกหกก็โดน, ท้าทายอำนาจรัฐก็โดน จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท (มาตรา 14) 11. ผู้ให้บริการ จงใจ ยินยอม ให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ก็ได้รับโทษเช่นกัน คือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท 12. ผู้ใดส่งภาพ การตัดต่อ ดัดแปลง ส่งต่อภาพผู้อื่น หรือข้อความ ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกียดชัง อับอาย จำคุกไมเกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท (มาตรา 16) แต่อย่างไรก็ตามหาก เป็นการกระทำไปโดยสุจริต เช่นไม่ทราบถึงการดัดแปลงภาพ นั้นว่ามีมาก่อน ผู้กระทำไม่มีความผิด 13. ผู้ใดทำผิดที่เว็บไซต์ซึ่งอยู่เมืองนอก แต่ถ้าเราเป็นคนไทย หรือมีสัญชาติไทย ก็ผิดตาม พ.ร.บ. นี้ 14. สำหรับมาตราที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องปฎิบัติตามคือ มาตรา 26 ผู้ให้บริการ เช่น ISP หรือเว็บไซต์ ให้เก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (ประมาณ access log ครับ) ไว้อย่างน้อย 90 วัน แต่ในกรณีจำเป็นเจ้าหน้าที่สั่งให้เก็บเพิ่มได้แต่ไม่เกิน 1 ปี ต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ นับตั้งแต่วันเริ่มใช้บริการ และ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับแต่การใช้บริการนั้นสิ้นสุดลง หากผู้ให้บริการไม่ปฎิบัติตาม มีโทษ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ กม.ปราบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ บังคับใช้แล้ว !!

กม.ปราบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ บังคับใช้แล้ว !!
กม.ปราบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ บังคับใช้แล้ว !!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook