รีวิว Motorola ROKR E2

รีวิว Motorola ROKR E2

รีวิว Motorola ROKR E2
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อสักประมาณ 1 ปีที่แล้ว (2548) ผมจำได้ว่าทางโมโตโรล่า (Motorola) ได้เปิดตัวและวางจำหน่ายมิวสิคโฟนที่มีรหัสว่า ROKR E1 ซึ่งถือว่าเป็นมิวสิคโฟนที่สานต่อความน่าสนใจมาจาก E398 ที่ถือว่าเป็นมิวสิคโฟนรุ่นแรกของทางบริษัทมาแบบเต็มๆ มีเพียงสีตัวเครื่องที่เป็นสีขาว กับการเพิ่มเครื่องเล่นเพลง iTune ลงไปเท่านั้น นอกนั้นเป็นของ E398 ทั้งหมด แถมที่สำคัญยังลืมเพิ่มเติมในส่วนของปุ่มควบคุมเพลงแบบเฉพาะมาให้ใช้กับเจ้า iTune เพื่อความสะดวกในการใช้ควบคุมการเล่นเพลงซะยังงั้น!? จนมาถึงเจ้า Motorola ROKR E2 ที่เราจะนำมาแกะกล่องลองเครื่องทดสอบกันในคราวนี้ ที่ถือว่ามีการปรับเปลี่ยนโฉมจากเจ้า E1 ไปอย่างไร้ร่องรอยเค้าเดิมอยู่เลย มีการปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนที่ขาด และเสริมความคล่องตัวในการใช้งาน และความทันสมัยทางรูปลักษณ์ภายนอก และเทคโนโลยีพร้อมฟังก์ชั่นภายใน ที่ใครๆ เห็นแล้วเป็นต้องถาม และขอทดลองใช้ไปซะทุกครั้งที่เห็น หากใครที่อยากรู้ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลง และน่าสนใจกับเจ้า ROKR E2 เครื่องนี้แล้วละก็ลองอ่านบทความแกะล่องลองเครื่องของเรา ที่จะมาเจาะลึกกับการทดสอบการใช้งานกันแบบเมนูต่อเมนูกันเลยทีเดียวครับ แกะกล่องลองเครื่อง สัมผัสแรก บอกได้คำเดียวว่า ล้ำมากๆ สำหรับเจ้า ROKR E2 ตัวนี้ที่มีดีตั้งแต่รูปลักษณ์ภายนอกกันเลยทีเดียวครับ ทั้งวัสดุตัวเครื่อง สีสันที่ลงตัวดูทันสมัยโดยสีตัวเครื่องที่เรานำมาทดสอบนั้นจะเป็นสีดำสวยงามตาสไตล์โมโตโรล่า เสริมความน่าสัมผัสกระชับมือและความคงทนด้วยขอบยางที่ด้านข้างเครื่อง ทั้งนี้รูปทรงของ ROKR E2 นั้นจะมาแบบ Modern-Form ที่ให้ความโค้งมนอย่างธรรมชาติช่วยให้รับกับสัมผัสของฝ่ามือได้แบบพอดิบพอดี ด้วยมิติตัวเครื่องที่ขนาด 49.5x106x16 มิลลิเมตร และมีน้ำหนัก 115 กรัม ด้านหน้า โดดเด่นด้วยการออกแบบเข้ากับยุคสมัยปนความเรียบง่ายแต่แฝงไว้ด้วยความสวยงาม ตั้งแต่ชุดแผงปุ่มกดต่างๆ ทั้งเมนู ปุ่มควบคุมแบบ Joy-stick รวมถึงปุ่มตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกแยกไว้ตามหน้าที่การใช้งาน โดยจะมีหน้าจอแสดงผลสีเป็นตัวหลักในการเพิ่มความสวยงามด้วย themes เมนูและภาพพื้นหลังแบบสีได้อีกทางหนึ่งด้วย เหนือหน้าจอแสดงผลขึ้นำป จะมีโลโก้โลหะของ Motorola ติดอยู่ด้วย ซึ่งใกล้ๆ กันนั้นก็จะมีช่องลำโพงหูฟังอยู่ด้วย ด้านหลัง มีความโดดเด่นสวยงามได้ไม่แพ้ด้านหน้าทีเดียวกับส่วนของด้านหลังที่มีลการฉลุลายคล้ายกับลังผึ้งไว้บนพื้นผิวของตัวฝาหลัง และตัวเครื่องด้วย ดูแล้วให้ความสวยงามไปพร้อมกับคุณสมบัติของตัววัสดุที่ทำให้รู้สึกนุ่มมือดีครับ นอกจากนี้แล้วที่ด้านหลังนี้จะมีการติดตั้งตัวเลนส์กล้องถ่ายรูปพร้อมไฟแฟลช และถัดลงมาจากเลนส์กล้องจะมีปุ่มสลัก สำหรับใช้ปลดล็อกฝาหลัง นอกจากนี้แล้วด้านขวามือจากเลนส์กล้องนั้นจะมีการซ่อนช่องลำโพง หรือ Speaker ให้กลืนไปกับลายฉลุด้านหลังนั่นด้วย ทีนี้มาถึงส่วนของฝาหลังซึ่งนอกจากจะมีลายฉลุแล้วยังมีการเพิ่มโลโก้ ต่างๆ ทั้งโลโก้ของ Motorola และโลโก้ที่แสดงการรองรับเครื่องเล่นเพลง กับวิทยุ FM ที่มีตัวหนังสือสีส้มที่ดูแล้วช่วยให้ตัวเครื่องดูทันสมัยได้เหมือนกัน ด้านข้าง (ซ้ายมือ) ซึ่งนอกจากด้านข้างเครื่องจะมีการเสริมขอบด้วยยางแล้วที่ด้านซ้านมือนั้นเมื่อพลิกดูจะเห็นปุ่มกดสำหรับควบคุมการเล่นเพลงอยู่ด้านนี้อย่างครบถ้วนทั้งป่มปรับเสียง (Volume) และปุ่มกดเล่นเพลงต่างๆ ทั้ง Play/Pause/Forward/Rewind อย่างครบถ้วน โดยที่ตัวปุ่มต่างๆ จะมีการเสริมความสวยงาม ด้วยไฟแบ็กไลท์สีส้ม ที่นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังช่วยให้สามารถมองเห็นตัวปุ่มกดในที่มืดได้ดีอีกด้วย ด้านข้าง (ขวา) เมื่อพลิกมาด้านนี้ ก็จะมีการเสริมขอบยางด้วยเช่นกัน แล้วก็จะมีการติดตั้งทั้งปุ่มกดสำหรับใช้งานการสั่งงานเมนูด้วยเสียง (Voice command) พร้อมไฟแบ็กไลท์สีส้ม ถัดลงมาก็จะมีปุ่มลื่น ล็อกปุ่มกดต่างๆ ในเครื่องถัดลงมาจะเป็นช่อง SD Card หร้อมฝายางกันฝุ่นละออง และสุดท้านก็จะเป็นช่อง miniUSB สำหรับใช้เสียบต่อสายดาต้ากับเครื่องพีซี และสายชาร์จไปแบตเตอรี่ด้วย ด้านบน และล่าง โดยด้านบนส่วนหัวของตัวเครื่องนั้นจะมี ช่อง Jack ขนาด 3.5 มิลิเมตร สำหรับใช้เสียบต่อหูฟังแบบมาตรฐานทั่วไป ส่วนด้านล่างตัวเครื่องนั้นจะไม่มีช่องต่อใดๆ เลยครับ ถอดแบตเตอรี่/ใส่ซิมการ์ด ทำได้ง่าย เพียงดันใช้ปลายนิ้วที่ถนัดดันปุ่มสลักลงด้านล่าง พร้อมกับใช้ปลายเล็บ หรือปลายนิ้วดึงขึ้นเบาๆ ตัวฝาหลังก็จะหลุดออกมาได้ง่ายแล้วครับ และหากต้องการจะถอดเปลี่ยน หรือใส่ซิมการ์ดนั้นก็ต้องถอดตัวแบตเตอรี่ออกก่อน ถึงจะเห็นช่องใส่ซิมการ์ดแบบสอดธรรมดาอยู่ด้านใน ทดสอบการใช้งาน เริ่มการใช้งาน โดยการกดค้างที่ปุ่มวงาสายสีแดงประมาณ 2 วินาที จนเครื่องเริ่มทำงาน โดยจะมีการแสดงโลโก้ สักครู่ก็จะมีเสียงเปิดเครื่องมาตรฐานพร้อมกับเข้าสู่หน้าจอปกติที่แสดงทั้งภาพพื้นหลัง, เวลา, วันที่, ชื่อเครือข่าย, ระดับสัญญาณเครือข่าย, แสดงสถานะของแบตเตอรี่ และแถบบาร์สำหรับเมนูบนปุ่มซอพท์คีย์ อย่างละเอียด โดยกินเวลาในขั้นตอนการปิดเครื่องนี้ประมาณ 15 วินาที หน้าจอ ส่วนของจอแสดงผลนั้นจะเป็นแบบ TFT-LCD ความละเอียดสูง สามารถตอบสนองการแสดงผลต่างๆได้คมชัดสุดๆ ที่ระดับ 262,144 สี ขนาด 240 x 320 พิกเซล หรือขนาดความกว้างประมาณ 2 นิ้ว ให้ความสามารถแสดงผลการทำงาน ได้อย่างละเอียดสวยงาม คมชัดทุกเฉดสี ตอบสนองได้ดีแม้จะใช้งานกลางแจ้งแสงแดดจ้าได้ดีทีเดียว รวมไปถึงการแสดงรายละเอียดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ทั้งนาฬิกาบอกเวลา, วันที่/เดือน/ปี, ชื่อเครือข่ายพร้อมสัญญาณเครือข่ายที่หลบอยู่มุมบนทางซ้ายมือของจอแสดงผล, แสดงมิเตอร์แบตเตอรี่ รวมถึงรายละเอียดอื่นๆได้อย่างครบถ้วน ซึ่งก็รวมถึงแถบบาร์เมนูสำหรับการใช้งานปุ่มควบคุมเมนูต่างๆ ด้วย นอกจากนี้แล้วยังสามารถให้ผู้ใช้ได้ปรับตั้งค่าต่างๆ บนหน้าจอได้ เองตามใจชอบด้วยไม่ว่าจะเป็น การเลือกภาพพื้นหลัง (Wallpaper) ที่มีให้เลือกในเครื่อง หรือดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้เอง, รูปแบบธีม (Themes) มีให้เลือกหลายแบบตามสไตล์ที่แตกต่างกันไปของผู้ใช้งาน หรือจะหาดาวน์โหลดเพิ่มเติมก็ได้, ตั้งค่าไฟแสดงเริองแสง (Backlight Timeout) ตั้งแต่ 5/10/20 วินาที, ตั้งค่าเวลาหน้าจอ (Display Timeout) ตั้งแต่ 30 วินาที/1 และ 2 นาที, ตั้งค้เวลาภาพพักหน้าจอ (Screensaver Timeout) ตั้งแต่1/2 นาที หรือเลือกปิดก้ได้, เลือกตั้งค่าความสว่าง (Brightness) สูงสุ 6 ระดับ, ตังค่าวันที่และเวลา (Time&Date) รวมถึงการตั้งค่าโหมดประหยัดแบตเตอรี่ (Battery Saving) ได้ด้วย รูปแบบเมนู สำหรับรูปแบบของเมนูใน ROKR E2 นั้นจะเป็นเมนูที่ถูพัฒนาให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้งานได้ง่ายขึ้นบนระบบปฏิบัติการ Linux-based ด้วย UI ที่ไม่ซับซ้อนจนเกินไปนัก โดย UI รุ่นใหม่นี้จะมี code-name ที่เรียกว่า Chameleon ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกเรียกตามโครงการพัฒนาของทางโมโตโรล่าเอง นอกจากนี้แล้วยังสามารถรรองรับภาษาเมนูได้ทั้งภาษาอังกฤษ, อินโดนีเซีย, ภาษาเวียดนาม, และภาษาไทย (รวมอัตโนมัติด้วย) โดยเราสามารถเข้าไปตั้งค่าภาษาเมนูได้โดยเข้าที่ เมนูหลัก (Main Menu) > การตั้งค่า (Settings) > ตั้งค่าโทรศัพท์ (Phone Settings) > ภาษา (Language) ส่วนรูปแบบเมนูนั้นสามารถเลือกการแสดงแบบตาราง (Grid Matrix) เป็นรูปไอคอนสีสันสวยงามพร้อมทั้งการแสดงแว่นขยายเลื่อนตามการเลือก หรือจะเปลี่ยนให้หน้าเมนูหลักแสดงเป็นแบบรายการ (List) ก็ได้เพียงกดปุ่ม # ขณะอยู่หน้าเมนูหลักเท่านั้น หรือหากต้องการสร้าโฟล์เดอร์ส่วนตัวเองบนหน้าเมนูหลักก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยกด เพิ่มเติม (Option) ขณะอยู่หน้าเมนูหลัก แล้วเลือก สร้างโฟลเดอร์ใหม่ (Create New Folder) แล้วให้เลือกตั้งชื่อ และใส่รูปโฟลเดอร์กราฟิกได้เองเลยครับ สำหรับเมนูหลักๆนั้นจะมีอยู่ทั้งหมด 10 เมนูด้วยกันได้แก่ - Settings เมนูการตั้งค่า สำหรับการตั้งค่าการใช้งานตัวเครื่อง และการโทรต่างๆ ทั้งการเลือกโปรไฟล์ (Profiles) ที่มีให้เลือกทั้งแบบ ปกติ/สั่น/ไม่มีเสียง/ประชุม/โหมดเครื่องบิน/นอนหลับ/ออกกำลัง/รถยนต์ เป็นต้น รวมถึงการตั้งค่า รูปแบบ (Themes), การเชื่อมต่อ (Connections), ตั้งค่าการโทร (Call Settings), ตั้งค่าโทรศัพท์ (Phone Settings), การป้องกัน (Security), เครือข่าย (Network) - Office Tools เมนูเครื่องมือ สำหรับการเลือกใช้งาน ปฏิทิน (Calendar), อีเมล (Email), MOTOSYNC, จัดการดาวน์โหลด (Download Manager), จัดการไฟล์ (File Manager), นาฬิกาปลุก (Alarm Clock), เวลาโลก (World Clock), แอ็ปพลิเคชั่นใน SIM ของผู้ให้บริการ, เครื่องคิดเลข (calculator), บริการการโทร (Dialling Services) อย่างการจำกัดเบอร์/โทรเบอร์บริการ, ราการงาน (Task), สมุดบันทึก (Notepad) - Multimedia เมนูมัลติมีเดียสำหรับความบันเทิงที่ถูกรวบรวมไว้ทั้งดารค้นหามีเดีย (Media Finder) สำหรับค้นหาไฟล์เพลง/ภาพ/วิดีโอ/เสียงบันทึกเป็นต้น, กล้องถ่ายรูป (Camera), กล้องวิดีโอ (Video Camera), บันทึกเสียง (Voice Recorder) - Games เมนูเกม สำหรับเข้าใช้งานแอ็ปพลิเคชั่นอื่นๆ และเล่นเกมที่อยู่ ในเครื่องมากมายรูปแบบ Java - Recentcall เมนูโทรล่าสุด สำหรับการใช้งานดูรายการโทรและใช้สายต่างๆ ที่ผ่านมาทั้งสายเข้า/โทรออก/ไม่ได้รับ และรับสาย - Bluetooth เมนูบลูทูธสำหรับการเข้าใช้งาน และตั้งค่าการเชื่อมต่อด้วยบลูทูธ - Messages เมนูข้อความ สำหรับใช้งานที่เกี่ยวกับการรับ-ส่งข้อความแบบต่างๆ ตั้งแต่การสร้างข้อความ (Create Message), กล่องข้อความเข้า (Inbox), กล่องข้อความออก (Outbox), อีเมล (Email), ข้อความเสียง (Call Voicemail), ข้อความสำเร็จรูป (Templates), เก็บในโฟลเดอร์ส่วนตัว (My Folder) และ แบบร่าง (Draft) - Contacts เมนูผู้ติดต่อ สำหรับการใช้งานเพื่อเรียกดูหรือแก้ไขรายการชื่อเบอร์โทร ทั้งในเครื่อง และ SIM - Web Access เมนูใช้งานเว็บ สำหรับเข้าใช้งาน เบราเซอร์ และการตั้งค่าการเบราเซอร์และตั้งค่าเว็บสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต - Help เมนูคำแนะนำ สำหรับใช้เลือกดูวิธีการใช้งานเมนูต่างๆ ในเครื่องพร้อมคำแนะนำอย่างเป็นขั้นตอนแบบละเอียดทุกเมนู เสียงเรียกเข้า นอกจากเสียงเพลงในระดับ 64 โพลีโฟนิกแล้ว ยังสามารถนำเพลงแบบ Truetone หรือเพลงฟอร์แม็ต MP3/AAC/AAC+enhanced และ WMA มาตั้งเป็นเสียงเรียกเข้าได้ด้วย แถมยังตั้งค่าการเตือนต่างๆ ได้ในโปรไฟล์ (Profiles) โดยเข้าไปที่ ตัวเลือก (Options) แล้วเลือก แก้ไข (Edit) ที่สามารถให้เราได้เลือกตั้งชื่อโปรไฟล์ (Profile Name), เลือกรูปแบบการเตือน (Alert Style) ทั้งแบบ เสียงกริ่งเท่านั้น/เสียงกริ่ง&สั่น/สั่นก่อนเสียง/สั่นเท่านั้น, เลือกเสียงเรียกเข้า (Ringingtone Line) สาย1/สาย2, เลือกตั้งระดับเสียงการเตือน (Alert Volume) ได้ สูงสุด 7 ระดับ, เลือกตั้งระดับเสียงปุ่มกด (System Sounds Volume), ตั้งระดับเสียงการเล่น (Playback Volume), ตั้งเตือนข้อความ (Message Alert), เตือนอีเมล (Email Alert), เตือนปฏิทิน (Calendar Alarm), เตือนความจำ (Reminder Alert), เตือนวอยซ์เมล (Voice Mail Alert) สมุดโทรศัพท์ สามารถลงบันทึกรายการเพิ่มเบอร์และเลขหมายโทรศัพท์ในสมุดผู้ติดต่อ ( Create New Contact) ได้ทั้งในตัวเครื่องโทรศัพท์เอง หรือจะเลือกบันทึกลงใน SIM ก็ได้ ตามแต่ที่ผู้ใช้ถนัด การบันทึกลงเครื่องนั้นสามารถเลือกบันทึกแยกลงรายการบันทึกได้โดยการแยกการทำรายการบันทึกไว้ 5 โฟลเดอร์ต่อ 1 รายการด้วยกัน โดยโฟลเดอร์แรกจะเป็นการลงบันทึกพวกรายการชื่อสกุล เบอร์โทรแบบต่างๆ ทั้งมือถือ, บ้านและแฟกซ์เป็นต้น รวมถึงการลงบันทึกอีเมล, IM ID สำหรับชื่อผู้ใช้ข้อความ IM และแบ่งแยกกลุ่มหรือประเภทของรายการที่บันทึกนั้นๆ ส่วนโฟลเดอร์ที่ 2 จะเป็นการบันทึกลงที่อยู่และรหัสไปรษณีย์ โฟลเดอร์ที่ 3 นั้นจะเป็นการบันทึกรูปถ่ายของเจ้าของเบอร์ลงเครื่องเพื่อแสดงขณะสายเข้าหรือโทรออก โฟลเดอร์ที่ 4 จะเป็นการเลือกรูปแบบการเตือนเพลงสายเข้า และเตือนข้อความเฉพาะบุคคล ส่วนโฟลเดอร์สุดท้ายจะเป็นการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม ส่วนการแสดงการโชว์หมายเลขผู้ติดต่อในสมุดโทรศัพท์นั้นสามารถตั้งการแสดงทั้งในเครื่องโทรศัพท์และใน SIM พร้อมกัน, แสดงใน SIM อย่างเดียว หรือเลือกแสดงเฉพาะที่บันทึกในเครื่องอย่างเดียวก็ได้ การเชื่อมต่อ รองรับ Bluetooth เวอร์ชั่น 1.1 ที่สามารถใช้ทั้งการโอนถ่ายข้อมูล และเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่รองรับบลูทูธ อย่างชุดหูฟังเสตอรีโอบลูทูธอย่างพวก Motorola DJ Headphones S805, Stereo Headset HT820 และชุดลำโพงสเอตรีโอบลูทูธแบบพกพารุ่น JBL On Tour ที่มีรองรับโดยเฉพาะ ให้ใช้ได้ทั้งการฟังเพลง และสนทนาแบบไร้สายได้อย่างสบายใจ หรือหากต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็สามารถทำได้ด้วย WAP 2.0/xHTML/HTML (Opera8) Browser ผ่าน GPRS Class 10 และ EDGE Class 6 พร้อมกันนี้ยังรองรับการส่งข้อความรูปแบบ SMS, MMS, IM และ Email รวมไปถึงการรองรับแอ็ปพลิเคชั่น Java MIDP 2.0 ได้ดีอีกด้วย กล้องถ่ายรูป ระดับ 1.3 ล้านพิกเซล มาพร้อมกับไฟแฟลชส่องสว่าง และระบบซูมดิจิตอล 4 เท่า (Digital zoom 4x) โดยใช้ปุ่ม Joy-stick โยกซ้าย-ขวาเพื่อช่วยควบคุมการซูมภาพ กล้องสามารถบันทึกได้ทั้งภาพนิ่งในโหมดกล้องถ่ายรูป (Camera) และวิดีโอเคลื่อนไหวพร้อมเสียง (MPEG4) ในโหมดกล้องวิดีโอ (Video Camera) ส่วนการปรับตั้งหน้ากล้องนั้นมีมาให้ทั้งการตั้งค่าเวลาเรียกดู (Review Times) สำหรับแสดงภาพถ่ายก่อนจัดเก็บที่เลือกปิดการแสดงหรือเลือกแสดง 2/4/6 วินาทีได้ตามต้องการ, ตั้งเสียงชัตเตอร์ (Shutter Tone), ชื่อมาตรฐาน (Default Name), ตำแหน่งบันทึก (Storage Location) สำหรับจัดเก็บภาพลงเครื่องหรือการ์ดความจำ, เลือกบันทึกอัตโนมัติ (Auto-Save), เลือกส่งอัตโนมัติ (Auto-Send), ตั้งค่ารูป (Picture Settings) ทั้งความละเอียด (Resolution) ตั้งแต่ขนาด รูปย่อ120x160/ เล็ก240x320/ กลาง480x640/ ใหญ่1024x1280 และเลือกคุณภาพ (Quality) ของรูปภาพแบบดี/ดีกว่า/ดีที่สุด, เลือกการตั้งค่าวิดีโอ (Video Settimgs) สำหรับการเลือกตั้งความละเอียด (Resolution) ที่ขนาด 128x96/176x144, เลือกคุณภาพ (Quality), เลือกความยาววิดีโอ (Video Length) แบบ MMS สั้น/MMS ยาว/มากที่สุด, เลือกเปิดไฟแฟลชแบบอัตโนมัติ/เปิดตลอด หรือเลือกปิดไม่ใช้งานก็ได้, ตั้งเวลาถ่ายอัตโนมัติ (Auto-Tmer)ตั้งแต่ 5 วินาทีและ 10วินาที, เลือกแบบหลายช็อต (Multi-Shot) ตั้งแต่ 4/6/8 ช็อต นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปุ่ม Joy-stick โยกขึ้นลงเพื่อปรับตั้งรูปแบบเอฟเฟกค์ภาพ (Style Colour), เลือกโหมดถ่ายภาพ (Scene) แบบอัตโนมัติ (Automatic) แบบกลางคืน (night) หรือแบบเลือกเอง (Manual) ก็ได้ เครื่องเล่นเพลง จุดขายอยู่ที่เครื่องเล่นนี้ละครับ ซึ่งเครื่องเล่นเพลงใน ROKR E2 นั้นค่อนข้างจะใช้งานได้ง่ยหน่อยโดยสามารถกดเข้าใช้งานได้ทันทีด้วยปุ่มควบคุมเพลงที่ด้านข้างเครื่อง พร้อมกับมีการแยกรายการต่างๆ มาให้เราเลือกตั้งได้ตามใจชอบทั้งรายชื่อเพลงใน Playlists เลือกเล่นเพลงใน recently Played สำหรับรายการเพลงที่เล่นล่าสุด เลือกเป็น Albums, Artists ตามชื่อศิลปิน, Composer สำหรับตั้งรายการตามผู้แต่ง หรือ แบ่งประเภทของเพลงตาม Genre ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าการเล่นเพลงแบบสุ่ม (Shuffle), เล่นซ้ำ (Repeat), ตั้งค่าเอฟเฟกค์เสียงสเตอรีโอ (Stereo Effect Settings) แบบเปิด-ปิดมิติของเสียง (Spatial Width Control)/Bass Boost เพื่อเพิ่มเสียงหนา/ตั้งระดับ Bass Boost Level, ปรับเลือกอีควอไลเซอร์ (Equalizer) แบบ Bass Boost/Spoken Word สำหรับโทนเสียงบาง/Classical/Country/ Dance/Techno/Hip-Hop/Rap/Latin/Oldies/Pop/R&B/Soul/Reggae/Rock/Small Speaker แบบเสียงลำโพงเล็ก/Treble Boost สำหรับเน้นเสียงแหลม/Vocal Boosts สำหรับเน้นเสียงร้อง/vocal Reducer สำหรับลดเสียงร้อง, นอกจากนี้ยังตั้งการเล่นต่อเนื่องหลังจากรับสายแบบเล่นอัตโนมัติ หรือหยุดไปเลยก็ได้ นอกจากนี้ยังมีระบบซ่อนการเล่นเพลง (Hide) ในขณะเลือกใช้เมนูอื่นอยู่ก็ได้ด้วย โดยไฟล์ฟอร์แม็ตที่รองรับนั้นจะเป็น MP3/AAC/AAC+/WMA ซึ่งนอกจากเครื่องเล่นเพลงแล้วในเครื่องยังมีวิทยุ Digital FM Radio มาให้พร้อมระบบบันทึกสูงสุ 27 สถานีให้คุณได้ใช้ฟังเพลงกันอย่างจุใจไปเลยทีเดียว หน่วยความจำ ภายในตัวมีพื้นที่หน่วยความจำรองรับอยู่ 10 MB เป็นแบบใช้ร่วมกัน (Share Memory) ซึ่งพอสำหรับการจัดเก็บข้อมูลได้เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แต่ก็ยังสามารถเพิ่มการ์ดความจำแบบ SD Card ได้สูงสุดถึง 2 GB ที่ให้คุณสามารถเก็บเพลงได้กว่า 500 เพลงกันเลยทีเดียว ที่สำคัญสามารถถอดเปลี่ยนการ์ดความจำได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง ข้อสังเกต จะว่าไปแล้วต้องยอมรับว่าเจ้า Motorola ROKR E2 เครื่องนี้มีความโดดเด่นอย่างมากในเรื่องเครื่องเล่นเพลงที่มีทั้งระบบการเล่นที่ทันสมัย พร้อมโหมดปรับตั้งมากมาย สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับหูฟังบลูทูธสเตอรีโอได้อย่างสบาย ช่วยให้การฟังเพลงผ่านหูฟังเป็นไปได้ง่าย และคล่องตัวโดยไม่ต้องพะวงว่าจะมีสายมาเกะกะพันกันเวลาใช้งาน แต่ที่ดูจะถูกใจผมจริงๆ ก็คือตัวยูเซอร์อินเตอร์เฟซ (UI) ที่ถูกพัฒนาให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นมากกว่ารุ่นก่อนๆ มาก การจัดเรียงเมนู หรือภาพไอคอนประกอบนั้นก็มีมิติสวยงามแบบกราฟิกดีมากแถมลูกเล่นสำหรับการตั้งค่า หรือเลือกใช้งานที่เกี่ยวกับเมนูหลักหรือหน้าจอแสดงผลนั้นค่อนข้างจะหวือหวาเอาการ อาจจะเป็นเพราะตัวระบบปฏิบัติการ Linux ที่นำมาใช้งานกับ E2 ตัวนี้ก็ได้ที่ทำให้ตัวเครื่องมีความน่าสนใจมากขึ้นและมีความเสถียรมากว่าเครื่อง Linux Base รุ่นก่อนๆ อยู่มากทีเดียว ส่วนเรื่องที่ดูจะเป็นจุด้อยของเจ้า E2 นั้นก็คงจะเป็นเรื่องของชุดแผงปุ่มกดที่ด้านหน้า และตัวปุ่ม Joy-Stick ที่ใช้ได้ไม่ถนัดมือเท่าใดนักอย่างชุดแผงปุ่มกดนี่เนื่องจากมีขนาดเล็กและจัดเรียงชิดกันมากจึงทำให้บางครั้งอาจกดพลาดได้ง่าย ส่วนตัว Joy-Stick นั้นค่อนข้างลื่นเนื่องจากตัวปุ่มชุบโครเมี่ยม น่าจะมีการเสริมยางกันลื่นบนตัวปุ่มน่าจะดีกว่า แถมที่สำคัญหากใช้ไปนานๆ แล้วสีโครเมี่ยมนี่หลุดลอกแน่นอนครับ นอกจากนี้ตัวเครื่องอาจจะมีอาการทำงานช้าบ้างหากเราเปิดเพลงขณะใช้งานเมนูอื่นๆ ด้วย สรุปผลการทดสอบ อย่างที่บอกก็คือเจ้า Motorola ROKR E2 มีความน่าสนใจอยู่ที่ความสามารถทางด้านมัลดิมีเดีย โดยเฉพาะกับเครื่องเล่นเพลงที่มีระบบ และรูปแบบการเล่นที่ล้ำสมัยมากๆ อีกทั้งรูปทรงและการออกแบบนั้นก็ถือว่าเข้าตากรรมการทีเดียวกับความสวยที่มาพร้อมกับความหรูหราไฮเทคเช่นนี้ ส่วนเรื่องของการใช้งานเครื่องต่างๆ นั้นถือว่าอยู่ในระดับคุ้มค่าทีเดียวกับเมนูที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น และฟังก์ชั่นเครื่องที่หลากหลายเช่นนี้โดยเฉพาะกับมีเดียฟังก์ชั่นที่มีมาให้ครบตามความต้องการของผู้ใช้จริงๆ แถมเรื่องของคุณภาพนั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีแฮงค์ไม่มีพังง่ายๆ แน่นอน เอื้อเฟื้อเครื่องทดสอบ : Hill&Knowlton ราคาประมาณ 11,900 บาท* *ราคาเครื่องอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกลไกตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

อัลบั้มภาพ 17 ภาพ

อัลบั้มภาพ 17 ภาพ ของ รีวิว Motorola ROKR E2

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook