Samsung LA46A850

Samsung LA46A850

Samsung LA46A850
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

‘Display your Life’

 
เมื่อ ก่อนนี้เหตุผลที่เรานึกจะเปลี่ยนทีวีสักเครื่องก็เพราะว่ามันเสีย หรือพังไม่คุ้มกับค่าซ่อม มันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่น่าสงสารเหมือนกันนะครับ เพราะเราไม่เคยนึกเหลียวแลมันเลย เอาแต่ใช้ๆๆ แต่การเปลี่ยนเครื่องรับโทรทัศน์สมัยนี้ คุณอาจจะไม่รอให้มันพังไปก่อน เพราะแค่เดินเล่นตามห้างฯ แล้วเหลือบไปเห็นมันตั้งโชว์อยู่ คุณอาจจะอดใจไม่ไหวก็เป็นได้ เดี๋ยวนี้ผมว่าการออกแบบทีวีจอแบนที่เอามาเปิดชมหนัง ชมละครนี่ มันสวยหมดจดทุกกระเบียดนิ้วทีเดียว แต่คุณอาจจะเถียงผมว่า ความสวยนี่มันเป็นเหมือนเครื่องสำอางที่ฉาบเอาไว้ให้เราหลงงงงวยหรือเปล่า เพราะอย่าลืมว่ามันคือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเน้นประโยชน์ใช้สอยของมันมา ก่อน

‘สวยอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีสมองด้วย’ คำนี้คุ้นๆ ว่าเข้ามาตรฐานของกองประกวดอะไรสักอย่างเลยนะครับ
 
เข้า เรื่องเลยดีกว่า Samsung LA46A850 แอลซีดีทีวีตัวที่ผมกำลังจะแนะนำนี่ แค่ตั้งเอาไว้เฉยๆ ก็พอที่จะสร้างความหรูหราให้กับห้องนั่งเล่นของคุณได้แล้ว เป็นแอลซีดีทีวีของซัมซุงในบริบทของแนวคิด ‘Crytal Design’ ที่ซัมซุงต่อยอดความคิดเรื่องการออกแบบไปสู่ยุค ‘Slim’ เน้นความบางของจอให้เห็นจริงๆ แต่ถ้าจะเล่นเรื่องการดีไซน์อย่างเดียวซัมซุงคงคิดว่ามันจิ๊บจ๊อยเกินไป ซัมซุงซีรีส์ 8 จึงเป็นทีวีตัวแรกที่เต็มไปด้วยสาระแห่งการค้นหา สาระแห่งการเปิดโลกทัศน์ใหม่ที่คุณอาจไม่คิดว่าจะมีอยู่ในแอลซีดีทีวี 46 นิ้วบางๆ เครื่องหนึ่งได้เร็วนัก
 
            
Smart and Slim
หลังจากที่ซัมซุงใช้ ‘Crystal Design’ เป็นตัวปูทางให้เห็นถึงความสวยงาม เอาหลักการสะท้อนแสงของผลึกคริสตัลมาเล่นกับกรอบของจอภาพ ได้มุมมองของความใสที่สวยแปลก มีสีเหลือบๆ เกิดขึ้นเหมือนพวกผลึกคริสตัลเป็นที่มาของชื่อเรียกที่โปรโมตกันมาตั้งแต่ รุ่นที่แล้ว ในซีรีส์ 8 ตัวใหม่นี่ ซัมซุงจึงต้องเพิ่มความน่าสนใจใหม่ให้กับตลาด จนมาถึงการใช้ความบางเพิ่มความน่าสนใจ ซีรีส์ 8 ตัวนี้จึงมีความหนาอยู่ไม่ถึง 4 เซ็นต์ครึ่ง ไม่ถึงกับถือว่าเป็นสถิติ แต่ก็บางพอที่จะเพิ่มภาพลักษณ์ความทันสมัยให้กับจอรุ่นไฮเอนด์ของผู้นำ เทคโนโลยีจากเกาหลีเจ้านี้

ไม่เพียงแต่ซัมซุงจะปรับ เปลี่ยนเรื่องรูปลักษณ์เท่านั้น การห้ำหั่นแชมป์ของแอลซีดีในระดับไฮเอนด์ ซัมซุงคงต้องการอะไรบางอย่างที่ทำให้ยี่ห้ออื่นกลายเป็นผู้ตาม เราจึงจะรู้จักกับคำว่า ‘Content Library’ จากจอตัวนี้เป็นครั้งแรก อธิบายคร่าวๆ คือนอกจากจอภาพที่ทุกวันนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางของความบันเทิงแล้ว ยังจะกลายเป็นต้นกำเนิดของความบันเทิงเสียเองด้วย คือซัมซุงตัวนี้บรรจุวัตถุดิบที่เป็นเรื่องราว หรือรูปภาพมาเสร็จสรรพ ให้คุณเลือกค้นได้ตามความต้องการในกรณีที่คุณเบื่อสาระอื่นที่เอาแต่ยัด เยียดโฆษณาทางหน้าจอ หรือบ่อยครั้ง ที่คุณไม่ต้องการนั่งหน้าจอ เพื่อดูอะไรต่อเนื่องกันนานๆ เป็นการปูทางไปสู่สาระข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้ลอยมาตามอากาศเหมือน เมื่อก่อน อันนี้คงไม่ใช่เรื่องที่เพ้อฝันกันอีกต่อไปแล้วล่ะครับ ซีรีส์ 8 ของซัมซุงเป็นแอลซีดีตัวแรกที่พาเราทะลุจุดนั้น โดยใช้ซีรีส์ 8 เป็นตัวปูทางเอาไว้แบบชัดเจนมากทีเดียว

ความสามารถการแสดงผลของซัมซุงรุ่น ใหม่นี้ มาจากพาเนลตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สังเกตจากตัวเลขไดนามิกคอนทราสต์เรโชที่เพิ่มขึ้นเป็น 70000:1 ขณะที่ความสว่างเท่ากับรุ่นที่แล้วคือ 500 cd/m2  (ค่าคอนทราสต์ที่สูงขึ้นจะมีประโยชน์ยิ่งขึ้นก็ต่อเมื่อความสว่างของจอสูง สุดเท่าเดิม หรือลดลง) โดยให้วงจร DNIe? Pro เป็นคนเอาไปใช้ประโยชน์ให้สูงสุดอีกที เป็นเหตุผลสำคัญของจอตัวนี้ จัดแจงกับสัญญาณที่เข้ามา แอลซีดีตัวนี้มีโหมดการสแกนภาพสูงสุดที่ 100Hz ดูความเหมาะสมแล้วคงเอามาจับคู่กับสัญญาณ PAL/50Hz ที่เป็นมาตรฐานใช้อยู่ในบ้านเรา แต่ก็ไม่ได้มีข้อห้ามอะไรถ้าจะใช้วงจรนี้ไปจับคู่กับสัญญาณความถี่อื่นๆ ดูจากตารางช่อง HDMI มันก็รองรับได้ทั้ง PC และ CE (Comsumer Electric) เดี๋ยวในส่วนของการใช้งานเราค่อยว่ากันต่อ 
 
ความ บางของมันทำให้คุณอยากเอามันไปแขวนผนังมากขึ้น ก็ต้องดูให้ดี เพราะการออกแบบขั้วต่อเชื่อมส่วนใหญ่ยังบังคับให้เสียบเข้าทางด้านหลังอยู่ แต่ก็ทำเป็นเบ้าลึกลงไปอีกเกือบ 2 ซ.ม. ขั้วต่อที่ใช้บ่อยๆ ทั้งภาพและเสียงก็กองอยู่ตรงนี้ จะมีเพิ่มขึ้นมาก็เป็นขั้ว RJ45 ที่เห็นใช้กันในระบบแลน  อย่าเพิ่งงง ถึงตอนนี้คุณรู้แล้วใช่ไหมครับว่าทำไมหลายครั้งที่มีคนเตือนว่าควรเดินระบบ เน็ตเวิร์กสำหรับภาพ และเสียงเตรียมไว้ เพราะมันได้ใช้แน่ๆ ทางด้านซ้ายใกล้ๆ กันกับกลุ่มของขั้วต่อต่างๆ ก็ยังมีที่เหลือให้คุณเชื่อมต่อกับด้านข้างทั้ง HDMI และ USB ที่ซัมซุงเรียกว่า ‘WISELINK Pro’ โปรฯ ขนาดไหน ก็ขนาดเล่นไฟล์วิดีโอ HD ในตระกูล H.264 และพวก .TS ในแบบ MPEG2 ได้ก็แล้วกัน เท่ไหมล่ะครับ เดี๋ยวนี้ USB Storage ขนาด 8 GB เหลือแค่ห้าร้อยกว่าบาท ไม่แน่นึกดูแล้วหลายคนที่เริ่มซนในอินเตอร์เน็ต หันมาเพ่งเล็งเจ้า WISELINK Pro กันมากกว่าขั้วต่อ HDMI เสียอีก

ความ เปลี่ยนแปลงทางด้านรูปร่างที่เห็นชัดๆ ก็จะเป็นฐานรองที่เปลี่ยนสไตล์เป็นสี่เหลี่ยมบางๆ แต่ก็มั่นคง สามารถปรับหมุนซ้าย-ขวาได้นิดหน่อย ทำตัวเป็นผลึกแก้วคริสตัลทั้งตัว มีเหลือบสีแดงเป็นเส้นตรงเมื่อกระทบแสง หน้าจอเมื่อไม่ได้ใช้งานดูดำสนิทดี แต่ก็ต้องระวังแสงที่สาดลงมาในด้านตรงข้ามกับมัน เพราะหน้าจอมีการสะท้อนแสงพอสมควรอาจจะเป็นเงาตกอยู่บนจอจะดูรำคาญสายตา ด้านหลังดูเรียบร้อยขึ้นเยอะ เพราะใช้พลาสติกเคลือบเงาหุ้มทั้งแผง มาถึงอุปกรณ์พ่วงที่ใช้งานร่วมกับจอตัวนี้คือรีโมตคอนโทรล หลายคนบอกว่าไม่ชอบรีโมตคอนโทรลตัวใหญ่ๆ ปุ่มเยอะ ดูมันไม่ค่อยเป็นมิตรเท่าไหร่ ซีรีส์ 8 ตัวนี้แก้ปัญหาโดยทำรีโมตมาให้คุณเลือกสองตัว ตัวหนึ่งเป็นรีโมตปกติที่มีฟังก์ชันครบทุกฟังก์ชัน หน้าตาดูจะใหญ่หน่อย แต่ก็เพิ่มความชัดเจนของปุ่มต่างๆ ในระดับ ‘ใหญ่สะใจ’ ตัวเรือนเป็นพลาสติกมันเงา ส่วนอีกตัวหนึ่งถ้าไม่บอกก็ไม่มีใครเดาถูกว่ามันคือรีโมตของแอลซีดีทีวี เหมือนกัน มันย่อขนาด และเปลี่ยนรูปร่างให้เล็กลงให้เหลือแค่ปุ่มบังคับทิศทาง และปุ่มปิด-เปิด เท่านั้น ซึ่งก็ใช้งานได้ครับ และใช้ได้สะดวกเสียด้วย มันจับถนัดมือดี ไอ้เรื่องสวยนี่ สวยกว่ารีโมตที่เป็นตัวเลข ตัวหนังสือแน่นอนอยู่แล้ว แต่การใช้งานต้องลองสัมผัสสักระยะก็จะทำความคุ้นเคยกันได้ ซัมซุงทำออกมาเพื่อให้ใช้ง่ายขึ้น และดูกลมกลืนขึ้น กู๊ดไอเดียครับ
 
The Center of Variety
ถือ ว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ให้กับแนวความคิดของการเป็นศูนย์รวมของคอนเทนต์ หรือเนื้อหาสาระต่างๆ ที่ทั้งในรูปแบบของความบันเทิงและไม่บันเทิง คือต้องหาเงินเข้ากระเป๋า เดี๋ยวนี้หลายคนก็นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อฉกเอาข้อมูลเด็ดๆ ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาเยอะแยะไป ดูแล้วชีวิตเราจะเลี่ยงจอภาพไปได้ยากเสียแล้ว ซัมซุงซีรีย์ 8 ถือเป็นครั้งแรกที่จับเอาคอนเทนต์บางประเภทใส่ลงมาในทีวีให้เลือกใช้งานกัน ที่บอกว่า ‘เลือกใช้งาน’ ก็เพราะมันไม่ใช่ข้อมูลที่เน้นไปทางบันเทิงซะทีเดียว อย่างพวก Art Gallery,Fitness แม้กระทั่ง ขั้นตอนการทำอาหารอย่างสลัดง่ายๆ ก็มีให้ดูเป็นแนวทาง หลายๆ ฟังก์ชันที่ประกอบขึ้นมาเป็นซีรีส์ 8 ของซัมซุงตัวนี้ เริ่มเน้นให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกับแหล่งคอนเทนต์อื่นมากขึ้น อย่างรับทราบข่าว และข้อมูลตรงจากอินเตอร์เน็ตผ่านทาง InfoLive (ยังอยู่ในขั้นตอนการแก้ไขเฟิร์มแวร์), การโอนไฟล์ทั้งภาพนิ่ง เพลง และภาพวิดีโอผ่านทาง WISELINK PRO, การหยิบคอนเทนต์ที่ใส่มาอยู่ในเครื่องนี้ผ่านทาง Content Library และการเชื่อมต่อผ่านเซิร์ฟเวอร์ด้วยโปรโตคอล DLNA (Digital Living Network Alliance) ซึ่งอีกหน่อยเราคงจะเห็นตัวย่อนี้ในอุปกรณ์ภาพ และเสียงอีกหลายตัว คุณสมบัติพวกนี้ถือว่าเป็นการนำทางสู่การใช้งานจอภาพให้คุ้มค่ามากขึ้นทั้ง นั้น เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องค่อยๆ อัพเดทกันเป็นระยะๆ ครับ บ้านเราก็ใช่ว่าจะบริโภคแต่สินค้าพื้นๆ มีหลายคนพร้อมที่จะอ้าแขนรับสินค้าไฮเทคอยู่เหมือนกัน
    
การเชื่อมต่อ และคุณภาพการใช้งาน
ผมลองใช้ภาพจากดีวีดีที่เราอ้างอิงป้อน เข้าไป ในสัญญาณภาพแบบปกติ 480i/60Hz เหมือนกับหลายๆ ครั้งที่เราทดสอบจอแบนทั้งหลาย ที่ผมชอบใจคือทีวีตัวนี้มีฟังก์ชันการปรับแกรมม่ามาให้ด้วย ถ้ายังจำกันได้ผมเคยพูดไว้ตอนทดสอบเครื่องเล่นบลู-เรย์ยี่ห้อหนึ่งว่า การนั่งดูหนังที่ถ่ายทอดมาจากแอลซีดีทีวี แล้วยังไม่รู้สึกถึงกลิ่นไอของแผ่นฟิล์ม แตกต่างจากการดูภาพจากพวกฟรอนต์โปรเจ็กเตอร์ ถ้าเราไม่นับเรื่องขนาดจอ ตรงน้ำหนักของภาพช่วงความสว่างน้อยๆ นี่แหละแอลซีดีทีวีมักสู้ไม่ได้ มันทำให้ภาพบนจอแบน จะเร่ง contrast ก็สว่างโพลน จะลด brightness ก็มืดลงไปทั้งภาพ รายละเอียดจมหายไปด้วย จะให้ความสว่างด้านล่างมืดลงอีกหน่อยโดยไม่แตะต้องส่วนของภาพที่สว่างๆ ก็ต้องอาศัยฟังก์ชันนี้เลยแกรมม่า ลองใช้งานดูนะครับเห็นผลมากกับคนที่ชอบดูหนังจากดีวีดี หรือบลู-เรย์เป็นหลัก

บวกกับมันมีโหมดค่าสีที่เรียกว่า ‘xvYCC’ ให้เลือกใช้เพิ่มการอ้างอิงในการตอบสนองเรื่องสีมากเลยออกไปกว่าที่เราเคย ใช้กันอยู่ แต่จะได้ผลก็ต้องใช้การเชื่อมต่อด้วยสาย HDMI ด้วยนะครับ อ้อ ข้อจำกัดของมันอีกเรื่องหนึ่งคือ สำหรับแอลซีดีทีวีตัวนี้หากคุณเปิดใช้ฟังก์ชันนี้ โหมดของการดูภาพซ้อนภาพ หรือ PIP (Picture in Picture) จะถูกปฏิเสธการใช้งาน อันนี้ผมอ้างอิงตามคู่มือของซัมซุง บอกเอาไว้เดี๋ยวไปเถียงกับคนขายแล้วจะแพ้เขา พลอยโดนข้อหาไม่อ่านคู่มือให้ละเอียดโดยไม่จำเป็น
            

ซัม ซุงทำแอลซีดีตัวนี้มาให้โดยเปิดกว้างให้ปรับแต่งค่าต่างๆ ได้อย่างอิสระ ทั้ง ‘White Balance’, ‘Colour Space’ พวกนี้มีผลต่อคุณภาพของสีสันทั้งสิ้น แต่ในการทดสอบผมเลือกใช้ ‘Picture mode’ เป็น ‘Standard’ และ Colour Tone อยู่ที่ Normal เป็นหลัก เหตุผลที่ไม่ใช้ Picture Mode เป็น Movie เวลาดูหนังก็เพราะว่าผมยังไม่พอใจ ‘สีขาว’ ในโหมดนี้ มันอมเขียวมากเกินไป ไม่ใช่เฉพาะกับจอตัวนี้นะครับ กับแอลซีดีตัวอื่นๆ ถ้าเป็นโหมดแบบนี้ภาพก็ออกมาอมเขียวๆ ซะส่วนใหญ่ คือถ้าจะจูนให้ได้ D65 ตามการอ้างอิงในโรงหนัง ก็ไม่ใช่ว่าจะอมเขียวซะขนาดนั้น ผมลองป้อนจากแหล่งโปรแกรมที่เป็นดีวีดีในฟอร์แมต 4:3 เหมือนกับที่ดูกับเคเบิลทีวี ในฟอร์แมตนี้ ซัมซุงให้ฟังก์ชันการยืดภาพออกไปที่เรียกว่า ‘Wide zoom’ โดยสามารถเลื่อนภาพให้ขึ้น-ลงได้อีก กรณีที่ต้องการอ่านซับไตเติลด้านล่าง ที่เห็นเป็นอุปสรรคต่อการจัดการสัญญาณที่มีรายละเอียดต่างๆ ก็ตรงฟังก์ชัน ‘Sharpness’ นี่แหละครับ กับดีวีดีนี่ มันต้องการใช้ฟังก์ชันนี้ให้ภาพดูคมขึ้นไม่เบลอๆ แต่กับสัญญาณระดับ FullHD ฟังก์ชันนี้แทบถูกมองข้ามไปเลย กลายเป็นเหมือนเร่งเอาไว้เกินพอดีต้องลดลงมาจนเกือบสุดขอบทางซ้าย ภาพจะได้ไม่ขึ้นขอบแข็งๆ
 

อีก คุณสมบัติหนึ่งที่นำมาใช้ในแง่ของการตลาดกันอย่างหน้าดำคร่ำเครียด เป็นเรื่องความถี่การสแกนที่เพิ่มขึ้นไป อย่างตัวนี้ซัมซุงเรียกว่าฟังก์ชัน ‘100Hz Motion Plus’ เพิ่มฟิลด์ของภาพที่ประมวลผลลงไปมากขึ้น การเคลื่อนไหวของภาพ ทุกเฟรมก็จะดูมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น แปลกก็ตรงของซัมซุงเปิดโอกาสให้เลือกความต้องการน้อย-มาก ได้ด้วย ‘Low/Medium/High’ เคยเห็นแต่เลือก ใช้กับไม่ใช้ เท่านั้น แต่ความแตกต่างที่เกิดขึ้นจะดูดีกับสัญญาณต้นฉบับที่มาจากความถี่ที่ 50Hz (เพราะรุ่นที่ขายในโซนอเมริกาจะปรับเป็น 120Hz ให้พอดีกับ NTSC/60Hz) ใครที่เน้นภาพที่ต้องชัดเป็นหลัก 100Hz ของซัมซุงดูจะตอบสนองตรงนั้นได้ แต่ลองสังเกตดูเรื่องการเคลื่อนไหว ถ้าเลือกเป็น ‘High’ อาจจะรู้สึกเหมือนกับกำลังนั่งดูภาพยนตร์ที่ถ่ายด้วยกล้องวิดีโอเหมือนๆ กันไปหมด แต่ทีเด็ดของโมชั่นการตอบสนองการเคลื่อนไหวอยู่ตรง 24Hz นี่เองครับ ผมฟันธงทันที Samsung LA46A850 ตัวนี้แสดงผลกับโหมด 24Hz ได้ดีที่สุดเท่าที่เคยดูมา โดยเฉพาะกับแอลซีดีทีวีที่ผ่านตาไป ซึ่งส่วนใหญ่เน้นใช้กับภาพยนตร์ที่บันทึกมาจากแผ่นบลู-เรย์โดยเฉพาะ จากหนังเรื่อง Charile and the Chocolate Factory ของ Tim Burton ในตอนแรกๆ ของฉากในบ้านหลังน้อยของชาลี ซัมซุงแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการของการแสดงผลสีดำของแอลซีดีทีวี ที่สามารถให้รายละเอียดภายใต้เงาของวัตถุออกมาได้ ลวดลายของเสื้อผ้าที่เป็นสีเอิร์ธโทนก็โดดเด่น และส่วนที่มีไฮไลต์ของแสงดูมีพลัง ซึ่งเป็นจุดเด่นของแอลซีดีอยู่แล้ว แต่ขอโทษจอตัวนี้ไม่ได้เน้นความสว่างแบบบู่มบ่าม มันสามารถลดให้พอดีเพื่อยังคงรายละเอียดต่างๆ เอาไว้ได้
 
สีสันแอลซีดีที่ซัมซุงซีรี ส์ 8 ตัวนี้ให้ก็สะอาดและเข้มข้น กระตุ้นให้รู้สึกได้ ตัวอย่างจากฉากที่ผู้ชนะบัตรทองที่ถูกต้อนรับโดยคณะหุ่นตัวจิ๋ว สีสันเครื่องแต่งกายที่สุดจะเว่อร์ ทั้งยังมีเครื่องเล่นสีสดพอกันที่หมุนอยู่รอบๆ รู้สึกถึงจินตนาการความสวยงามของฉากนี้ในโรงหนังได้เลย สีผิวพรรณของเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ติดสอยห้อยตามกันไป ในฉากที่ยืนอยู่กลางแจ้งก็เป็นธรรมชาติ แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากฟังก์ชัน ‘Flesh Tone’ ลดค่าลงมานิดหน่อย

สุดท้ายลองกันใน ฟอร์แมตที่มีรายละเอียดสูงสุด อย่างที่มันชอบ ‘Iron Man’  ในเวอร์ชั่นบลู-เรย์ดิสก์ 1080p/24Hz ผมพบว่าซีรีส์ 8 ตัวนี้ให้รายละเอียดต่างๆ ผุดผ่องขึ้นมาอีกเป็นกอง พลังของแสงเทียบกับ ฟอร์แมตดีวีดีแล้วคนละชั้น การแสดงผลพิกเซลต่อพิกเซลจากแหล่งโปรแกรมที่ถูกคู่ ถูกตัวนั้นยังไงก็ดึงเอาความสุดยอดของโฮมเธียเตอร์ออกมาได้สบายอยู่แล้ว รู้สึกว่าซัมซุงตัวนี้ชอบโชว์ ในระดับแสงแวด ล้อมที่เรียกว่า ‘ไฮคอนทราสต์’ อย่างที่ออฟฟิศเรานี่ ถึงมีแสงส่องมาจากด้านหลัง ก็ไม่เกี่ยง วงจรไดนามิกคอนทราสต์ที่เรียนรู้แสงแวดล้อมก็ทำงานรวดเร็วแบบพึ่งพาได้ ยังให้ภาพที่คมชัดอยู่ แอลซีดีบางตัวพอเร่งคอนทราสต์แข่งกับแสงแวดล้อมมากๆ เริ่มเป๋ไม่สนใจเรื่องรายละเอียดบนภาพเหมือนกัน
 
สรุป
สงครามแอล ซีดีทีวีในระดับพรีเมี่ยมเริ่มดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ความสวยงามกับราคามักมาคู่กัน ก่อนหน้านี้จุดชี้เป็นชี้ตายของการเลือกแอลซีดีทีวีสักเครื่องคงไม่ใช่ ฟังก์ชันต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นมา แต่โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีแอลซีดีเรียกได้ว่า ซัมซุงซีรีส์ 8 ได้เข้ามาถึงจุดสูงสุดที่จะให้ภาพที่ดีที่สุดแล้วก็ว่าได้ ดังนั้นเมื่อใครใกล้ถึงทางตันก่อน ก็หยิบแอพพลิเคชั่นการใช้ประโยชน์ที่ตรงใจ ก็เหมือน ‘เกาถูกที่คัน’ จึงต้องเริ่มมองฟังก์ชันที่ให้อรรถประโยชน์กันดีๆ ครับ ได้หยิบมันมาใช้งานอย่างคุ้มค่า ตอนนี้คุณเข้าใจแล้วหรือยังว่า บางคนทำไมเขาบอกว่า ‘จอภาพเป็นศูนย์กลางของบ้านที่ขาดไม่ได้’ ผมว่าเห็นจะจริงแฮะ   
 
นำเข้าและจัดจำหน่ายโดย:
บริษัท ไทยซัมซุง อีเล็คทรอนิค จำกัด
โทร.0-2695-9000
ราคา : 149,990 บาท


คุณสมบัติทางเทคนิค
Brand SAMSUNG
Type LCD TV
Model LA46A850
Native Resolution 1920 x 1080 Pixels
Contrast Ratio  70,000 : 1
Brightness  500 cd/m2
Compatible Signal
480i, 480p, 576i, 576p, 720p 60Hz/50Hz, 1080i 60Hz/50Hz, 1080p 60Hz/50Hz, 1080p 24Hz @ HDMI Input (Component Video : 480i, 480p, 576i, 576p, 720p 60Hz/50Hz, 1080i 60Hz/50Hz)
HDMI (v. 1.3) Input  4
Component Video Input  2
D-sub 15 pin Input  1
S-Video Input  1
USB Port  1 (WISELINK PRO)
Composite Video Input  2
Headphone   1
Other  RJ45
Dimension (W x H x D) mm  1,037 x 796 x 79.5

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook