อ่านสเป็ก Monitor, HDTV ให้รู้จริง ง่ายๆ ภายใน 5 นาที

อ่านสเป็ก Monitor, HDTV ให้รู้จริง ง่ายๆ ภายใน 5 นาที

อ่านสเป็ก Monitor, HDTV ให้รู้จริง ง่ายๆ ภายใน 5 นาที
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อ่านสเป็ก Monitor, HDTV ให้รู้จริง ง่ายๆ ภายใน 5 นาที

คำกล่าวที่ว่า ?ควรเลือกจอที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่งบประมาณจะหาซื้อได้? อาจใช้ไม่ได้กับทุกสถานการณ์เสมอไป หากคุณกำลังมองหา Monitor หรือ TV ที่ถูกใจ และตรงตามความต้องการสักเครื่อง มีเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณเลือกซื้อ HDTV, Monitor ที่ถูกใจได้ด้วยหลักการพิจารณาสเป็กสั้นๆ ซึ่งเราจะมาดูที่ Monitor กันก่อนนะครับ

อ่านสเป็ก LCD Monitor, LED Monitor ให้เป็นใน 10 ข้อ

อ่านสเป็ก Monitor, HDTV ให้รู้จริง ง่ายๆ ภายใน 5 นาที

  1. ขนาด: ขนาดหน้าจอของ Monitor คือความยาวของเส้นทแยงมุมของจอนั้นๆ มีหน่วยเป็นนิ้ว จอ LCD, LED ส่วนใหญ่ที่มีขายในตลาดจะมีขนาดตั้งแต่ 15 นิ้วไปจนถึง 30 นิ้ว และขนาดที่ได้รับความนิยมสูงสุดอยู่ในช่วง 19 ? 24 นิ้ว คุณควรเลือกขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน ระยะการรับชม และพื้นที่ที่จะใช้วางจอ และพยายามเลือกจอที่มีฐานที่สามารถปรับระดับความสูงขึ้น/ลงได้ เพื่อความสะดวกในการจัดวาง และการปรับระดับความสูงของจอให้พอดีกับระดับความสูงของที่นั่ง
  2. สัดส่วน (Aspect Ratio): สัดส่วนของ Monitor ในปัจจุบันมีให้เลือกทั้งแบบ 4:3, 5:4, 16:10 และ 16:9 คุณควรเลือกสัดส่วนจอโดยคำนึงถึงประเภทของงาน และ content ที่จะแสดงบนจอเป็นหลัก ปัจจุบันนี้จอ LCD สัดส่วนแบบ 16:9 กำลังเป็นที่นิยม เพราะมีสัดส่วนเดียวกับภาพยนตร์จอกว้าง ทำให้สามารถแสดงภาพยนตร์จอกว้างได้โดยไร้ขอบดำด้านบน-ล่าง ของจอ แต่ถ้าคุณคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยเป็นหลัก อาจพิจารณาจอแบบ 16:10 เพราะพื้นที่ในแนวตั้งที่มากขึ้นจะช่วยลดภาระในการลากเม้าส์เพื่ออ่าน เอกสาร/เว็บเพจยาวๆ ได้
  3. ความละเอียด (Native Resolution): ความละเอียดที่ Monitor สามารถแสดงได้ มีหน่วยเป็นพิกเซล ซึ่งมีให้เลือกหลาย resolution ด้วยกัน เช่น 1,400 x 900, 1,600 x 900, 1,680 x 1,950, 1,920 x 1,080, 1,920 x 1,200 เป็นต้น สำหรับ resolution ที่ได้รับความนิยมกับจอ 21.5″-23″ แบบ 16:9 ได้แก่ขนาด 1,600 x 900 หรือ 1,920 x 1,080 (Full HD) จอ LED, LCD Monitor จะทำงานได้ดีที่สุดต่อเมื่อ คุณป้อนสัญญาณที่มีความละเอียดตรงกับ native resolution ของมันเท่านั้น ดังนั้นหากคุณต้องการเลือกจอไปใช้สำหรับการเล่นเกม ควรเลือกจอที่มี resolution ที่สัมพันธ์กับขีดความสามารถของการ์ดจอของคุณด้วย
  4. Contrast Ratio: คือ อัตราส่วนของสีขาวที่สว่างที่สุด กับสีดำที่มืดที่สุด ตัวเลขที่สูงกว่าแสดงถึงความสามารถในการไล่ความสว่างของเฉดสีต่างๆ ได้หลายระดับมากขึ้น ทำให้มองเห็นรายละเอียดต่างๆ ในภาพชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะรายละเอียดต่างๆ ของภาพในหนัง/เกมในฉากมืดๆ ปัจจุบัน Native contrast ratio ของ LED, LCD monitor อยู่ที่ประมาณ 600:1 ถึง 1,000:1 (ทางผู้ผลิตจะไม่นิยมบอกกัน)
  5. Dynamic Contrast Ratio: เนื่องจากหลอด backlight (หลอดไฟที่ช่วยทำให้เม็ดสีของจอ LED, LCD เรืองแสง) ของ LED, LCD monitor ในปัจจุบันสามารถปรับระดับความสว่างตามลักษณะของ content ที่แสดงอยู่บนจอ ณ ขณะนั้นได้ ทั้งนี้เพื่อให้นำมาซึ่ง Contrast Ratio ที่สูงขึ้น พูดง่ายๆ คือ Dynamic Contrast Ratio เป็น Contrast Ratio สูงสุดที่จอสามารถทำได้ โดยตั้งอยู่บนสมมติฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึงมักทำตลาดจอของตนด้วยตัวเลข Dynamic Contrast Ratio แทนการใช้ Native Contrast Ratio ซึ่งปัจจุบันมีตั้งแต่ 10,000:1 ไปจนถึง 5,000,000:1, 12,000,000:1 เลยก็มี
  6. Response Time: เป็นระยะเวลาที่เม็ดสีบนจอ LCD ใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากสีหนึ่งไปยังอีกสีหนึ่ง ฉะนั้นยิ่งตัวเลข response time น้อย ยิ่งหมายถึงการแสดงภาพเคลื่อนไหวที่เป็นธรรมชาติ ไร้เงา (ghosting) มากขึ้น
  7. Brightness: ความสว่างของจอ LED, LCD ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 250 ? 500 cd/m2 (candela per square meter ? แรงเทียนต่อตารางเมตร) หากคุณต้องการนำจอไปวางไว้ในห้องที่สว่างมากๆ อาจต้องพิจารณาจอที่มีความสว่างมากขึ้น หรืออาจเลือกจอที่สว่างมากๆ เอาไว้ก่อน แล้วค่อยปรับให้สว่างน้อยลงตามสภาพแสงในห้องของคุณก็ได้
  8. View Angle: มุมมองการรับชมของจอในแนวตั้งและแนวนอน ปัจจุบันจอส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 170/170 หรือมากกว่า (170 องศาในแนวตั้ง และ 170 องศาในแนวนอน) ซึ่งตัวเลขนี้เป็นตัวบอกจุดทำมุมสูงสุดที่คุณสามารถรับชมภาพจากจอได้โดยที่ สีและความสว่างไม่เพี้ยน (เช่นมองจากด้านข้างทำมุมสูงสุดได้ 170 องศาโดยที่สีและความสว่างไม่เพี้ยน เป็นต้น) เนื่องจากLCD monitor ถูกออกแบบมาให้ใช้กับคอมพิวเตอร์ (ซึ่งต้องมองตรงๆ) เป็นหลัก คุณจึงไม่ควรกังวลกับตัวเลขนี้มากเกินไปนัก
  9. Connectivity Interface: Monitor ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมาพร้อมกับพอร์ท VGA (หรือ D-Sub) และพอร์ท DVI ซึ่งพอร์ท DVI นั้นจะให้ภาพที่มีคุณภาพดีกว่า เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อแบบดิจิตอล ส่วน VGA เป็นพอร์ทอนาล็อกแบบเก่าซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งใน PC/Notebook คุณจึงควรเลือก Monitor ที่มีพอร์ททั้งสองประเภท เพื่อความยืดหยุ่นในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ หรืออาจเลือกจอที่มีพอร์ท HDMI ไปเลยก็ได้ หากคุณต้องการนำไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีพอร์ท HDMI อย่าง Playstation 3
  10. Special Feature: คุณสมบัติอื่นๆ ในปัจจุบันนี้ก็ทางผู้ผลิตก็ต่างใส่เข้ามาใน Monitor เพื่อทำการแข่งขันกันอย่าง USB Hub, Webcam, Touch Screen, TV Tuner, 3D เป็นต้น ซึ่งส่วนนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของ เราได้ ขอแนะนำว่า ควรเลือกในสิ่งที่เราต้องการใช้งานจริงๆ เพราะคุณสมบัติเหล่ามันทำให้ราคาของ Monitor เอง มีราคาที่สูงขึ้นตามไปด้ว

หน้าถัดไปเราจะมาดูที่ HDTV ซึ่งประกอบไปด้วย LCD TV, LED TV, Plasma TV กันนะครับ สำหรับหัวข้อที่เราจะดูนั้นก็จะคล้ายๆ กับ Monitor แต่มีจำนวนมากกว่า เพราะ HDTV มีรายละเอียดที่มากกว่า

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook