Samsung Galaxy S 3 (III) ซัมซุงกาแลคซี่เอส 3 อัพเดท สเปคและราคา Galaxy S 3 ล่าสุด

Samsung Galaxy S 3 (III) ซัมซุงกาแลคซี่เอส 3 อัพเดท สเปคและราคา Galaxy S 3 ล่าสุด

Samsung Galaxy S 3 (III) ซัมซุงกาแลคซี่เอส 3 อัพเดท สเปคและราคา Galaxy S 3 ล่าสุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Samsung Galaxy S 3 (III) ซัมซุงกาแลคซี่เอส 3 อัพเดท สเปคและราคา Galaxy S 3 ล่าสุด [4-ธ.ค.-55] : Samsung ประเทศไทย เปิดจำหน่าย Samsung Galaxy S III (S 3) ความจุ 64GB สีดำ แล้ว ราคา 27,900 บาท จำนวนจำกัด

[7-ธันวาคม-2555] เรียกได้ว่า รอกันจนลืมครับ กับ Samsung Galaxy S III (S 3) ความจุ 64GB ที่ล่าสุด ทาง Samsung ประเทศไทย ได้ประกาศผ่านหน้าแฟนเพจ วางจำหน่าย Samsung Galaxy S III (S 3) ความจุ 64GB สีดำ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เปิดราคามาค่อนข้างแรงครับ โดยเปิดจำหน่ายราคา 27,900 บาท จำนวนจำกัด ที่ร้าน Jay Mart, TG Fone และ Samsung Brand Shop

นอกจากนี้ ผู้ที่ซื้อ Samsung Galaxy S III (S 3) ความจุ 64GB สีดำ สามารถแลกซื้อเครื่องเล่น MP3 S Pebble เพียง 100 บาทเท่านั้น (เฉพาะสาขาที่ร่วมรายการ) ซึ่งสินค้ามีจำนวนจำกัดเช่นกันครับ - Samsung Mobile Thailand fanpage

[12-กันยายน-2555] หลังจากที่ทาง Samsung ได้ประกาศไว้เป็นนัยๆ ในงาน Samsung Unpacked 2012 เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) นั้น จะได้รับการอัพเดท ระบบปฏิบัติการ Android 4.1 Jelly Bean กันอย่างแน่นอน พร้อมทั้ง Samsung Galaxy Note รุ่นแรก และ Samsung Galaxy Note 10.1 ก็รอรับการอัพเดทในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน แต่น่าเสียดายครับว่า กำหนดการอัพเดท Android 4.1 Jelly Bean บน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) นั้น ยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอนออกมาว่าเมื่อใด เพราะ Samsung กล่าวสั้นๆ แค่คำว่า very soon (เร็วๆ นี้) ซึ่งผู้ที่ใช้งาน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) รวมไปถึง Samsung Galaxy Note และ Samsung Galaxy Note 10.1 ก็คงเฝ้ารอต่อไปอย่างมีความหวัง

** Update ครับ ล่าสุด ซัมซุง UK ออกมาประกาศว่า Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) จะสามารถอัพเดท Android 4.1 Jelly Bean ได้ในเดือนตุลาคมนี้ ส่วนกำหนดการอัพเดทในประเทศอื่นๆ ยังไม่ระบุครับ

ส่วนท่านที่รอ ROMs แบบทางการจาก Samsung ไม่ไหว ก็มีนักพัฒนาฝีมือดีหลายท่าน ได้ปล่อย ROMs มาให้ใช้งานกันก่อน ซึ่งแน่นอนครับว่า บทความ พรีวิว Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) หลังอัพเดท Android 4.1 Jelly Bean นี้ ก็เป็น ROMs นอกเช่นเดียวกัน มาดูกันว่า เมื่อ Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ถูกอัพเดทให้ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 4.1 Jelly Bean แล้ว จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานอะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง ปรับปรุงการใช้งานในส่วนใดบ้าง และน่าใช้งานมากขนาดไหน

ก่อนจะไปพบกับภาพ screenshot ของอินเทอร์เฟสที่เปลี่ยนแปลงไป มาดูกันว่า Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) หลังอัพเดท Android 4.1 Jelly Bean แล้ว มีฟีเจอร์อะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง

ฟีเจอร์ใหม่บน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ภายหลังอัพเดท Jelly Bean

- Project Butter ช่วยทำให้การใช้งานเร็วขึ้น ลื่นขึ้น smooth ขึ้น
- Google Now
- รองรับ Offline voice typing
- ปรับปรุงในส่วนของ Notification area
- หน้า settings ใช้งานได้ง่ายขึ้น
- หน้า homescreen ปรับได้ 2 โหมด ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบในการใช้งาน
- หน้าต่าง pop-up play สามารถรีไซส์ได้
- เพิ่มแอพพลิเคชั่น S Note แทน S Memo
- เว็บเบราเซอร์ที่ใช้งานได้รวดเร็วกว่าเดิม

อย่างไรก็ดี อย่าลืมนะครับว่า ระบบปฏิบัติการ Android 4.1 Jelly Bean นั้น ไม่รองรับ Flash Player อีกต่อไปแล้ว ซึ่งทาง Adobe เองก็แนะนำให้ลบออกด้วย เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง แต่สำหรับผู้ที่จำเป็นจะต้องใช้ Flash Player ต่อไป ก็สามารถดาวน์โหลด Flash apk มาใช้งานได้เช่นกันครับ แต่ไม่รับประกันว่า จะใช้งานได้ดีเท่ากับตอนที่ไม่มี Flash Player หรือไม่

ต่อไป เรามาชมอินเทอร์เฟสบน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) หลังอัพเดท Android 4.1 Jelly Bean กันครับ

User Interface

ความพิเศษของระบบปฏิบัติการ Android 4.1 Jelly Bean นั้น ก็คือ ฟีเจอร์ที่เรียกว่า Project Butter ที่ช่วยทำให้การใช้งานลื่นขึ้นกว่าเดิม ซึ่งผู้ใช้งาน Android คงจะทราบถึงจุดนี้อยู่แล้วว่า ในบางครั้ง แอนดรอยด์โฟน จะมีการใช้งานที่กระตุกบ้างเล็กน้อย แต่ Project Butter นั้น จะช่วยปรับปรุงการทำงานในส่วนนั้น ดีมากขึ้นกว่าเดิม เหมือนได้แอนดรอยด์เครื่องใหม่มาเชยชมครับ

สำหรับในส่วนของ Notification area มีการปรับปรุงเล็กน้อย โดยได้เพิ่มแถบบาร์ปรับความสว่างของหน้าจอ ส่วนตัวเลขบอกเวลาแบบดิจิตอล ได้ปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม

นอกจากนี้ ในส่วนของการแจ้งเตือนนั้น สามารถขยายเพื่ออ่านข้อความได้แบบเต็มๆ ครับ จากภาพจะเห็นได้ว่า ส่วนของอีเมลนั้น สามารถขยายออกเพื่ออ่านข้อความบนอีเมลได้จากส่วนนั้น โดยที่ไม่ต้องเข้าแอพพลิเคชั่นอีเมลให้เสียเวลา ถือว่า สะดวกดีครับ

ในส่วนของหน้า home screen นั้น สามารถเลือกปรับการใช้งานได้ 2 โหมดคือ แบบ Basic และแบบ Easy ซึ่งปกติแล้ว Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) จะถูกปรับให้อยู่ในโหมด Basic อยู่แล้ว ซึ่งเป็นโหมดที่ผู้ใช้งานคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยมีทั้ง Widget และแอพพลิเคชั่นแบบ shortcut

Basic mode (ซ้าย) และ Easy mode (ขวา)

ส่วน Easy mode นั้น ได้มีการปรับปรุงอินเทอร์เฟสเล็กน้อย และเพิ่ม Widgets แบบใหม่ โดยมี favorite contacts, favorite apps และก็ keypad ลองชมภาพเปรียบเทียบความแตกต่างกันดูครับ

ในส่วนของการปรับขนาดของ Widgets นั้น บนระบบปฏิบัติการ Android 4.1 Jelly Bean จะทำการปรับขนาดให้อัตโนมัติครับ โดยผู้ใช้งาน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) ไม่ต้องย่อหรือขยายเอง

สุดท้ายคือ ในหน้า settings ที่มีการจัดเรียงหมวดหมู่ใหม่ และโชว์เฉพาะฟังก์ชั่นที่ใช้งานบ่อย ส่วนฟังก์ชั่นที่มีความสำคัญน้อย จะถูกดึงเข้าไปอยู่ในหมวด More settings นอกจากนี้ ถ้าหากลองกดปุ่ม Power ค้าง จะพบว่า มีเมนูเพิ่มมาอีก 3 ส่วนครับ นั่นก็คือ การปรับเสียง จะเปิดสั่น ปิดเสียง หรือเปิดเสียง ก็สามารถทำได้จากหน้านี้เลย

มาทดสอบค่า Benchmark หลังจากลง Jelly Bean แล้ว

มาดูกันว่า หลังจากที่เราได้ทำการพอร์ตระบบปฏิบัติการ Android 4.1 Jelly Bean ลง Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) แล้ว จะช่วยทำให้การทำงานของซีพียู และส่วนอื่นๆ ดีมากขึ้นเพียงใด ซึ่งเว็บไซต์ gsmarena ได้ทำการทดสอบค่า Benchmark ทั้งหมด 5 โปรแกรมด้วยกันครับ ซึ่งได้แก่ SunSpider, BrowserMark, Linpack, BenchmarkPi, NenaMark 2 และ GLBenchmark Egypt 720p offscreen มาดูผลการทดสอบกันเลยครับ

โปรแกรมการทดสอบแรกคือ SunSpider ซึ่งเป็นการทดสอบ JavaScript จะเห็นได้ว่า ความสามารถในการรัน JavaScript ดีขึ้นมากหลังจากลง Jelly Bean ครับ

ถัดมาเป็น BrowserMark ทดสอบการทำงานของ JavaScript และ HTML5 ซึ่งผลการทดสอบนั้น ดูแย่กว่าเดิมเล็กน้อย แต่ก็ถือว่า ไม่ได้มีผลใดๆ ต่อการใช้งาน

Linpack และ BenchmarkPi ทดสอบประสิทธิภาพของซีพียู พบว่า ได้ตัวเลขที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมมากเท่าที่ควร

ส่วน NenaMark 2 และ GLBenchmark Egypt 720p offscreen นั้น เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของ GPU ครับ จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 โปรแกรมนี้ หลังจากพอร์ต Jelly Bean ลงไปแล้ว ได้ผลที่ต่ำกว่า ICS เล็กน้อย ซึ่งเว็บไซต์ gsmarena ได้ลงความเห็นว่า เป็นเพราะ Project Butter ที่กินกำลัง GPU มากกว่าปกตินั่นเอง แต่โดยรวมถือว่า ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมครับ

Google Now

สำหรับฟีเจอร์ Google Now นั้น ลักษณะคล้ายๆ Siri บน iPhone 4S นั่นเอง แต่ถ้าเทียบความเสถียรของระบบแล้ว ถือว่า Google Now มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีกว่าครับ (อาจจะเป็นเพราะว่า Siri ยังอยู่ในสถานะ beta ก็ได้) ซึ่งลักษณะการใช้งาน Google Now ก็คล้าย Siri ครับ นั่นก็คือ การสั่งการด้วยเสียงนั่นเอง แต่ความพิเศษของ Google Now อยู่ตรงที่ จะจดจำการใช้งานของผู้ใช้ครับว่า สอบถามเรื่องอะไรบ่อยที่สุด หรือ search คำว่าอะไรบ่อยที่สุด เช่น เราอาจจะค้นหาตารางการแข่งขันกีฬาบ่อยสุด หรือสอบถามสภาพอากาศบ่อยสุด Google Now ก็จะแสดงผลการค้นหาให้เลยทันที โดยที่เราไม่ต้องสอบถามบ่อยๆ เป็นต้น

ส่วนการเปิดใช้งาน Google Now สามารถทำได้โดยการกดปุ่ม menu ค้างไว้ โดยสามารถใช้งานได้ทั้งการพูด และการพิมพ์

เว็บเบราเซอร์

สำหรับอินเทอร์เฟสของเบราเซอร์นั้น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากเท่าที่ควร มีเพียงแค่การเพิ่มปุ่ม previous page และ next page เข้ามา แต่สิ่งที่หายไปก็คือ Flash Player ครับ เนื่องจาก Android 4.1 Jelly Bean ไม่รองรับ Flash Player อีกต่อไปแล้ว แต่สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ สามารถดาวน์โหลด Jelly Bean-compatible APK จากเว็บไซต์ XDA-developers มาใช้งานทดแทนกันได้

Offline Voice typing

สำหรับฟีเจอร์ Offline Voice typing นั้นก็คือ การสั่งให้พิมพ์ตามคำพูดนั่นเอง แต่ Offline Voice typing นั้น ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็สามารถใช้งานได้ครับ นอกจากจะช่วยประหยัด internet data แล้ว ระบบยังสามารถประมวลผลการทำงานได้เร็วขึ้นด้วย เนื่องจากไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

นอกจากนี้ ยังสามารถดาวน์โหลดภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมได้ด้วย ไฟล์ประมาณ20MB ครับ

S Note Lite

สำหรับแอพพลิเคชั่น S Note Lite นี้ เป็นแอพพลิเคชั่นที่เข้ามาแทน S Memo ครับ ซึ่งการใช้งานจะคล้ายกับ S Memo แต่เพิ่มฟีเจอร์การใช้งานบางอย่างเข้ามา เช่น เพิ่มความสามารถในการบันทึกเสียง และสามารถแนบไฟล์เข้ากับ S Note ได้โดยตรง ถือว่า เป็นวิธีที่สะดวกต่อการใช้งานอีกวิธีหนึ่งครับ

กล่าวสรุปปิดท้าย

สำหรับ  Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) หลังจากพอร์ต Android 4.1 Jelly Bean แล้ว ถือว่า ใช้งานได้ขึ้นกว่าเวอร์ชั่นก่อนครับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งอินเทอร์เฟส เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ปรับปรุงความเร็วในการใช้งาน และอื่นๆ ซึ่งตัว build ที่ทางเว็บไซต์ gsmarena ใช้งานนั้น ถือว่า เป็น ROMs ที่ค่อนข้างดีครับ เนื่องจากไม่พบบั๊กขณะใช้งาน และยังใช้งานได้ลื่นไหลสมราคาคุยอีกด้วย

ปิดท้ายบทความ ด้วยคลิปวิดีโอรีวิวการใช้งาน Samsung Galaxy S III (Samsung Galaxy S 3) หลังจากพอร์ต Android 4.1 Jelly Bean ครับ - gsmarena.com

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ: techmoblog

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook