รีวิว Lenovo ThinkPad T60

รีวิว Lenovo ThinkPad T60

รีวิว Lenovo ThinkPad T60
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


Specification

ThinkPad T60



Lenovo ThinkPad T60 หรือถ้าจะเรียกให้คุ้นกว่านี้ก็คงต้องใช้ชื่อว่า IBM ThinkPad T60 สำหรับโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ก็ยังคงอนุรักษ์หน้าตามเดิมๆ ของ IBM Notebook ไว้อย่างเหนียวแน่นแต่ภายในนั้นอัดด้วยขุมพลังรุ่นใหม่จากค่าย Intel นั่นคือซีพียู Intel Core Duo หรือซีพียูสองหัวในหนึ่งเดียว (เหมือนกับมีซีพียู 2 ตัว อัดอยู่บนซีพียูตัวเดียว)

เอาล่ะครับเรามาเริ่มแง้มดูเจ้า T60 ตัวนี้กันทีละส่วนกันเลยดีกว่าครับ

ข้อมูลจำเพาะของ Lenovo ThinkPad T60


สำหรับข้อมูลข้างต้นก็เป็นข้อมูลที่ได้มาจากทางผู้ผลิตนะครับ เรามาลองตรวจสอบสเปค ของจริงกันเลยดีกว่า

CPU-Z


อันนี้เป็นข้อมูลรายละเอียดของซีพียู


มาดูในส่วนของเมนบอร์ดกันบ้าง


หน้านี้ก็จะเป็นข้อมูลของหน่วยความจำ สังเกตได้ว่าขนาดของแรมจะหายไป 8MB ซึ่งก็เป็นเพราะการ์ดจอ (Graphics chipset) ดึงหน่วยความจำจากแรมไปใช้จำนวน 8MB นั่นเอง สำหรับท่านที่ลองทดสอบเครื่องเองอาจจะแปลกใจว่า ทำไมบางครั้งแรมมันหายไปเยอะกว่านั้น?

อันที่จริงแล้วการ์ดจอของโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ จะทำการปรับขนาดหน่วยความจำอัตโนมัติตามการใช้งาน นั่นหมายความว่ายิ่งใช้งานกราฟฟิกมาก การ์ดจอก็จะดึงแรมออกไปมาก เช่น 16,32 หรือ 64M ดังนั้น ถ้าทดสอบตอนที่เปิดโปรแกรมอยู่ แรมก็จะหายไปมากครับ

Build & Design


รูปร่างของ Thinkpad T60 ยังคงเอกลักษณ์ของ IBM ไว้อย่างเหนียวแน่น เช่น ตัวถังเป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมสีดำทั้งตัว คล้ายกระเป๋านักธุรกิจขนาดเล็ก และโน้ตบุ๊ก T60 จะพิเศษหน่อยคือ ตัวถังใช้วัสดุพวกโลหะ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทาน โน้ตบุ๊ก Lenovo ตัวนี้ ยังติดตรา IBM Thinkpad อยู่ครับ


เปิดฝาออกมาจะเห็นจอ LCD ขนาด 14 นิ้ว พร้อมหลอดไฟสำหรับส่องคีย์บอร์ดเวลาใช้งานในที่มืด และแป้นคีย์บอร์ดสีดำที่มี Point Stick สีแดง ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ IBM เช่นกัน ที่ใต้คีย์บอร์ดจะมี Touchpad และเครื่องแสกนลายนิ้วมือ เพื่อใช้งานแทนระบบ Password เวลา Login เข้าเครื่องเพื่อความสะดวกรวดเร็ว

LCD Display

จอ LCD ของ Thinkpad T60 เป็นจอภาพขนาด 14.1 นิ้ว ความละเอียดที่ 1024 x 768 ซึ่งเป็นความละเอียดมาตรฐานสำหรับจอ LCD ขนาด 14 15 นิ้วอยู่แล้วและเป็นความละเอียดที่นิยมใช้อยู่กับจอ CRT ในปัจจุบัน


จอของ T60 เป็นจอภาพปกติไม่ใช่จอใสหรือจอกระจก ซึ่งมีข้อดีเรื่องความสามารถในการลดแสงสะท้อนได้ดีกว่าจอกระจกอย่างเห็นได้ชัด แต่จะด้อยกว่าในเรื่องความคมชัดของภาพ ซึ่งบางคนจะชอบภาพที่ดูสบายตาจากจอ LCD ธรรมดามากกว่าภาพที่สีจัดๆ จากจอกระจก

ภาพที่มองได้จากตาเปล่าในเรื่องความคมชัด สีสัน ความเร็วในการตอบสนอง ใกล้เคียงกับจอ LCD โน้ตบุ๊กรุ่นปัจจุบันที่เป็นจอภาพแบบธรรมดา ซึ่งไม่มีความโดดเด่นใดๆ และจอภาพจอง T60 ค่อนข้างมืดเราต้องปรับความสว่างขึ้นเกือบสุดเพื่อทำให้เห็นภาพที่ชัดเจน

ผลจากการทดสอบความสว่างและความคมชัดของภาพจากจอ LCD ของ T60


ผลที่ออกมาค่อนข้างน่าแปลกใจ เพราะ Contrast Ratio ที่มีค่าประมาณ 162 และการแสดงสีดำซึ่งไม่ค่อยดำเท่าไร่ ซึ่งทางทีมงานพยายามทดสอบซ้ำ แต่ผลที่ได้ก็ยังเหมือนเดิม และจากค่า Contrast ที่ใกล้เคียงกันในทุกช่วงความสว่าง


ขอบเขตการแสดงเฉดสีของจอ LCD โดยเส้นสีขาวคือขอบเขตของ T60 ส่วนสีแดงคือขอบเขตของระบบ SRGB

Touchpad


Thinkpad T60 มี Touchpad อยู่ใต้ปุ่มคลิกเมาส์ของ TrackPoint อีกที และใต้ Touchpad ก็มีปุ่มสำหรับคลิกเมาส์อีกชุด เมื่อลองใช้งานดูเรารู้สึกว่า Touchpad ค่อนข้างเล็กไปนิด แต่เมื่อใช้ไปสักพักก็จะชิน

ที่ลืมไม่ได้คือ TrackPoint ซึ่งทำให้เราควบคุม Curser ของเมาส์ได้โดยไม่ต้องละมือจากคีย์บอร์ด TrackPoint ของ T60 ตัวนี้สีแดงตัดกับสีดำบนคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีปุ่มที่ใช้แทนการคลิกเมาส์ และปุ่ม TrackPoint Scroll อยู่ตรงกลางซึ่งใช้สำหรับการ Scroll หน้าต่างด้วย TrackPoint โดยตรง

จากการใช้งาน เราสามารถควบคุมเมาส์เพื่อคลิกตาม Icon ต่างๆได้ง่ายดาย ปุ่มที่ใช้แทนคลิกเมาส์ค่อนข้างอ่อนนิดๆ แต่ก็สามารถคลิก หรือดับเบิ้ลคลิกได้ง่ายดาย

Keyboard


คีย์บอร์ดของ T60 เป็นคีย์บอร์ดมาตรฐานคล้ายคีย์บอร์ดโน้ตบุ๊คทั่วไป แต่มีปุ่มเพิ่มเติมนิดหน่อย เช่น เหนือคีย์บอร์ดมีปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง และปุ่ม ThinkVantage สำหรับเปิดโปรแกรม ThinkVantage Productivity Center ซึ่งเป็นโปรแกรม Utility ที่ติดตั้งมากับ T60 เครื่องนี้ และเหนือปุ่มลูกศร Forward และ Back สำหรับโปรแกรม Web Browser ด้วย

เราได้ลองใช้งานคีย์บอร์ดของ T60 เรารู้สึกว่าคีย์บอร์ดตัวนี้แตกต่างจากคีย์บอร์ดโน้ตบุ๊กตัวอื่นๆ ที่เคยทดสอบมา เช่น การกดที่ค่อนข้างนุ่มแต่แน่น ให้ความรู้สึกเหมือนกดปุ่มยาง ไม่มีเสียง แก๊กๆ ระหว่างกด นับเป็นลักษณะเฉพาะของ ThinkPad

Port Connection

เนื่องจาก T60 เป็นโน้ตบุ๊กแบบ Mainstream จึงมี Port เชื่อมต่อน้อยกว่าโน้ตบุ๊กกลุ่ม Desktop Replacement หรือมี Port เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น Port USB 3 Port, Express Card, VGA Out เป็นต้น


ด้านหน้า มี Port IR และสวิทซ์ ปิด/เปิด ระบบ Wireless Lan เพื่อประหยัดแบตเตอรี่เวลาไม่ได้ใช้งาน


ด้านซ้าย มีช่องสำหรับ Express Card, ช่องต่อ Headphone Out, Mic In, Port LAN (RJ-45 Ethernet), Port Modem (RJ-11) และช่อง VGA Out แบบ D-Sub


ด้านขวา มีช่อง UltraBay ซึ่งเป็นช่องที่สามารถถอดเปลี่ยนไดร์ฟซีดีหรือดีวีดีได้อย่างอิสระ หรือใส่แบตเตอรี่ลงในช่องนี้เพื่อเพิ่มระยะเวลาการทำงานด้วยแบตเตอรี่ได้ แต่โน้ตบุ๊กเครื่องนี้ติด Combo Drive ไดร์ฟมา ถัดจาก Ultrabay จะเป็น Port USB 2 Port


ด้านหลัง แทบไม่มีอะไรนอกจาก ปลั๊กไฟต่อหม้อแปลงและ ช่องระบายอากาศ


ด้านล่าง มี Slot สำหรับติดตั้งกับฐานเพื่อเพิ่มจำนวน Port

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของ T60 คือ ไม่มี Port เชื่อมต่ออยู่หลังเครื่องเลย และ USB ถูกย้ายมาอยู่ด้านข้างทั้งหมด ทำให้การเสียบอุปกรณ์ USB ทำได้อย่างง่ายดาย

อื่นๆ สัพเพเหระ



จุดเด่นสำคัญของโน้ตบุ๊กตัวนี้คือ เครื่องแสกนลายนิ้วมือ ที่อยู่ใต้ปุ่มลูกศรบนคีย์บอร์ด ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ลายนิ้วมือแทน Password ในการ Log in เข้าเครื่องได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องมาจำ Password อีกด้วย

จากการลองใช้งานเครื่องแสกนลายนิ้วมือเครื่องนี้ใช้ระบบรูดนิ้วผ่านเครื่อง ไม่ใช่แปะนิ้วเฉยๆ และการรูดนิ้วต้องกดนิ้วให้แนบไปกับเครื่องแสกน ตัวเครื่องถึงสามารถอ่านลายนิ้วมือแล้วนำไปตรวจว่า เป็นลายมือเดียวกันหรือไม่ ต่อไปได้

T60 ตัวนี้ยังติดตั้งไฟส่องสว่าง สำหรับส่องคีย์บอร์ดเวลาใช้งานในที่มืด โดยดวงไฟนี้ติดตั้งอยู่เหนือจอ LCD โดยหลอดไฟนี้เป็นหลอด LED ให้แสงขาว แต่จากการลองใช้งาน ความสว่างจากหลอดไฟนี้ยังสว่างน้อยไปหน่อย

เรื่องเสียงคาดว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ T60 ไม่ได้เน้น เพราะเสียงของ T60 เครื่องนี้ คล้ายๆกับโน้ตบุ๊กทั่วไปที่ขับเสียงได้ไม่ดังมาก ถ้าเปิดเสียงดังขึ้นมาหน่อยเสียงก็จะแตก ผู้ที่ต้องการเสียงเพลงเพราะๆ ผมขอแนะนำให้ซื้อหูฟังมาต่อกับช่อง Headphone ดีกว่าครับ

ขนาดของ T60 ที่ไม่ใหญ่และน้ำหนักเครื่องเพียง 2.3 kg. ซึ่งเป็นน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาสำหรับโน้ตบุ๊กกลุ่ม Mainstream จึงทำให้การพกพา T60 ไม่ใช่เรื่องยาก คนไม่มีรถยนต์ส่วนตัวก็สามารถหิ้ว T60 ไปไหนมาไหนได้สะดวก หรือคุณผู้หญิงก็สามารถถือพกพาได้สบายๆ

Software & Utility

โน้ตบุ๊กตัวที่เราได้รับมาถึงแม้ว่าจะเป็นรุ่น Product Sample แต่ตัวเครื่องก็มีโปรแกรม Utility ติดตั้งไว้มากมาย


โปรแกรมแรกก็คือ ThinkVantage Productivity Center ซึ่งเป็นโปรแกรมการจัดการ เช่น การ Backup หรือ Restore, การจัดการระบบ Wireless เป็นต้น เราสามารถเปิดโปรแกรม ThinkVantage Productivity Center ได้โดยการกดปุ่ม ThinkVantage สีฟ้าที่อยู้ด้านบนของคีย์บอร์ด

โปรแกรมสแกนลายนิ้วมือเป็นอีก Feature หลักตัวนึงของ T60 โดยตัวโปรแกรมสามารถทำงานร่วมกับระบบ Log in ของ Windows โปรแกรมนี้สามารถจำนิ้วมือทั้ง 10 นิ้วเลยก็ได้เพื่อในกรณีที่ลายนิ้วมือเปลี่ยน เช่น โดนไฟดูด หรือเกิดนิ้วด้วนกะทันหัน


ในโปรแกรมมีวิดีโอสาธิตการใช้เครื่องแสกนลายนิ้วมือ พร้อมทั้งให้ผู้ใช้ทดลองสแกนลายนิ้วมือดูด้วย


หลังจากทดลองแสกน เครื่องจะเปรียบเทียบว่าลายนิ้วมือที่สแกนได้แต่ละครับ ตรงกัน หรือไม่


เราสามารถเก็บลายนิ้วมือได้ทุกนิ้วตั้งแต่ โป้ง ชี้ กลาง นาง ก้อย


โปรแกรมการจัดการระบบ Wireless หน้านี้แสดง Wireless Access Point ที่เครื่องรับสัญญาณได้


ระบบตรวจสอบการสั่นสะเทือน เพื่อปิดการทำงานของฮาร์ดดิสก์เมื่อเกิดแรงกระแทกกับตัวโน้ตบุ๊ก ป้องกันแรงกระแทกนี้อาจสร้างความเสียหายต่อฮาร์ดดิสก์ เช่น ทำให้เกิด Bad Sector ได้


ระบบจัดการพลังงาน ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ Profile ว่าเราจะเน้นสมรถนะ หรือเน้นประหยัดไฟฟ้า

PassMark Performent Test


PassMark วัดประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่อง เช่น CPU, VGA, Hard disk โดย T60 ทำคะแนนได้ไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊ก Dual Core ตัวอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะการ์ดจอ i945GM ของ T60 ที่ไม่ใช้การ์ดสำหรับงาน 3D โดยเฉพาะ

PCMarks 05


คะแนนจาก PC Mark 05 โน้ตบุ๊ก T60 ก็ยังทำคะแนนได้ไม่สูง ซึ่งน่าจะเป็นผลจากคะแนนในส่วน Graphic ถ่วงไว้ โดยได้คะแนน 2643 คะแนน และคะแนน Graphic ได้ 866 คะแนน

SiSoft Sendra Disk Preferment


ฮาร์ดดิสก์ของ T60 ทำความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลได้ 28 MB/s ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับธรรมดาไม่ได้มีอะไรพิเศษ

3D Mark 03


3D Mark 03 ได้คะแนนที่ค่อนข้างน้อยที่ 1313 คะแนน ซึ่งคะแนนระดับนี้เหมาะกับการใช้งาน Office ทั่วไป หรือเล่นเกมที่มีฉาก 3D น้อยๆ ได้ และด้วยเหตุนี้ทางทีมงานขอไม่ทดสอบ T60 กับ 3D Mark 05 และ 06

Quake 4

Resolution: 800×600
Demo: guru5.demo
Quality: Medium
Aspect Ratio: [16:9]
Antialiasing: None
Anisotrophic filtering: None
Symmetric MultiProcessing (SMP) enabled
Score = 12.8 FPS

Resolution: 1024×768
Demo: guru5.demo
Quality: Medium
Aspect Ratio: [16:9]
Antialiasing: None
Anisotrophic filtering: None
Symmetric MultiProcessing (SMP) enabled
Score = 8.9 FPS

เราทดสอบ T60 กับ Quake4 Demo ปรากฏว่าได้ค่า Frame rate ที่ต่ำ และเห็นอาการกระตุกมากเกินกว่าที่จะเล่นเกมนี้ได้

CD/DVD Speed


ไดร์ฟที่ติดตั้งมากับ T60 เป็น Combo Drive แบบ Ultrabay ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าโน้ตบุ๊กระดับนี้ไดร์ฟควรจะเป็น DVD Writer มากกว่า


ความเร็วในการอ่านซีดีเฉลี่ยได้ที่ 18.44x หรือ 2.77 MB/s ใกล้เคียงกับโน้ตบุ๊กตัวอื่นๆ


แต่การอ่านดีวีดี T60 อ่านได้เร็วกว่าโน้ตบุ๊กทั่วไป โดยความเร็วเฉลี่ยที่ 5.76x หรือ 7.92 MB/s

Battery Eater

แบตเตอรี่ที่ติดมากับกับ T60 ตัวนี้จ่ายไฟ 10.8 V. จ่ายกระแสได้ 5.2 Ah ถ้าคิดเป็นความจุพลังงานไฟฟ้าจะคิดได้ 56.16 Wh ถือว่าเป็นความจุในช่วงมาตรฐานทั่วไป


เมื่อทดสอบด้วยโปรแกรม Battery Eatter โดยให้โน้ตบุ๊กทำงาน 100% ตลอดเวลา ผลที่ได้คือ โน้ตบุ๊กตัวนี้ทำงานได้ 125 นาที ซึ่งถือว่านานเมื่อเทียบกับโน้ตบุ๊กรุ่นอื่นๆ ที่เรา Review มา และในการใช้งานจริงที่โน้ตบุ๊กไม่ได้ทำงาน 100% ตลอดเวลา T60 อาจเปิดเครื่องได้มากกว่า 3 ชั่วโมงก็เป็นได้

Conclusion



โดยรวมแล้ว Lenovo T60 ซึ่งเป็นโน้ตบุ๊กกลุ่ม Mainstream จึงมีจุดเด่นอยู่ที่ความสมดุลระหว่างน้ำหนักกับประสิทธิภาพ รวมถึงระยะเวลาในการทำงานด้วยแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่าโน้ตบุ๊กกลุ่มอื่นๆ แต่ T60 มีจุดเด่นเฉพาะตัว คือ CPU แบบ Dual Core ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการประมวลผลแบบ Multitasking ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Lenovo T60 เหมาะสำหรับนักธุรกิจ ที่ต้องพกพาโน้ตบุ๊กย้ายสถานที่บ่อยๆ และใช้โปรแกรมที่ใช้กำลัง CPU หนักๆ แต่ไม่เน้นเรื่องภาพและเสียงมากนัก โน้ตบุ๊กตัวนี้ยังเหมาะกับผู้บริหารที่มีข้อมูลที่สำคัญขององค์กร เพราะมีเครื่องแสกนลายนิ้วมือที่ช่วยป้องกันการแอบใช้เครื่องเพื่อขโมยข้อมูลได้ดี

จุดเด่น

+ โครงสร้าง วัสดุตัวถัง การประกอบตัวเครื่องทำได้ดี แข็งแรง เรียบร้อย
+ น้ำหนักเบา (2.3 kg.)
+ มี Port USB ด้านข้างเยอะ (3 Port) ต่อกับอุปกรณ์อื่นๆได้สะดวก ไม่ต้องเอื้อมมาก
+ ทำงานด้วยแบตเตอรี่ได้นาน
+ ใช้ระบบ Ulatrabay ทำให้ถอดเปลี่ยน Optical Drive ได้
+ มีเครื่องแสกนลายนิ้วมือ ทำให้ Log In ได้โดยไม่ต้องจำ Password และไม่มีใครขโมยลายนิ้วมือได้

ข้อสังเกต

- จอภาพ LCD มีค่า Contrast ค่อนข้างต่ำ
- Optical Drive ควรเป็น DVD Writer แทนที่จะเป็น Combo Drive
- ลำโพงขับเสียงได้น้อย

สนับสนุนข้อมูลโดย...

อัลบั้มภาพ 36 ภาพ

อัลบั้มภาพ 36 ภาพ ของ รีวิว Lenovo ThinkPad T60

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook