บีเอสเอกระตุ้นองค์กรไทยตระหนักถึงลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060

    บีเอสเอกระตุ้นองค์กรไทยตระหนักถึงลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

    2003-05-30T00:00:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้
    สำนักข่าวไทย : บีเอสเอ ยังรุกสร้างกระแสให้องค์กรไทย หันมาตระหนักใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ โดยจับมือทั้งภาครัฐและเอกชนไทย เดินหน้าสัมมนาอย่างต่อเนื่อง ชี้ ซอฟต์แวร์คือต้นทุนอย่างหนึ่ง และยังเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างธุรกิจ มร. เจฟฟ์ ฮาร์ดี รองประธานและผู้อำนวยการภูมิภาค ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) กล่าวว่า บีเอสเอร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างระหว่างผู้ใช้ระดับองค์กรถึงคุณค่าของซอฟต์แวร์และการบริหารซอฟต์แวร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเชิญวิทยากรทั้งจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าของกฎหมายลิขสิทธิ์ซึ่งได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติม ทั้งนี้ในส่วนของขั้นตอนการปฏิบัติการการบริหารสินทรัพย์ซอฟต์แวร์นั้น บีเอสเอสได้ร่วมมือกับบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ ส่งวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาร่วมให้ข้อมูล มร. เจฟฟ์ ฮาร์ดี กล่าวเสริมว่า บีเอสเอได้รับความร่วมมือกับรัฐบาลในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจต่อทรัพย์สินทางปัญญา ลิขสิทธิ์ การดูแลและบริหารสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ ในส่วนของการให้ความรู้นั้น ด้วยการจัดสัมมนาอย่างนี้ปีละ 2 ครั้ง รวมถึงความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคมต่างๆ ในการกระจายความรู้อย่างทั่วถึง ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิผลให้กับองค์กร องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องมีการตระหนักและบอกกล่าวว่าซอฟต์แวร์เป็นสมบัติที่สำคัญสุดชิ้นหนึ่งในองค์กร และจำต้องมีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร สำหรับ กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์(บีเอสเอ)เป็นตัวแทนของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลกในการปกป้องและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั่วโลก บีเอสเอได้จัดกิจกรรมเพื่อให้การอบรมแก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ถึงปัญหาที่เป็นผลกระทบต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ส่งเสริมโอกาสทางการค้าผ่านทางนโยบายของภาครัฐ และดำเนินการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ของสมาชิกของบีเอสเอ สมาชิกบีเอสเอเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งในระดับประเทศและทั่วโลก ได้แก่ อะโดบี, แอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์, ออโตเดสก์, เอวิท เทคโนโลยี, เบนท์เลย์ ซิสเต็มส์, บอร์แลนด์, ซีเอ็นซี ซอฟต์แวร์/มาสเตอร์แคม, อินเทอร์เน็ต ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์, แมคโครมีเดีย, ไมโครซอฟท์, เน็ทเวิร์ค แอสโซซิเอทส์, ไซแมนเทค และยูนิกราฟฟิคส์ โซลูชั่นเป็นต้น สมาชิกภูมิภาคของบีเอสเอในเอเชีย ได้แก่ โรเบิร์ต แมคนีล แอนด์ แอสโซซิเอทส์, และโซลิท เวิร์ค นอกจากนี้ บีเอสเอยังมีสมาชิกและได้สร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาคมซอฟต์แวร์และบริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคด้วย สำหรับในประเทศไทยบีเอสเอได้ร่วมมือกับสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์