ตลาดซอฟต์แวร์ระดับองค์กรร่วมกันลดต้นทุนด้านไอที

ตลาดซอฟต์แวร์ระดับองค์กรร่วมกันลดต้นทุนด้านไอที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สำนักข่าวไทย : คิวเอดี ผู้ผลิตโซลูชั่นระดับองค์กรสำหรับภาคอุตสาหกรรมการผลิตประกาศเดินหน้าคอนเซปต์การทำงานแบบ Lean Enterprise ย้ำผู้ประกอบการไทยต้องเร่งเก็บกวาดบ้านให้ดีที่สุดก่อนด้วยระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) ที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างประสิทธิภาพระบบซัพพลายเชนให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตไทย คาร์ล ลอพเกอร์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทคิวเอดี อิงค์ เปิดเผยว่า สำหรับผลลัพธ์ในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมานี้ สะท้อนให้เห็นว่า คิวเอดีมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของรายได้ ผลกำไร และเงินหมุนเวียน แม้ในภาวะที่เศรษฐกิจผันผวน โดยมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 24% และรายได้จากค่าสิทธิซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้นถึง 41% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งรายได้จากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คิดเป็น 15% ของรายได้รวมทั่วโลก ณ ปัจจุบัน ตลาดได้กลับคืนสู่ภาวะปกติที่ลูกค้าต่าันหันมาให้ความสำคัญในเรื่องของการลดต้นทุน ในการดำเนินงาน การเพิ่มผลผลิต การเอาท์ซอร์สด้านการผลิต และการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการลดจำนวนซัพพลายเออร์ด้านไอทีที่ต้องทำการติดต่อให้น้อยที่สุด นายสมชาย เมฆะสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทคิวเอดี ไอ แอนด์ ไอ จำกัด กล่าวเสริมว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการ ที่ต้องมีการทำงานในลักษณะ Lean Enterprise นั้น เกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจากธุรกิจมีความต้องการที่จะนำเสนอสินค้าและบริการ ในคุณภาพที่ดีขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง มีความแม่นยำในการกำหนดวันส่งมอบสินค้าและบริการ ในขณะที่มีความจำเป็นที่จะต้องลดจำนวนสินค้าคงคลังให้มีน้อยที่สุด โดยที่ต้องทำให้การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทั้งเรื่องของต้นทุน ปริมาณและคุณภาพ การเพิ่มความสามารถในการประสานการทำงานระหว่างองค์กรกับซัพพลายเออร์ ค์กรกับลูกค้า หรือผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการไทยก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การทำงานในรูปแบบLean Enterprise ตามแนวโน้มทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องเร่งสร้างระบบการทำงานหลังบ้านที่แข็งแกร่ง เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และแข่งขันกันได้ และทำให้กลุ่มธุรกิจทั้งเครือข่าย สามารถสนองตอบต่อความต้องการต่าง ๆ ในเชิงธุรกิจต่อกันได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายจะได้ผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพและอำนาจในการต่อรอง ทั้งในระดับองค์กรและระดับกลุ่มให้สูงขึ้นอีกด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook