กระดานโต้คลื่นไล่ฉลาม ผลงานประดิษฐ์ที่มาช้าไป

กระดานโต้คลื่นไล่ฉลาม ผลงานประดิษฐ์ที่มาช้าไป

กระดานโต้คลื่นไล่ฉลาม ผลงานประดิษฐ์ที่มาช้าไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ไมเคิล เจมส์ (Michael James) นักโต้คลื่นชาวออสเตรเลียโชว์กระดานโต้คลื่นไล่ปลาฉลาม บริษัทซีเชนจ์ เทคโนโลยี ประดิษฐ์กระดานโต้คลื่นติดอุปกรณ์ส่งสัญญาณขับไล่ฉลาม หรือ "Shark Shield" เพื่อให้นักเล่นกีฬาโต้คลื่นมีความปลอดภัยจากการถูกปลาฉลามทำร้าย แต่สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ออกมาช้าเกินไป เพราะมีนักเล่นกระดานโต้คลื่นชาวเมืองเพิร์ธถูกฉลามทำร้ายเสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย ก่อนหน้าวันทดสอบอุปกรณ์เพียงแค่วันเดียว เซิร์ฟบอร์ดดังกล่าวเป็นผลงานประดิษฐ์ของบริษัทสัญชาติออสซี่ ซีเชนจ์ เทคโนโลยี (SeaChange Technology) ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งสัญญาณรบกวนต่อโสตประสาทส่วนกลางของปลาฉลามโดยตรง โดยในระยะแรกจะทำให้ปลาฉลามรู้สึกอึดอัด และถ้าหากยังไม่รีบว่ายน้ำหนีไป ผลของคลื่นสัญญาณดังกล่าวจะส่งผลให้กล้ามเนื้อของปลาฉลามเกิดการกระตุกได้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ปลาฉลามไม่กล้าเข้าใกล้นักโต้คลื่นที่ใช้บอร์ดดังกล่าว อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยชิ้นส่วนสองชิ้น นั่นก็คือเสาอากาศตัวเล็ก ๆ ติดไว้ด้านหลังของบอร์ด อีกชิ้นหนึ่งเป็นกล่องสีดำขนาดย่อม ๆ ติดไว้ที่ปลายกระดานโต้คลื่น สำหรับสร้างสัญญาณรบกวน อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีดังกล่าวนี้อาจเปิดตัวสายเกินไป เพราะทางบริษัทได้ฤกษ์เปิดตัวหลังจากที่เบรดเลย์ สมิธ หนุ่มวัย 29 ปีโดนฉลามขาวจู่โจมจนเีวิตไปเพียง 1 วัน ขณะที่เขาเล่นกระดานโต้คลื่นที่ชายฝั่งแม่น้ำมาร์กาเร็ต ทางตอนใต้ของกรุงเพิร์ธ โดยมีนักโต้คลื่นที่อยู่บริเวณข้างเคียงเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ และช่วยพาร่างของเขาขึ้นจากน้ำ แต่ก็พบว่าเขาเสียชีวิตเสียแล้ว (อ้างอิงตามการรายงานของเอเอฟพีนิวส์) รายแรกของโลก สำหรับกระดานโต้คลื่นไฮเทคนี้ ซีเชนจ์เทคโนโลยีอ้างว่าเป็นผลงานการประดิษฐ์ชิ้นแรกของโลก แต่ก็ยอมรับว่าไม่ได้เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ด้วยตัวเอง เทคโนโลยีดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 1995 โดยนักคิดค้นบริษัท Natal Sharks Board สัญชาติแอฟริกาใต้ แต่ว่าไม่ประสบความสำเร็จหลังจากนั้นในปี 1999 กรรมการผู้จัดการบริษัทซีเชนจ์ ร็อด ฮาร์ทเลย์ (Rod Hartley) ซึ่งได้เดินทางไปยังแอฟริกา และพบกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ซึ่งมีการพูดคุยกับในหลาย ๆ ประเด็นจนนำไปสู่การขอซื้อลิขสิทธิ์ และออกมาเป็นเซิร์ฟบอร์ดในวันนี้ อย่างไรก็ดีกระดานโต้คลื่นไล่ฉลามเครื่องนี้ก็ยังเป็นแค่รุ่นทดสอบอยู่ เหตุที่มันไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะพวกเขาประดิษฐ์มันผิดแบบไปหน่อย พวกเขาออกแบบให้มันกลายเป็นชุดขนาดใหญ่เทอะทะ และไม่มีใครต้องการจะใส่เพื่อให้มันช่วยปกป้องพวกเขาจากฉลาม ร็อด ฮาร์ทเลย์ (Rod Hartley) กรรมการผู้จัดการของซีเชนจ์กล่าว การเปิดตัวในปี 1995 สร้างความฮือฮาได้พอสมควร แต่ก็ไมมีใครได้เห็นมันอีกเลย อาจจะเป็นเพราะมันทำให้นักดำน้ำมีรูปร่างเหมือนหอยเป๋าฮื้อตัวใหญ่ ๆ จนดูไม่เหมือนนักดำน้ำสักเท่าไร ฮาร์ทเลย์กล่าว เทคโนโลยีดังกล่าวแม้จะสร้างความมั่นใจให้กับนักโต้คลื่นมือฉมัง แต่ก็เปรียบเสมือนการรุกรานถิ่นที่อยู่ของปลาฉลาม สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกนำไปสร้างเป็นหนังให้กลายเป็นเพชรฆาตโหดประจำท้องทะเล และโกยรายได้ไปอย่างท่วมท้น แต่ในความเป็นจริงอาจเป็นเรื่องที่ถูกบิดเบือนมากเกินไปเพื่อให้ภาพยนตร์สมจริง และทำให้ภาพของปลาฉลามกลายเป็นสัญลักษณ์ของความดุร้ายไปสำหรับคนสมัยนี้จนถึงกับต้องประดิษฐ์อุปกรณ์ออกมาขับไล่อย่างที่ปรากฏดังข่าว "แต่สำหรับกีฬาโต้คลื่น เทคโนโลยีตัวนี้ก็ช่วยให้ผู้เล่นรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น" ฮาร์ทเลย์กล่าวในที่สุด ขอขอบคุณ ผู้จัดการออนไลน์

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ กระดานโต้คลื่นไล่ฉลาม ผลงานประดิษฐ์ที่มาช้าไป

กระดานโต้คลื่นไล่ฉลาม ผลงานประดิษฐ์ที่มาช้าไป
กระดานโต้คลื่นไล่ฉลาม ผลงานประดิษฐ์ที่มาช้าไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook