แอมดอกซ์'โหมรุกตลาดเอาต์ซอร์ซ

แอมดอกซ์'โหมรุกตลาดเอาต์ซอร์ซ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ฐานเศรษฐกิจ : "แอมดอกซ์" เพาะเชื้อธุรกิจบริการเอาต์ซอร์ซ ชูไทยฐานดึงงานต่างชาติล่าสุดต่อยอดขยายตลาดซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มรับตลาดโทรคมนาคม-แบงก์ ชี้แนวโน้มผู้ประกอบการแห่งัดกลยุทธ์รักษาฐานลูกค้าคาด มูลค่าตลาดรวมปีแพะกว่า 500 ล้าน นายทวีศักดิ์ แสงทอง ผู้จัดการประจำสาขาประเทศไทย บริษัทแอมดอกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า สำนักงานสาขาประเทศไทยในฐานะศูนย์พัฒนาซอฟต์แวร์ระดับภูมิภาค (Regional Development Center) ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมทางด้านบุคลากร เพื่อขยายธุรกิจ ไปยังการให้บริการรับจ้างดูแลหรือเอาต์ซอร์ซซิ่ง (Outsourcing) ระบบงานทางด้านบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าหรือ ซีอาร์เอ็ม และระบบบิลลิ่งให้กับองค์กรขนาดใหญ่โดยการให้บริการดังกล่าวแต่ ละโครงการต้องใช้บุคลากรราว 100 คน ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีบุคลากรคนไทยและ ต่างชาติทำงานร่วมกันเพียง 100 คนเท่านั้น "ตอนนี้เรากำลังเตรียมพร้อมในเรื่องบุคลากรเพื่อรองรับการให้บริการทางด้านเอาต์ซอร์ซซิ่งและรอความพร้อมของตลาดอยู่ โดยมองว่าบริการเอาตซอร์ซซิ่งเป็นแนวโน้มบริการที่เป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคตอย่างแน่นอน เนื่องจากลูกค้าต้องการให้เราเป็นผู้ดูแลระบบให้และหันไปโฟกัสการทำธุรกิจของตัวเอง อย่างไรก็ตามช่วงนี้ ลูกค้ายังอยู่ระหว่างการจับตามองดูผลดีผล เสียขององค์กรที่ใช้บริการเอาต์ซอร์ซซิ่งไป แล้ว โดยเราก็ได้เริ่มคุยกับผู้ให้บริการมือถือบางรายแล้ว" นายทวีศักดิ์กล่าวอีกว่า บริษัทยังมีนโยบายขยายการทำตลาดซอฟต์แวร์ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM : Customer Re-lationship Management) ภายใต้ชื่อ Clarify CRM มากขึ้น โดยปีที่ผ่านมาบริษัทได้ร่วมกับบริษัทสามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าไปทำการติดตั้งระบบดังกล่าวให้กับบริษัทไทยโมบาย จำกัด ผู้ให้บริการโทร-ศัพท์มือถือระบบ 1900 แล้ว ส่วนในปีนี้ได้วางแผนการขยายการทำตลาดไปยังกลุ่มลูกค้า ที่ต้องการเป็นผู้นำในตลาด และต้องการลด ต้นทุนธุรกิจที่มีความสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้น รวมถึงต้องการเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ และต้องการสร้างคุณภาพบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง อาทิ กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม และกลุ่ม ธุรกิจธนาคาร กลยุทธ์การทำตลาดกลุ่มธุรกิจทางด้านโทรคมนาคมนั้นบริษัทจะมุ่งนำเสนอโซลูชันดังกล่าวไปยังกลุ่มลูกค้าผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายเดิม ซึ่งเคยใช้งานระบบบิลลิ่งของบริษัทและกลุ่มผู้ให้บริการซึ่งเป็นลูกค้ารายใหม่เนื่องจากเล็งเห็นว่าปีนี้กลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมจะมีการลงทุนนำระบบซีอาร์เอ็มมาใช้มากขึ้น ภายหลังจากที่ปรับกลยุทธ์จากการแข่งขันราคามามุ่งเน้นรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้ ขณะเดียวกันยังมีแผนขยายการทำตลาดไปยังกลุ่มธนาคารอีกด้วย โดยเล็งเห็นว่าธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันทางด้านการให้บริการสูง และมีแผนลงทุนทางด้านระบบซีอาร์เอ็มเข้ามาใช้ช่วยในการให้บริการกับลูกค้า นอกจากนี้ยังมองการขยายการทำตลาดไปยังกลุ่มหน่วยงานราชการ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่กำลังแปรสภาพ นายทวีศักดิ์กล่าวว่า สำหรับจุดแข็งที่สำคัญในการทำตลาดโซลูชันดังกล่าวนั้นคือ บริษัทมุ่งเน้นให้บริการโซลูชันทางด้านซีอาร์เอ็มสำหรับโครงการขนาดใหญ่ ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ของบริษัทยังติดตั้ง และใช้งานง่ายโดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการติดตั้งโซลูชันดังกล่าวให้กับไทย โมบายภายใน 75 วัน ในขณะที่คู่แข่งใช้เวลาติดตั้งประมาณ 1 ปี นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถกำหนดคุณสมบัติการทำงานให้ตรง กับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้คาดว่าในปีนี้จะมีลูกค้าใช้โซลูชันดังกล่าวเพิ่มประมาณ 5 ราย อนึ่ง รายงานตัวเลขของบริษัทเอเอ็มอาร์ รีเสิร์ชฯ ระบุว่า ตลาดซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2544-2549 ประมาณ 24% โดยปีนี้ตลาดรวมมีมูลค่าประมาณ 60,000 ล้านบาทซึ่งนับเป็นตัวเลขที่สูงมาก สำหรับประเทศไทยนั้นคาดว่าในปีนี้ตลาดซอฟต์แวร์ซีอาร์เอ็มจะมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook