ไขข้อข้องใจอยากรู้ Windows Phone 7 Series

ไขข้อข้องใจอยากรู้ Windows Phone 7 Series

ไขข้อข้องใจอยากรู้ Windows Phone 7 Series
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


          หลัง จากเปิดตัวมาได้ไม่กี่วันก็มีทั้งเสียง อวย และเสียงบ่นตามกันออกมาปะปนกันไป ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากเรื่องหลายๆคนยังไม่ทราบรายละเอียดแบบเต็มๆของ Windows Phone 7 series กันดีนั่นเอง ซึ่งในตอนนี้ข้อมูลส่วนใหญ่ก็คือข้อมูลที่โพสบอกตามๆกันมา ในโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งระบบปฎิบัติการใหม่แบบแกะกล่องของ ไมโครซอฟท์ในครั้งนี้จริงๆแล้วมันยังมีอะไรซ่ออยู่ภายในเยอะ วันนี้เราลองไปศึกษา ไขข้อข้องใจกับระบบปฎิบัติการใหม่นี้กันดูดีกว่าครับว่ามันมีข้อดีและข้อ จำกัดอะไรบ้างนะ

1. Windows Phone 7 series พัฒนามาจาก Windows CE 6 kernel, เหมือนกับเครื่อง Zune HD, ในขณะที่ Windows Mobile รุ่นปัจจุบันนั้นอยู่บนพื้นฐานของ Windows CE 5 การออกแบบครั้งใหม่ของไมโครซอฟท์นั้น เน้นไปด้านการใช้งานในรูปแบบของ Social Networking เป็นส่วนใหญ่ การทำงานเมนูต่างๆจะใช้นิ้วควบคุมเป็นหลัก




2 เป็นระบบปฎฺบัติการที่ต้องการความสามารถของ Hardware ค่อนข้างสูงมากโดยมีความต้องการขั้นต่ำดังนี้ครับ

- จอขนาดใหญ่แบบ Large WVGA
- มีปุ่มการทำงานตัวอย่างอย่างน้อยห้าปุ่มคือ  Start, back, search , camera , power
- Capacitive multitouch
- CPU and GPU requirements อย่างน้อยต้องเป็น 1GHz
- WiFi
- AGPS
- Accelerometer
- FM radio
- High resolution camera





3. อินเตอร์เฟสการใช้งานของ Windows Phone 7 series ถูกเปลี่ยนใหม่แบบยกเครื่องหมด ซึ่งรูปแบบหน้าจอต่างๆจากเดิมใน Windows mobile จะเป็นลักษณะ icon และเมนูคำสั่งต่างๆจะถูกเปลี่ยนหน้าตาเป็นแบบคล้ายๆกับของ Zune HD ผสมกับ Windows Media center UI ซึ่งรูปแบบใหม่นี้จะมีชื่อเรียกว่า Metro นั่นเอง โดยพยายามลดทอนกราฟฟิคและความไม่จำเป็นออกไปเกือบหมด เหลือรูปแบบที่ใช้นิ้วควบคุมได้แบบง่ายๆ แป้นคำสั่งต่างๆจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อความสะดวกในการใช้งาน รูปแบบเมนูโปรแกรมการใช้งานในเครื่องจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆซึ่งจะเรียกง่ายๆ ว่า Hub เป็นลักษณะจุดรวมของการใช้งานในแต่ละหมวดหมู่ เช่น ภาพถ่าย , VDO , เพลง และ รายชื่อข้อมูลบุคคลต่างๆ

          สำหรับข้อมูลต่างๆใน Hub ส่วนต่างๆนั้น เราสามารถเลือกดูข้อมูลได้สองรูปแบบคือ ข้อมูลจากในเครื่องเอง หรืออาจจะใช้การเชื่อมต่อผ่านทาง WiFi / GPRS ในการดึงข้อมูลจากทางฝั่ง Server มาแสดง ซึ่งเป็นลักษณะที่เราเรียกกันว่า cloud-connected  สำหรับรูปแบบ Hub ในเครื่องนั้นจะถูกแบ่งออกดังนี้






People hub:
           เป็น จุดรวมการใช้งานด้าน Gmail , Exchange , Facebook ,Twitter , Windows Live และข้อมูลการติดต่ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยเราสามารถอัพเดทสถานะและภาพถ่ายของรายชื่อต่างๆได้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยผ่านการเชื่อมต่อระบบภายในเครื่อง ซึ่งจะทำให้เราสามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงของข้อมูลเพื่อนๆได้ตลอดเวลา




Pictures hub

          เป็น จุดรวมด้านภาพถ่ายไม่ว่าจะเป้นภาพถ่ายจากใน memory ของเครื่องเอง หรือจะใช้ในลักษณะ Cloud connected เพื่อดึงข้อมูลจาก Facebook , Windows Live นอกจากเราจะสามารถดึงข้อมูลรูปต่างๆมาจากในส่วนของ Social Netowrking ต่างๆได้แล้วเรายังสามารถอัพโหลดภาพถ่ายต่างๆได้จากในส่วนนี้อีกด้วย

Games hub

          จุด รวมความบันเทิงด้านเกมส์ที่เชื่อมต่อกับ Xbox Live ซึ่งในส่วนนี้เค้ายังไม่ได้โชว์กันให้เห็นอย่างเต็มที่ครับว่ามันจะเป็น ลักษณะไหน แต่ก็น่าจะไม่แตกต่างจาก Xbox Live ในเครื่อง Xbox 360 คือเป็นจุดรวมการเล่นเกมส์ออนไลน์ที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมด้วย กันนั่นเอง



Music + Video hub
          ส่วน ด้านความบันเทิงด้าน VDO และเสียงเพลงนั้น พูดกันง่ายๆว่า มันยกเอา Zune HD มาใส่ในระบบปฎิบัติการนี้แบบเต็มๆเลยครับ โดยสามารถเข้าไปเลือกเพลงที่จะฟังพร้อมดาวโหลดเพลงต่างๆผ่านทาง WiFi หรือ 3G พร้อมภาพหน้าปกเพลงต่างๆในแบบเดียวกับ Zune HD


Marketplace hub
          แหล่ง รวมข้อมูลไฟล์โปรแกรมต่างๆที่เราสามารถเชื่อมต่อเพื่อ Download มาติดตั้งหรือนำมาใช้งานได้ ซึ่งก็ไม่แตกต่างจาก Market ในเครื่องแพลตฟอร์มอื่นๆนั่นเอง


Office hub

          ใน ส่วนของการใช้งาน office นั้นทางไมโครซอฟท์เน้นโชว์แต่เรื่องของ OneNote และ SharePoint Workspace เท่านั้น แต่หากมองในแง่การใช้งานที่ผ่านๆมา ยังไงไมโครซอฟท์ก็ต้องทำให้ Windows Phone 7 series เป็นเครื่องมือตัวสำคัญในการเชื่อมต่อกับ MS Office ให้ได้มากกว่าที่ผ่านๆมา โดยรูปแบบการทำงานที่ว่ากันว่าก็คือ มันจะใช้การเชื่อมต่อไปได้ทุกที่เพื่อการแชร์ข้อมูลไฟล์ เอกสารต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสมือนว่ามันเป็นเพียงอุปกรณ์ในการดึงข้อมูลมาเพื่อดูและแก้ไขทำงานเอกสาร ต่างๆ

          สำหรับ โปรแกรมอื่นๆเล็กๆน้อยที่เป็นโปรแกรมประจำตัวระบบปฎิบัติการใหม่นี้ก็ยังมี อีกหลายๆส่วนเช่น Email / Calendar/ SMS / Phone / Internet explorer ซึ่งในส่วนของ Browser นั้นทาง MS เอง พยายามสร้างรูปแบบใหม่ให้กับ IE โดยจะพัฒนาให้มีความใกล้เคียงกับ Browser บน PC ให้มากที่สุด และยังรองรับระบบ Multi Touch ในการ Zoom ดูข้อมูลต่างๆ ส่วนการ Search ข้อมูลนั้นจะผ่านโปรแกรม Bing Search และ Bing Map







          การ มาของ Windows Phone 7 ในครั้งนี้หากดูในตอนนี้ถือว่าตลาดยังให้การต้อนรับไม่ค่อยเต็มที่เท่าไรนัก เพราะด้วยรูปแบบที่เปลี่ยนใหม่ซึ่งอาจจะทำให้หลายๆคนยังไม่ชินตาและชินรูป แบบการใช้งานเท่าไรนัก แต่ก็ต้องเข้าใจครับว่ามันคือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งที่ยอม ละทิ้งรูปแบบเดิมๆแบบเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้กันไปเลย

          หากมองย้อนไป เมื่อปี 2000 หรือเมื่อสิบปีก่อน เหตุการร์แบบนี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยที่ไมโครซอฟท์ ทำ Windows CE แล้วแพ้ทาง Palm OS แบบกระจุยกระจาย จึงหันมายกเครื่องออกระบบปฎิบัติการ Pocket PC ออกมาแต่ในครั้งนั้นมันทำให้ตลาดตกใจและแปลกใจกับความแปลกใหม่จนในที่สุด Pocket PC ก็ฟาดตลาด PDA ไปจาก Palm จนเกือบหมด แต่ในครั้งนี้เหตุการณ์คล้ายๆกัน แต่ผลตอบรับดูเหมือนจะแตกต่างกัน เพราะหลังจากเปิดตัว Windows Phone 7 ออกมาปุ๊บปรากฎว่า เกิดกระแสทั้งยอมรับและไม่ยอมรับแบบแบ่งรับแบ่งสู้กัน

          ตอนเปิดตัว Pocket PC ครั้งแรก ไมโครซอฟท์ชูจุดขาย 3 เรื่องด้วยกันคือ อันดับแรก ความบันเทิงเคลื่อนที่ ฟังเพลง MP3 และดูไฟล์ VDO ได้แบบไม่ต้องแปลง อันดับสองคือเรื่องของการใช้งาน ไมโครซอฟท์ออฟฟิศแบบเต็มรูปแบบ และอันดับสามการติดต่อสื่อสารสนทนาผ่านทาง MSN  แต่ในครั้งนี้ Windows Phone 7 ชูเน้นจุดขายไปทาง Social Networking แทน ต้องรอดูครับว่ามันจะรอดหรือไม่ และยิ่งมีคู่แข่งเพียบแบบนี้ งานนี้เหนื่อยจริงๆครับ


http://www.engadget.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook