ดีเดย์คอมพ์เครื่องละหมื่นพ.ค.นี้

ดีเดย์คอมพ์เครื่องละหมื่นพ.ค.นี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฐานเศรษฐกิจ : "พิสิฐ พฤกษานุศักดิ์" เร่งเครื่อง "คอมพ์เอื้ออาทร" โค้งสุดท้ายตามบัญชา "หมอเลี้ยบ" ล่าสุดเตรียมจูงมือผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เข้าพบเจ้า กระทรวงไอซีที เชื่อผลการเจรจาครั้งนี้จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนวางขายคอมพ์เครื่องละหมื่นช่วงเปิดเทอมเดือนพ.ค.นี้ ย้ำแนวทางการตลาดรัฐต้องสวมบท เจ้าภาพหาไฟแนนซ์ปล่อยสินค้าเงินผ่อนพันบาทต่อ เดือน พร้อมรับประกันโปรโมชันดอกเบี้ย 0% ด้าน "ไอบีเอ็ม-เอชพี"ยันคอมพ์ราคาถูกไม่กระทบยอดขายบริษัทชี้เครื่องประกอบตามแหล่งต่างๆ น่าห่วงสุด นายพิสิฐ พฤกษานุศักดิ์ นายกสมาคมผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ ไทย เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการคอมพิวเตอร์ราคา 10,000 บาท ตามนโยบายของนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ว่า ขณะนี้สมาคมได้ดำเนินการเจรจาต่อรองราคากับผู้ผลิตชิ้นส่วนไประดับหนึ่งแล้ว โดยที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตชิ้นส่วนเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามก็ยังไม่ได้ราคาที่คิดว่าจะผลิตคอมพิวเตอร์ราคา 10,000 บาท ออกมาได้ ซึ่งสมาคมจะ ประสานไปยังผูประกอบการและผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีอีกครั้งหนึ่งภายในสัปดาห์นี้ เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุดออกมาสู่ตลาดต่อไป "ตอนนี้สมาคม กำลังเร่งเจรจาต่อรองราคาชิ้นส่วนประกอบกับซัพพลายเออร์ทุกรายอยู่ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี แต่อาจจะได้ราคาที่ไม่ถึงจุดที่จะทำคอมพิวเตอร์ราคา 10,000 บาท ออกมาได้ ซึ่งสมาคมจะเชิญผู้ประกอบการทั้งหมด และซัพพลายเออร์ เข้าพบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที เพื่อเจรจาต่อรองราคาชิ้นส่วนบางประเภทลงมาอีก เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด และให้ซัพพลายเออร์รับทราบข้อมูล เพื่อให้เกิดความมั่นใจให้กับซัพพลายเออร์ว่าชิ้นส่วนที่ได้รับการสนับสนุนสามารถควบคุมได้ไม่มีการรั่วไหลออกไปสู่ตลาดภายนอก" นายพิสิฐกล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวถือเป็นของขวัญที่ กระทรวงไอซีทีมอบให้กับผู้บริโภคคนไทยจริงๆ ซึ่งทางผู้ประกอบการภายใต้สมาคม จะพยายามทำราคาออกมาให้ผู้บริโภคพอใจมากที่สุด โดยเท่าที่ทำการประเมินในขณะนี้ คาดว่าคอมพิวเตอร์ภายใต้โครงการดังกล่าวจะมีระดับราคาประมาณ 10,000-12,000 บาท ทั้งนี้คุณสมบัติขั้นต่ำ ที่กำหนดไว้ คือ ใช้ตัวประมวลผลความเร็วไม่ต่ำกว่า 1 กิกะเฮิรตซ์ หน่วยความจำ 128 เมกะไบต์ ฮาร์ดดิสก์ ไม่ต่ำกว่า 20 กิกะไบต์ และอุปกรณ์มัลติมีเดียครบชุด โดยตามแผนของกระทรวงไอซีทีต้องการเปิดตัวโครงการดังกล่าว ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2546 ซึ่งเป็นช่วงของการเปิดภาคเรียน พร้อมกับหาสถาบันการเงินเข้ามาให้การสนับสนุนการผ่อนชำระ โดยคาดว่าจะมีอัตราการผ่อนชำระเดือนละประมาณ 1,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี "โครงการดังกล่าวเป็นโครงการพิเศษจริงๆ โดยมีจำนวนจำกัดประมาณ 100,000-150,000 เครื่อง ซึ่งจะเปิดให้คนทั่วไป หรือหน่วยงานราชการต่างๆ เข้ามาจองได้ประมาณต้นเดือนพฤษภาคม โดยผู้ที่เข้ามาจองก่อนก็ ได้รับสิทธิ์ก่อน และคาดว่าผู้ประกอบการจะสามารถส่งสินค้าถึงมือผู้บริโภคได้ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม หรือต้นเดือนมิถุนายน 2546" นายพิสิฐกล่าวว่า ผู้ประกอบการภายใต้สมาคม ต้องการให้กระทรวงไอซีทีสนับสนุนในเรื่องของการหาสถาบันการเงินเข้ามาสนับสนุนการผ่อนชำระแบบปลอดดอกเบี้ย พร้อมทั้งเจรจาต่อรองกับผู้ผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านี้มีการเจรจาผ่านทางสมาคมเท่านั้น โดยกระทรวงไอซีทียังไม่ได้เข้ามาเจรจาต่อรองโดยตรง นอกจากนี้กระทรวงไอซีทีควรให้การสนับสนุนทางด้านการประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวด้วย เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการขนาดใหญ่ และคอมพิวเตอร์ภายใต้โครงการดังกล่าวได้รับการรองรับคุณภาพจากเนคเทค ด้านนายพิศาล มานะตั้งสกุลกิจ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล บริษัทไอบีเอ็มประเทศ ไทย จำกัด มองว่าคอมพิวเตอร์ราคา 10,000 บาท ที่กระทรวงไอซีทีจะผลักดันออกมาสู่ สาธารณชนนั้น จะส่งผลกระทบกับเครื่อง ประกอบทั่วไปมากกว่า ส่วนบริษัทคงได้รับ ผลกระทบเพียงไม่มากนัก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายอยู่คนละกลุ่ม อย่างไรก็ตามมองว่า โครงการดังกล่าวจะส่งผลประโยชน์โดยตรง กับกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็กบางรายที่มีเม็ดเงินลงทุนไอทีไม่มาก หรือเดิมมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มากนัก มีโอกาสได้ใช้งานคอมพิวเตอร์มากขึ้น ส่วนนายอโนทัย เวทยากร ผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ บริษัทฮิวเลตต์-แพคการ์ด (ประเทศไทย) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า มุมมองของบริษัทคิด ว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดี เนื่อง จากเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป ที่เดิมมองคอมพิวเตอร์เป็นสินค้าราคาแพงได้มีโอกาส ซื้อคอมพิวเตอร์ในราคาถูก และมองว่าน่าจะช่วยกระตุ้นตลาดคอมพิวเตอร์โดยรวมของ ประเทศเติบโตขึ้น ส่วนในแง่ของผลกระทบ ต่อบริษัทนั้นมองว่าอาจได้รับผลกระทบบ้างเพียงเล็กน้อย โดยฐานลูกค้าส่วนใหญ่ของ บริษัทจะอยู่ในระดับบี คลาสขึ้นไป โดยเป็น กลุ่มลูกค้าที่มีการซื้อคอมพิวเตอร์โดยดูจาก คุณสมบัติการทำงาน และมองแบรนด์เป็น หลัก อย่างไรก็ตามคาดว่าจะมีลูกค้าส่วนหนึ่งหันไปซื้อคอมพิวเตอร์ราคาถูกขณะที่นางวรรณี พึ่งพัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัทลิเบอร์ต้า เทคโนโลยี คอร์ป จำกัด กล่าวให้ความเห็นว่าถ้าสามารถทำคอมพิวเตอร์ราคา 10,000 บาท ออกมาได้ จะได้รับการตอบรับจากตลาดดีมาก แต่มองว่าไม่น่าจะสามารถทำได้ เนื่องจากต้นทุนที่คิดว่าน่าจะทำได้ต่ำสุด คือ ประมาณ 13,000 บาท เท่านั้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook