เอชพีชูกลยุทธ์ลดค่าใช้จ่ายไอที เปิดตัวอะแดปทีฟ เอนเตอร์ไพรส์ช่วยธุรกิจขนาดใหญ่

เอชพีชูกลยุทธ์ลดค่าใช้จ่ายไอที เปิดตัวอะแดปทีฟ เอนเตอร์ไพรส์ช่วยธุรกิจขนาดใหญ่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฐานเศรษฐกิจ : นายเชิดศักดิ์ กู้เกียรตินันท์ กรรมการ ผู้จัดการ และผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ บริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าขณะนี้บริษัทได้ประกาศกลยุทธ์ Adaptive Enterprise ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ที่ช่วยองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ยกระดับความสามารถในการปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีได้ง่าย และดีกว่าเดิม และสามารถใช้ประโยชน์จากระบบไอทีที่อยู่ในองค์กรในการผสานความร่วมมือกับคู่ค้าได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงสามารถวัดผลได้, ออกแบบ, และจัดการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้กลยุทธ์ดังกล่าวถือเป็นยุทธศาสตร์ทางธุรกิจใหม่ที่สำคัญของบริษัทในครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยจะมุ่งนำเสนอบริการดังกล่าวโดยตรงไปยังบริษัทที่อยู่ในอันดับ 1 ใน 100 ของประเทศไทย โดยภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าวนั้นบริษัท จะนำประสบการณ์ในการรวมระบบเครือข่ายภายหลังจากการรวมกิจการกับคอมแพคมาผนวกกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การบริการ, ซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์, โซลูชั่นต่างๆ และแผนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ของเอชพี ซึ่งในส่วนของบริการภายใต้กลยุทธ์ Adaptive Enterprise จะประกอบด้วยบริการใหม่ 3 บริการ คือ ชุดมาตรฐานการตรวจวัดความคล่องตัวของธุรกิจ แนวทาง ใหม่สำหรับการออกแบบและปรับใช้สถาปัตยกรรมด้านแอพพลิเคชัน และ เครือ ข่ายที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจตลอดเวลา โดยมีหลักการที่ใช้ในการให้บริการดังกล่าว คือ 1. ความเรียบง่าย, 2. อิงกับมาตรฐานอุตสาหกรรม, 3. มีลักษณะการทำงานแบบแยกส่วน และ 4. การผนวกรวมได้อย่างกลมกลืน สำหรับส่วนของซอฟต์แวร์นั้นซอฟต์ แวร์เอชพีโอเพนวิว เป็นตัวนำ ขณะเดียวกัน ยังมุ่งเน้นความร่วมมือกับพันธมิตรทางด้านระบบงานเฉพาะด้าน หรือแอพพลิเคชัน และพันธมิตรทางด้านให้บริการคำปรึกษาในการผลักดันกลยุทธ์ดังกล่าว นอกจากนี้บริษัทยัง ได้นำเสนอกรอบของโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่สอดคล้องกับกระบวนการทางธุรกิจของลูกค้าภายใต้สถาปัตยกรรม Darwin Reference Architecture ซึ่งออกแบบมาให้องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนแบบอัตโนมัติ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และนำเสนอโซลูชันทางด้าน Adaptive Enterprise อีก 10 โซลูชัน ซึ่งจะมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่การผนวกรวมระบบไอที ถึงการผนวกรวมระบบการจัดการทั้งองค์กรเข้าด้วยกัน นายเชิดศักดิ์ กล่าวต่อไปว่าภายหลัง จากที่รวมกิจการกับคอมแพคมาเป็นเวลา 1 ปี บริษัทมียอดผลประกอบการสูงกว่าที่ประกาศไว้ก่อนรวมกิจการ 290 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 12,470 ล้านบาท (คิดที่อัตราแลกเปลี่ยน 43 บาท ต่อ 1 เหรียญสหรัฐ) โดยกลุ่มธุรกิจที่สร้างรายได้มากสุด คือ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ หรือ พีเอสจี และ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ต่อพ่วง และการพิมพ์ หรือไอพีจี โดยมีสัดส่วนรายได้กลุ่มธุรกิจละประมาณ 35% ส่วนกลุ่มธุรกิจบริการนั้นมี สัดส่วนรายได้ประมาณ 15% ทั้งนี้ภายในระยะเวลา 2-3 ปี ข้างหน้าบริษัทคาดหวังว่าจะมี สัดส่วนรายได้จากบริการเพิ่มเป็น 30% ซึ่งบริการใหม่ๆ ภายใต้กลยุทธ์ Adaptive En-terprise จะเป็นตัวผลักดันรายได้จากการให้บริการให้เพิ่มขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook