เตรียมสรุปกรอบแปลงซอฟต์แวร์เป็นทุนภายในม.ค.

เตรียมสรุปกรอบแปลงซอฟต์แวร์เป็นทุนภายในม.ค.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักข่าวไทย : กรมทรัพย์สินทางปัญหา เตรียมสรุปกรอบแปลงสินทรัพย์เป็นทุนภายในเดือน ม.ค.นี้ ระบุซอต์แวร์จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมนำร่อง ขณะที่ รมว.ไอซีทีระบุซอฟต์แวร์แอนนิเมชั่นจะเป็นอุตสาหกรรมกลุ่มแรกที่เป็นไปได้สูงที่จะแปลงเป็นทุนได้ก่อน แม้จะยังไม่เอื้อประโยชน์ในช่วงแรก ดร.ขจิต สุขุม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวกับสำนักข่าวไทยถึงความคืบหน้าการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในส่วนของธุรกิจไอซีทีว่า จะมีการสรุปกรอบการตีมูลค่าธุรกิจ และสินทรัพย์ทางปัญญาด้านไอซีที ภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้ หลังจากนั้นจะนำกรอบการตีมูลค่าดังกล่าว ไปใช้ในการตีสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์เป็นอันดับแรก และจะถือเป็นการนำร่องไปสู่ทรัพย์สินทางปัญญาด้านอื่นๆของไอซีทีด้วย เพื่อนำไปเป็นหลักทรัพย์กู้เงินจากสถาบันการเงิน ทั้งนี้ในส่วนของสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้นั้น ประกอบด้วย ๒ สถาบัน ธนาคารเอสเอ็มอี ซึ่งจะปล่อยกู้ในวงเงินที่ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท เหมาะกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ให้ขอกู้จากธนาคารเอสเอ็มอี ส่วนวงเงินที่สูงกว่านี้ จะต้องขอกู้กับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม (ไอเอฟซีที) เหมาะกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ ด้าน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที กล่าวว่า ซอฟต์แวร์แอนนิเมชั่น จะเป็นกลุ่มแรกที่มีโอกาสแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้ แต่จะต้องทำให้คาแร็กเตอร์การ์ตูนไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลาย และมีจุดขายเฉพาะตัวได้ เพื่อให้สามารถแปลงเป็นทุนได้ด้วยมูลค่าสูง แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ไทยยังไม่ชัดเจน ดังนั้นในช่วงแรกของการเปิดโครงการสินทรัพย์เป็นทุน จึงเชื่อว่าจะยังไม่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมภาคไอทีมากนัก ซึ่งขณะนี้สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกันในเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้ามากนัก นอกจากซอฟต์แวร์จะเป็นอุตสาหกรรมนำร่องในการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนแล้ว ดร.ขจิต ยังระบุว่า สินค้าประเภทกล้วยไม้และสุราแช่(สุราชุมชน) เป็นสินทรัพย์กลุ่มแรกที่จะนำร่องในโครงการนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะแปลงสินทรัพย์เป็นทุนจะต้องมีแผนธุรกิจแนบมาด้วย และต้องเป็นแผนที่มีความเป็นไปได้เท่านั้น เนื่องจากโครงการนี้ไม่ใช่นำสินทรัพย์มาแลกเป็นเงิน ซึ่งยอมรับว่า ถือเป็นเรื่องยากที่tแปลงสินทรัพย์ออกมาเป็นมูลค่าตัวเงิน เพราะแม้แต่การตีราคาที่ดินที่มีมานานแล้ว ก็ยังทำได้ยาก แต่เชื่อว่ามั่นว่า วงการไอซีทีไทยยังมีคนเก่งอยู่มาก คาดว่า ในจำนวน ๑๐,๐๐๐ คนจะมี ประมาณ ๑,๐๐๐ คนที่จะสร้างตัวได้จากสินทรัพย์ทางปัญญา เพียงแต่ที่ผ่านมาคนกลุ่มนี้ยังต้องใช้เงินกู้นอกระบบและเงินทุนส่วนตัวในการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ดร.ขจิต กล่าวว่า การตีมูลค่าสินทรัพย์ด้านไอซีที อย่างเช่น ซอฟต์แวร์ นั้น จำเป็นต้องมีสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(ATSI) เข้ามาร่วมในการประเมินด้วย ทั้งนี้กระทรวงไอซีที จะทำหน้าที่บริหารระบบศูนย์ข้อมูลกลาง โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เพื่อให้สถาบันการเงินทุกแห่งที่เข้าร่วมปล่อยกู้ในโครงการสามารถเข้ามาดูข้อมูลผู้กู้ร่วมกันได้ พร้อมทั้งข้อมูลการวิเคราะห์เจาะเชิงลึก เพื่อติดตามบริหารโครงการแก่สำนักงานบริหารการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน รวมทั้งเชื่อมโยงระบบการรายงานข้อมูลไปยังศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี (PMOC) โดยประชาชนทั่วไปสามารถติดตามภาพรวมของโครงการในแง่จำนวนเอกสารสิทธิ์ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการปล่อยสินเชื่อ ข้อพิพาทและการไกล่เกลี่ยได้จากเว็บไซต์ www.capital.mict.go.th
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook