รอยต่อ กทช อนาคต 3G ผลประโยชน์ผู้บริโภค-จุดเปลี่ยนเอกชน

รอยต่อ กทช อนาคต 3G ผลประโยชน์ผู้บริโภค-จุดเปลี่ยนเอกชน

รอยต่อ  กทช  อนาคต  3G ผลประโยชน์ผู้บริโภค-จุดเปลี่ยนเอกชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ร้อน ฉ่าตามคาดกับเวทีประชาพิจารณ์เกี่ยวกับร่างสรุปข้อสนเทศ การจัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรศัพท์มือถือ ยุคที่ 3 หรือ 3G ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2552 ที่ผ่านมา หนนี้ตัวแทนภาคประชาชนมาร่วมแสดงความเห็นอุ่นหนาฝาคั่ง ขณะที่ฟากเอกชนค่ายมือถือไม่น้อยหน้า "ซีอีโอ" นำทีมมาด้วยตนเองครบทั้ง "เอไอเอส-ดีแทค-ทรู"




โดยรอบนี้เพิ่มเติมประเด็นใหม่ ๆ เช่น การกำหนดมูลค่าขั้นต้น (reserve price) และราคาเริ่มต้นการประมูล (starting price) เงื่อนไขการประมูลที่เกี่ยวกับการโอนลูกค้าจาก 2G ไปยัง 3G การกำหนดให้ใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน การกำหนดเงื่อนไขสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัมปทาน การกำหนดอัตราค่าบริการ และความเหมาะสมในการเปรียบเทียบมูลค่าการประมูลใบอนุญาตความถี่กับรายได้จาก สัมปทาน เป็นต้น

สบท.เสนอประมูลไลเซนส์ 2 ใบ

"ผู้ แทน" สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) แสดงความ คิดเห็นว่าควรกำหนดมาตรการรองรับที่คาดว่าจะเกิดกับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัตราค่าบริการ ความเป็นส่วนตัว ทั้งพิจารณาแนวทางให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการจัดสรรคลื่นความถี่ เช่น การทำให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น มีผู้ให้บริการรายใหม่ ไม่ใช่เพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยควรกำหนดโควตาสำหรับรายใหม่เพื่อเพิ่มการแข่งขัน และกำหนดการขยาย เครือข่ายให้ได้ 100% ภายใน 3 ปี พร้อมกำหนดหลักเกณฑ์การใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกันของผู้ประกอบการทุกราย

" สัดส่วนที่จะให้ MVNO เช่าใช้โครงข่ายควรไม่น้อยกว่า 30% เรื่องการชำระค่าธรรมเนียมการประมูล ควรชำระล่วงหน้าทั้งหมด แต่ถ้าสูงเกินไป อาจชำระล่วงหน้า 50% ที่เหลือแบ่งจ่าย และควรขยายเวลาการยื่นแบบคำขอเป็น 90 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้รายใหม่เตรียมตัวเข้าประมูลได้"

สบท.ยังเสนอการ กำหนดราคาประมูลความถี่ด้วยว่า ใบอนุญาตมีอายุ 10 ปี แถบความถี่ 10MHz ควรมีราคา 33,856 ล้านบาท 15MHz อยู่ที่ 38,272 ล้านบาท ถ้า ใบอนุญาต 15 ปี 10MHz ที่ 44,676 ล้านบาท 15MHz ที่ 55,004 ล้านบาท

และเสนออีก ว่า ถ้ามีผู้เข้าประมูลน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาต ควรยกเลิกการประมูล แล้วลดการให้ใบอนุญาตเหลือ 2 ใบ ทั้งควรกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น อัตราค่า

บริการด้านเสียงไม่ควรเกินนาทีละ 1 บาท ส่วนบริการด้านข้อมูลควรคิดอัตราเหมาจ่ายตามระยะเวลา ไม่ใช่ปริมาณข้อมูล

สอด คล้องกับ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ที่แสดงความเห็นว่า กทช.ควรออกใบอนุญาต 2 ใบก่อน เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการเข้าประมูล และเห็นว่าบริการ 3G ให้บริการได้หลากหลายมาก ทั้งด้านการสื่อสารและวิทยุโทรทัศน์ ดังนั้นจึงควรกดดันรัฐบาลและรัฐสภาให้ผลักดัน กม.จัดตั้ง กสทช.โดยเร็ว

ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า สถานการณ์ในประเทศไทยต่างจากประเทศอื่นเพราะประเทศอื่นไม่มีระบบสัมปทาน ดังนั้นการศึกษาของเนร่าจึงเปรียบได้กับการมองเห็น "ช้างตัวใหญ่"เป็น "แมว" ทำให้การพิจารณาเรื่องการโอนย้ายลูกค้าจาก 2G ไป 3G ละเลยแรงจูงใจของ ผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนจากสัมปทานเป็นใบอนุญาต

" การรับฟังความเห็นของ กทช.ยังไม่ได้มองโครงสร้างตลาดในอนาคต ทั้งที่ 3G กระทบทั้งรายใหม่ รายเดิม และมีโอกาสเปลี่ยนโครงสร้างตลาด ปัญหาคือโครงสร้างตลาดที่ กทช.อยากเห็นคืออะไร ์ไม่มีประเทศไหนที่มี 3G มากกว่า 2G แต่เรากำลังจะมี 5 ราย การไม่มีภาพใหญ่ แต่ถามภาพเล็กจะเกิดความเห็นที่แตกต่าง จะได้แต่คนมีผลประโยชน์ขัดกัน"

ดร. สมเกียรติกล่าวด้วยว่า การใช้ 3G ยังจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากญี่ปุ่นและเกาหลี ไม่มีประเทศไหนมีสัดส่วนคนใช้ 3G เกิน 25% ทั้งปริมาณการดาวน์โหลดข้อมูลก็ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก หมายความว่า 3G ไม่ใช่การใช้เดต้า แต่คือการโอนย้ายลูกค้า การให้ใบอนุญาตต้องคำนึงถึงด้วย เพราะมีผลต่อการออกแบบการประมูลและการกำหนดเงื่อนไขการขยายเครือข่าย

" การมีใบอนุญาต 4 ใบ เยอะเกินไป ขณะที่ราคาตั้งต้นยังค่อนข้างต่ำมาก ตนอยากให้กทช.ทำแผนรองรับกรณีมีผู้เข้าประมูลน้อยราย และการตีราคาคลื่นต้องไม่ลืมเอามูลค่าคลื่นที่เอกชนได้ประโยชน์จากการโอน ย้ายสัมปทานมาพิจารณาด้วย ควรจัดรับฟังความเห็นอีกครั้ง และไม่ควรเปิดเผยมูลค่าขั้นต้นในการประมูล"

ว่าที่ กทช.หนุน 3G

รศ. นรีวรรณ จินตกานนท์ เก่งเรียนผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการ กทช. (กรณีจับสลากออก) กล่าวว่า ในฐานะนักวิชาการมองว่า 3G มีความจำเป็น เพราะเป็นเรื่องของการสืบค้นข้อมูล แต่ความจำเป็นของ 3G จะได้ประโยชน์ก็ต่อเมื่อประชาชนทราบว่าคืออะไร ใช้ประโยชน์ได้อย่างไรจึงควรให้ความรู้ประชาชน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้

"23 พ.ย.นี้จะได้ กทช.ชุดใหม่เข้ามาหรือไม่ไม่ทราบ แต่คนใหม่เข้ามา โดยหลักแล้วเขาต้องรู้เรื่อง 3G อยู่แล้ว คนมาเป็นผู้บริหารระดับนี้ ใช้เวลาศึกษาไม่นาน"

เอกชนแจง "โอนลูกค้า" ต้องสมัครใจ

ด้าน นายสมประสงค์ บุญยะชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ไทยเสียเวลาและโอกาสไปมากจากความล่าช้าในการออกใบอนุญาต 3G จนปัจจุบันมีกว่า 100 ประเทศทั่วโลกใช้รวมทั้งลาวและกัมพูชา ขณะที่ผู้ผลิตอุปกรณ์มีแนวโน้มเลิกผลิตอุปกรณ� 2G ไปสู่ 3G หากไทยยึดติดกับการใช้ 2G อาจมีปัญหาในการหาอะไหล่ ที่ผ่านมา กทช.ได้ใช้ความรอบคอบในการดำเนินการ ไม่ได้รีบเร่งประมูล ซึ่งอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีผลต่อการพัฒนาประเทศ จึงไม่อยากให้ไทยเป็นประเทศสุดท้ายที่ได้ใช้

"หากมีการออกใบอนุญาต 3G จะทำให้รัฐได้ประโยชน์จากการประมูล ทั้งรายได้จากการประมูล การจ้างงาน และการใช้วัสดุในการสร้างเครือข่ายในมูลค่าพอกับการนำเข้า และนำไปสู่การเสียภาษี ทั้ง 3G ยังเป็นพื้นฐานในการผลักดันเศรษฐกิจ"

ส่วน การโอนย้ายฐานลูกค้า ไม่มีอยู่จริง เพราะลูกค้าไม่ใช่ตึกแถว หรือรถกระบะที่โอนย้ายกันได้ ลูกค้ามีวิจารณญาณในการตัดสินใจว่าจะเลือกใช้บริการของรายใด และเลือกในสิ่งที่ตนได้ประโยชน์สูงสุด สำหรับการแปรสัญญาสัมปทาน ตนขอให้แยกจากการออกใบอนุญาต 3G เพราะเป็นสัญญาที่มีมาแต่เดิม เชื่อว่าเป็นเรื่องที่หาทางออกไม่ได้ เพราะพูดมานับ 10 ปีแล้ว

นาย วิเชียร เมฆตระการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า การโอนลูกค้าไม่ได้ที่จะเกิดชั่วข้ามคืน เพราะโครงข่าย 3G มีขนาดเล็กกว่า 2G เดิม หากต้องใช้ร่วมกับโครงข่ายเดิมยังไม่ทราบว่าทีโอทีหรือ กสทฯจะยอมให้ใช้ร่วมหรือไม่ แต่ในมุมเอกชนต้องเตรียมสำหรับอนาคต เมื่อสัมปทานสิ้นสุดในปี 2558 หากไม่มีใบอนุญาตใหม่รองรับจะเกิดสภาพที่วุ่นวาย เพราะลูกค้าอยู่กับเอกชน โครงข่ายอยู่ที่เจ้าของสัมปทาน ความถี่อยู่ที่ กทช.

นายธนา เธียรอัฉริยะ รองประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเกชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า กทช.ควรประกาศเป็นทางการว่าจะเดินหน้าออกใบอนุญาต 3G เพราะไม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรต้องโดนวิพากษ์วิจารณ์อยู่แล้ว เช่น การกำหนดราคาตั้งต้น หากตั้งราคาสูง ผู้เข้าประมูลมีน้อย กทช.ก็ล้มประมูลได้ หรือราคาต่ำไป ก็กำหนดหลักเกณฑ์อื่น เพื่อเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม เช่น ค่าเลขหมาย หรือ USO ส่วนการโอนย้ายลูกค้าควรกำหนดมาตรการให้ชัดเจนว่าห้ามไม่ให้มีการบังคับโอน แต่ให้เป็นไปตามความสมัครใจ ถ้ามีใบอนุญาต 3G เชื่อว่าผู้ให้บริการจะลดราคาบริการเสียงลงอีก 20-30% เพื่อดึงดูดใจลูกค้า

ทรูเสนอแบ่งแบนด์วิดท์เท่ากันทุกใบ

นายอธึก อัศวนันท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายกฎหมาย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า กทช.ต้องใส่ใจดูแลการ เข้ามาครอบงำกิจการโทรคมนาคมโดยรัฐวิสาหกิจสิงคโปร์และนอร์เวย์ เพราะเป็นเรื่องของความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ ทรูไม่ได้ต่อต้านทุนต่างชาติ แต่ต้องการให้เข้ามาประกอบกิจการอย่างเปิดเผยจึงเสนอว่า ให้ผู้ถือหุ้นต่างชาติของเอไอเอสและดีแทคถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่าจำนวน หุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่คนไทย ส่วนหุ้นที่ถือเกินกว่านั้นให้นำไปลงทุนในกองทุนรวม เพื่อผู้ลงทุนต่างด้าวจะทำให้ได้เงินปันผลตรงไปตรงมา แต่ไม่มีอำนาจในการออกเสียงในบริษัท

"ตนขอเสนอให้ กทช.กำหนดเงื่อนไขการติดตั้งโครงข่ายให้ได้ 90% ของจำนวนประชากรภายใน 2 ปี แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขบังคับให้มีการใช้โครงข่ายร่วมกัน โดยบังคับเฉพาะผู้มีอำนาจเหนือตลาดในปัจจุบัน และเปิดให้เข้าร่วมใช้โครงข่ายใน 6 เดือน นับจากวันรับใบอนุญาต นอกจากนี้ยังเห็นว่า กทช.ควรแบ่งแบนด์วิดท์ ใบอนุญาตให้เท่ากันหมด เช่น 15 MHz 3 ใบ หรือ 10 MHz 4 ใบ"

ลุ้นประกาศ IM ธ.ค.นี้

นาย เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการ กทช.กล่าวว่า กทช.จะเปิดรับความคิดเห็นทางเอกสาร จนถึง 25 พ.ย. 2552 จากนั้นจะประชุมเพื่อประมวลสรุปประเด็นต่าง ๆ อีกครั้ง และพยายามที่จะประกาศ IM ฉบับสมบูรณ์ในราชกิจจานุเบกษาให้ทันภายในเดือน ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ต้องรอคำตอบข้อซักถามจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ กทช.ถามไปก่อนด้วย

นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กทช.กล่าวว่า สำนักงาน กทช.ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2552 ใน 3 ประเด็นหลัก ๆ คือ 1.กทช.มีอำนาจออกใบอนุญาตใหม่ภายใต�บท บัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้หรือไม่ 2.องค์ประกอบของกรรมการ กทช.ในขณะนี้ ซึ่งลาออก 1 ราย จับสลากออก 3 ราย แต่อยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีการแต่งตั้ง กทช.ชุดใหม่มาแทน จะสามารถออกใบอนุญาต 3G ได้หรือไม่ และ 3.การออกใบอนุญาต 3G ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯด้วยหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook