ศึกสองด้าน "วินโดวส์ โมบาย" ปะทะ "แบล็คเบอร์รี่-แอนดรอยด์"

ศึกสองด้าน "วินโดวส์ โมบาย" ปะทะ "แบล็คเบอร์รี่-แอนดรอยด์"

ศึกสองด้าน "วินโดวส์ โมบาย" ปะทะ "แบล็คเบอร์รี่-แอนดรอยด์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่าบนโลกคอมพิวเตอร์ไมโครซอฟท์จะครองส่วนแบ่งกว่า 90% ของระบบปฏิบัติการ พีซีทั่วโลก แต่สำหรับโลกสมาร์ตโฟนแล้วนั้นกลับเป็นเรื่องตรงกันข้าม บริษัทวิจัยการ์ดเนอร์เปิดเผยรายงานล่าสุดถึงสถานการณ์ตลาดสมาร์ตโฟนช่วงไตร มาส 3 ปี 2009 ว่า ระบบปฏิบัติการ บนมือถือของยักษ์ไมโครซอฟท์นั้นมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 7.9% จากตลาดสมาร์ตโฟนทั่วโลก ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งเคยมีส่วนแบ่งถึง 11% อยู่ในอันดับที่ 4 ของตลาดโลก หรือมีอัตราการเติบโตลดลง 20% สวนทางกับตลาดรวมสมาร์ตโฟนที่มีการเติบโตในช่วงไตรมาสนี้ถึง 13% ขณะที่ระบบปฏิบัติการมือถือเบอร์ 1 ของโลกอย่าง "ระบบซิมเบี้ยน" มีส่วนแบ่งการตลาดลดลงจาก 49.7% เหลือเพียง 44.6% ตามมาด้วย "รีเสิร์ชอินโมชั่น" ผู้ผลิตมือถือแบล็คเบอร์รี่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นจาก 16% เป็น 20.8% เช่นเดียวกับไอโฟนที่มีส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจาก 12.9% เป็น 17.1% ส่วนระบบอื่น ๆ อาทิ ระบบปฏิบัติการ Palm มีส่วนแบ่ง 1.1% และระบบปฏิบัติการลีนุกซ์บนมือถืออื่น ๆ มีส่วนแบ่งประมาณ 4.7% ส่วนระบบปฏิบัติการ "แอนดรอยด์" จากค่ายกูเกิลแม้ว่าปีที่ผ่านมายังไม่มีส่วนแบ่งการตลาดเพราะเพิ่งเปิดตัว เมื่อกลางปีที่ผ่านมานั้น แต่ไตรมาส 3 ปีนี้สามารถสร้างส่วนแบ่งการตลาดเป็น 3.9% ของตลาดสมาร์ตโฟนทั้งหมด "โรเบิร์ตต้า คอซซ่า" นักวิเคราะห์จากการ์ดเนอร์กล่าวกับเว็บ ZDNet UK ว่า ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โมบาย ของไมโครซอฟท์ในตลาดสมาร์ตโฟนนั้นยังคงถูกท้าทายด้วยระบบปฏิบัติการแพ ลตฟอร์มอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง

"ด้านหนึ่งตลาดสมาร์ตโฟนกำลังมุ่งไปสู่โอเพ่นซอร์ซ (ระบบปฏิบัติการแบบเปิด) เราคาดว่าภายในปี 2012 สัดส่วนประมาณ 62% ของตลาดสมาร์ตโฟนทั้งหมดจะถูกครอบครองด้วยระบบปฏิบัติการแบบเปิด ไม่ว่าจะเป็นซิมเบี้ยน แอนดรอยด์ และระบบลีนุกซ์ แต่อีกด้านหนึ่งตลาดสมาร์ตโฟนจะมีความใกล้ชิดกับค่ายแอปเปิลและค่ายรีเสิร์ ชอินโมชั่นมากขึ้น ขณะที่วินโดวส์ โมบาย จะกลายเป็นระบบที่อยู่ตรงกลางของตลาด ดังนั้นไมโครซอฟท์จะต้องคิดมากขึ้นว่า จะเดินหน้าอย่างไรต่อไป" คอซซ่าแนะนำว่า ระบบปฏิบัติการแบบเปิดที่เริ่มแข็งแรงมากขึ้นในตลาดนั้นมีจุดเด่นอยู่ที่การ เปิดให้บริการฟรี ซึ่งจะทำให้ไมโครซอฟท์ต้องทำงานยากมากขึ้น เพื่อเจาะกลุ่มบริษัทผู้ผลิตสมาร์ตโฟนให้มีความต้องการมาเสียค่าธรรมเนียมไล เซนส์ แม้ว่าเร็ว ๆ นี้ไมโครซอฟท์จะเปิดตัว วินโดวส์ โมบาย 6.5 แต่ถือว่าไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะการใช้งาน บนหน้าจออินเตอร์เฟสนั้นยังคงถูกจำกัด ด้วยไอคอนขนาดเล็กที่ต้องใช้คู่กับปากกา สไตลัสแทนการใช้นิ้วมือในการสร้างปฏิสัมพันธ์มากกว่า "วินโดวส์ โมบาย ยังคงไปได้ดีสำหรับการใช้งานของตลาดองค์กร แต่ทั้งนี้ตลาดสมาร์ตโฟนกว่า 80% อยู่ในกลุ่มของคอนซูเมอร์"

คอซซ่ากล่าว นักวิเคราะห์ยังกล่าวด้วยว่า ไมโครซอฟท์ อาจต้องเผชิญกับการแข่งขันที่มากขึ้นและต้องมุ่งเข้าถึงคอนซูเมอร์มากขึ้น ภายในปี 2010 โดยเฉพาะเมื่อไมโครซอฟท์เปิดตัววินโดวส์ โมบาย 7 แต่ทั้งนี้ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่จำเป็นที่ต้องมีบางอย่าง"โดนใจ" คอนซูเมอร์อย่างมาก เพื่อที่จะเรียกส่วนแบ่งการตลาดของไมโครซอฟท์ที่กำลังลดลงกลับคืน เพราะปัจจุบันทั้งเอชทีซี ซัมซุง โซนี่ อีริคสัน ซึ่งมีไลเซนส์วินโดวส์ โมบาย จากไมโครซอฟท์ ปัจจุบันต่างพัฒนามือถือที่รองรับระบบแอนดรอยด์เช่นกัน รวมทั้งก่อนหน้านี้ทั้งค่าย Palm และโมโตโรล่าต่างยกเลิกเป็นพันธมิตรกับวินโดวส์ โมบาย "คาร์โลลิน่า มิเลนเนสซี่" นักวิเคราะห์จากการ์ดเนอร์ได้สอบถามทางอีเมล์ ไปยังไมโครซอฟท์ว่า ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โมบาย 6.5 ที่ไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดตัวล่าสุดจะสามารถเข้ามาช่วยกระตุ้น ยอดขายในไตรมาส 4 ได้หรือไม่นั้น ทางไมโครซอฟท์ตอบว่า "ไม่เสมอไป เพราะจากสภาพตลาดคุณอาจจะได้เห็นการลดลงอย่างต่อเนื่องก็ได้" การ์ดเนอร์ยังคาดการณ์ด้วยว่า ภายใน ปี 2012 ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จะครองส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 18% ของตลาดสมาร์ตโฟนทั้งหมด ด้วยยอดขายกว่า 94 ล้านเครื่อง

พร้อมกับครองตำแหน่งผู้นำระบบปฏิบัติการมือถือเบอร์ 2 ของโลกสมาร์ตโฟนต่อจากซิมเบี้ยน ขณะที่เบอร์ 3 คือ มือถือตระกูลแบล็คเบอร์รี่ ตามมาด้วยไอโฟนและวินโดวส์ โมบาย ตามลำดับ โดยสัญญาณการเติบโตของแอนดรอยด์จะเริ่มปรากฏชัดตั้งแต่ไตรมาส 4 นี้และต่อเนื่องไปถึงปี 2010 เพราะปัจจุบันผู้ผลิตมือถือหลายรายเตรียมเสนอมือถือแอนดรอยด์เข้าสู่ตลาดอีก จำนวนมาก และนอกจากแอนดรอยด์แล้ว วินโดวส์ โมบาย ยังต้องต่อกรกับไอโฟนที่กำลังร้อนแรงด้วยจุดขายอย่างแอพสโตร์ "รอส รูบิน" นักวิเคราะห์กลุ่มเทคโนโลยีคอนซูเมอร์จากบริษัทวิจัย เอ็นพีดี กรุ๊ป กล่าวว่า การพัฒนาของแอปพลิเคชั่นบนไอโฟนโฟกัสที่ความต้องการของคอนซูเมอร์เป็นหลัก เช่น เครือข่ายสังคมและเกม รวมถึงการปรากฏของร้านค้าปลีกต่าง ๆ ทำให้แอปเปิลมีความได้เปรียบทางตลาดและถือว่าเป็นสิ่งที่กำลังท้าทาย ไมโครซอฟท์อย่างหนึ่ง คล้ายกับ "ปีเตอร์ ฮอดดี้" ซีอีโอบริษัท คิโนม่า ผู้พัฒนาบราวเซอร์สำหรับมือถือบนระบบวินโดวส์ โมบาย และแพลตฟอร์ม อื่น ๆ กล่าวอย่างน่าสนใจว่า ปัญหาของวินโดวส์ โมบาย ไม่ได้อยู่ที่ระบบปฏิบัติการ แต่จุดอ่อนอยู่ที่การบันเดิลแอปพลิเคชั่น "ส่วนที่น่าเสียดายของไมโครซอฟท์ ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่ดีและมีมานาน แต่จุดหลัก คือ การ built-in แอปพลิเคชั่น ที่ไม่ค่อยน่าประทับใจนัก ดังนั้น จึงมีนักพัฒนาให้ความสนใจกับแพลตฟอร์มนี้ค่อนข้างน้อยทีเดียว"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook