"แอมะซอน"เล็งทำ "Kindle Touch"?

"แอมะซอน"เล็งทำ "Kindle Touch"?

"แอมะซอน"เล็งทำ "Kindle Touch"?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในขณะที่"เครื่องอ่านอีบุ๊ก" (eReader) ของหลายๆ เจ้า ตลอดจนแท็บเล็ต ต่างก็มีคุณสมบัติการทำงานที่เหนือกว่า คินเดิ้ล (Kindle) ของแอมะซอน (Amazon) ทั้งสิ้น ยิ่งหากเทียบกับไอแพด (iPad) ของแอปเปิล (Apple) ก็คนละเรื่องเลย ล่าสุดแอมะซอนตัดสินใจซื้อ ทัชโค (TouchCo) บริษัทเจ้าของเทคโนโลยีหน้าจอสัมผัสแล้ว

ทั้งสองบริษัทได้บรรลุตกลงระหว่างกันเป็นที่เรียบ ร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการจากทั้งแอมะซอน หรือทัชโค ซึ่งผลจากการเข้าซื้อบริษัทนี้จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของแอมะซอนอย่างคินเดิ้ลไม่ ได้ด้อยไปกว่าอีรีดเดอร์ของเจ้าอื่นๆ อีกต่อไป เนื่องจากเทคโนโลยีของทัชโคจะทำให้คินเดิ้ลรุ่นใหม่มีคุณสมบัติการทำงานแบบ มัลติทัช (ด้วยต้นทุนที่ต่ำมาก) ได้ในที่สุด

อย่าง ไรก็ดี เทคโนโลยีของทัชโคไม่ใช่ capacitive touch-screen แบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในไอโฟน (iPhone) หรือไอแพด แต่จะใช้วิธีที่เรียกว่า Interpolating Force-Sensitive Resistance (I.F.S.R.) ซึ่งแทนที่จะต้องการการสัมผัสจากผิวหนังแบบไอโฟน เทคโนโลยีของทัชโคจะใช้ตัวต้านทานไฟฟ้า (resistors) ในการตรวจจับระดับแรงกดที่แตกต่างกัน (เพื่อระบุตำแหน่งที่ถูกกด และระดับการโต้ตอบตามแรงกดหนัก หรือกดเบา) ประเด็นสำคัญก็คือ เทคโนโลยีของทัชโคมีราคาที่ถูกกว่า capacitive touch-screen มาก โดยต้นทุนจะอยู่ที่ไม่ถึง 10 เหรียญฯ (ประมาณ 340 บาท) ต่อตารางฟุต

ข้อมูล เพิ่มเติมเกียวกับเทคโนโลยี I.F.S.R. ที่ได้มีรายงานไปก่อนหน้านี้ก็คือ การตรวจจับแรงกดด้วยตัวต้านทานจะตอบสนองแรงกดที่ระดับต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถสแกน และตรวจจับตำแหน่งอินพุทที่แตกต่างกันได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย นอกจากนี้ มันยังเป็นเทคโนโลยีทีใช้พลังงานต่ำกว่า และสามารถตอบสนองอินพุทของการสัมผัสได้พร้อมกันอย่างไม่จำกัดอีกด้วย (จะจิ้มกี่นิ้วพร้อมกันก็ตรวจจับได้อย่างรวดเร็ว) แทบจะเรียกได้ว่า อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้จะมีระบบสัมผัสที่ยืดหยุ่นอย่างสมบูรณ์

แอ มะซอนคงจะไม่ใช้เทคโนโลยี I.F.S.R. กับหน้าจอแสดงผลคินเดิ้ลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นจออีเปเปอร์ทีใช้ เทคโนโลยีอีอิงค์ (E Ink) ที่มีคุณภาพในการแสดงผลใกล้เคียงกับที่มองเห็นจากกระดาษ และเป็นจุดขายหนึ่งเดียว อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในเรื่องของการแสดงผลได้แค่ดำ ขาว และเทา แต่ข้อดีก็คือ มันเป็นอุปกรณ์ที่มีจอแสดงผลไม่กี่ชนิดที่ไม่บังคับให้คุณต้องจ้องดูพื้นสี ดำที่มีแสงสว่างอยู่ด้านหลัง (Bright back-lit screen) งานนี้คงต้องรอดูกันต่อไปว่า แอมะซอนจะมีไม้เด็ดอะไร? Kindle Touch (ไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการ) จะสามารถโต้ตอบกระแสที่ร้อนแรงของไอแพดได้ หรือไม่?

ข้อมูลจาก: crunchgear

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook