มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

คงต้องยอมรับกันนะครับ ปีนี้กระแส 3มิติ มาแรงเหลือเกิน ถ้าติดตามข่าวสารเกี่ยวกับวงการไอทีกันมาบ้าง เราก็จะเห็นผู้ผลิตทีวีหลายๆ ค่าย เปิดตัวทีวี 3มิติกันอย่างพร้อมเพียงกัน ตั้งแต่งาน CES 2010 เมื่อต้นปีที่ผ่านมาแล้ว

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

อีกทั้งในตอนนี้ก็ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างๆ ก็สนใจที่จะนำเสนอภาพยนตร์ที่เป็น 3มิติ กันทั้งนั้นเลย ถ้าหากยังนึกไม่ออกว่ามีภาพยนตร์เรื่องอะไรที่เป็น 3มิติ บ้าง ก็ลองนึกถึงภาพยนตร์เรื่อง “Avatar” กันดูนะครับ ซึ่งถ้าใครได้มีโอกาสไปชมเรื่องนี้ในโรงภาพยนตร์ 3มิติ อย่างโรง IMAX สยามพารากอน หรือตอนนี้ถ้าใครได้ถอยทีวี 3มิติ พร้อมกับภาพยนตร์ Avatar ที่เป็น Blu-ray แบบ 3มิติ มาแล้วล่ะก็ เรียกได้ว่าเหมือนได้ร่วมผจญภัยอยู่บนดาวแพนโดร่าก็ไม่ปานนะครับ

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

แต่สำหรับใครที่จะซื้อทีวี 3มิติ เพื่อมาไว้รับชมกันภายในบ้าน ภายในครอบครัว ก่อนที่จะไปสัมผัสตัวจริงกันอยากจะให้มาเรียนรู้หลักการแสดงภาพ 3มิติ ก่อน ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 4หลักการทำงาน คือ

Anaglyph(แว่นตาน้ำเงิน/แดง)

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าจริงๆ เทคโนโลยีอย่างการแสดงภาพ 3มิติ มันมีมานาน ถ้านับกันจริงๆ ก็ตั้งแต่ ค.ศ. 1920 แล้ว ซึ่งในยุคนั้นจะใช้เป็น แว่นตาสีแดง-น้ำเงิน เครื่องอุปกรณ์เสริม เพื่อช่วยให้เราสามารถรับชมภาพ 3มิติ ได้

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

โดยมีหลักการทำงานอย่างง่ายๆ คือ การแสดงภาพสองภาพลงไปบนเฟรมเดียวกัน ซึ่งภาพทั้งสองภาพนั้นจะมีโทนสีที่แตกต่างกันคือมี สีแดงและสีน้ำเงิน อีกทั้งยังมีมุมมองเหลื่อมกันอยู่เล็กน้อย ถ้าเรามองด้วยตาเปล่า เราก็จะเห็นเป็นเพียงภาพเบลอๆ เรียกได้ว่าถ้าดูนานๆ อาจจะตาลายหรือเวียนหัวกันทีเดียว เพราะฉะนั้นเราจึงต้องมีอุปกรณ์อย่างแว่นแดง-น้ำเงิน ซึ่งจะมาทำหน้าที่เป็นตัวฟิลเตอร์ กรองสีที่ไม่ตรงกับสีของแว่นตาออกไป โดยที่แว่นตาสีแดงจะกรองภาพสีแดงออกไปให้เห็นแต่ภาพสีน้ำเงิน ส่วนแว่นตาสีน้ำเงินก็จะกรองภาพส่วนที่เป็นสีแดงออกไป ทำให้ตาทั้งสองเห็นภาพที่แตกต่างกัน สมองจะตีความด้วยการรวมภาพที่มองเห็นแตกต่างกันสองภาพ อีกทั้งมีมุมแตกต่างกัน ผลที่ได้คือเราจะมองเห็นเป็นภาพ 3มิติ? นั่นเอง ข้อสังเกตของหลักการ ?Anaglyph ก็คือ ภาพที่เรารับชมจะมีสีสันไม่สดใสเท่าที่ควร แต่มีต้นทุนในการผลิตที่ไม่สูงมาก

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

Polarized 3-D Glasses  

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

หลักการแบบ Polarized นี่คือหลักการทำงานของ 3มิติ ที่อยู่ในยุคปัจจุบัน อย่างภาพยนตร์เรื่อง Avatar ก็ใช้เทคนิคนี้เช่นกัน รวมถึงโรงภาพพยนตร์ 3มิติ อย่าง IMAX อีกด้วย

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

การทำงานจะมีความคล้ายคลึงกับ Anaglyph โดยใช้การแสดงภาพมาลงที่เฟรมเดียวกันเหมือนเดิม แต่ในคราวนี้จะไม่ใช่สีเป็นตัวฟิลเตอร์ แต่จะใช้แนวการวางตัวของช่องการมองเห็นแต่ละภาพที่ฉายซ้อน กันอยู่ เช่น จากในภาพแว่นตาข้างซ้ายจะเห็นมองเป็นภาพที่ผ่านช่องในแนวตั้ง ส่วนตาขวาจะมองเห็นภาพที่ช่องในแนวนอน ซึ่งทั้งสองภาพมีมุมมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นมันก็จะเข้าหลักการเดิม นั่นก็คือ การทำให้ตาแต่ละข้างของเรามองเห็นภาพที่ไม่เหมือนกัน เมื่อสมองพยายามรวมภาพทั้งสองที่มีความแตกต่างของมุมมอง ภาพที่เห็นจึงเกิดเป็น 3มิติ ซึ่งแว่นตาของ Polarized จะมีราคาที่ไม่สูงมากนัก

มาเรียนรู้หลักการทำงานการแสดงภาพ 3มิติ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันกันเถอะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook