ธุรกิจขาย"เบอร์มือถือ"เสริมดวงเฟื่อง!! กสทช.เอาบ้างงัดเบอร์สวย 2 แสนเบอร์ออกประมูล

ธุรกิจขาย"เบอร์มือถือ"เสริมดวงเฟื่อง!! กสทช.เอาบ้างงัดเบอร์สวย 2 แสนเบอร์ออกประมูล

ธุรกิจขาย"เบอร์มือถือ"เสริมดวงเฟื่อง!! กสทช.เอาบ้างงัดเบอร์สวย 2 แสนเบอร์ออกประมูล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธุรกิจขาย"เบอร์มือถือ"เสริมดวงเฟื่อง!! กสทช.เอาบ้างงัดเบอร์สวย 2 แสนเบอร์ออกประมูล

ธุรกิจขายเบอร์มือถือสุดเฟื่อง ทั้ง "เบอร์มงคล-เสริมดวง" มาแรง ฟันกำไรเหนาะ ๆ ตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักแสน ผู้ค้าแห่เปิดขายเบอร์เสริมดวงชะตาผ่านเว็บไซต์ ขายดีจนโดนมิจฉาชีพป่วน อ้างเป็นเจ้าของเบอร์ ดอดไปแจ้งหายให้ค่ายมือถือออกซิมใหม่ไปขายต่อ "เอไอเอส" ยันมีมาตรการตรวจสอบ "กสทช." เล็งงัดเบอร์สวยกว่า 2 แสนเบอร์ที่ตุนไว้หลายปีออกมาประมูลหาเงินทำกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค

ธุรกิจขายเลขหมายโทรศัพท์มือถือ ทั้งเบอร์ตอง-เบอร์เรียง และสารพัดเบอร์สวยหลากหลายรูปแบบมีมาเนิ่นนานนับตั้งแต่ยุคแรก ๆ ของการให้บริการโทรศัพท์มือถือในบ้านเราก็น่าจะได้ โดยบางเบอร์ราคาสูงมากถึงหลักหมื่นหลักแสนบาท ล่าสุดธุรกิจขายเบอร์พัฒนาไปไกลโดยดึงความเชื่อเรื่องดวงชะตาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประกอบกับมีหลายระดับตั้งแต่หลักร้อยบาททำให้ได้รับความนิยมแพร่หลาย

ปัจจุบันมีเว็บไซต์จำหน่ายเบอร์มงคล และเบอร์สวยจำนวนมาก เช่น www.berthongdee.com, www.sim5565.in.th, www.powersim-vip.com, www.anajakber.com เป็นต้น หรือซิมเบอร์สวยในเว็บ www.pantipmarket.com เป็นต้น หลายเว็บไซต์ลงโฆษณาในเสิร์ชเอนจิ้นของกูเกิลระบุราคาจำหน่ายในเว็บไซต์ดังกล่าว มีตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหมื่นบาทต่อเลขหมายจากทั้ง 3 ค่าย เอไอเอส, ดีแทค และทรูมูฟ บางเว็บไซต์มีโปรแกรมทำนายหมายเลขโทรศัพท์ เช่น www.Somjade.com ที่ให้ข้อมูลรายละเอียดแยกประเภทหมายเลขมงคลแต่ละชนิด มีทั้งขายทีละเบอร์ และเป็นชุดเบอร์มงคล หรือเลขสวย โดยแต่ละเบอร์ที่ประกาศขายจะมีการทำนายเบอร์กำกับไว้ด้วย

นางสาววรวีร์ บำรุงพงศ์ เจ้าของเว็บไซต์ www.berthongdee.com เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เทรนด์ที่มาแรงคือหมายเลขโทรศัพท์ที่เป็นเลขมงคล ซึ่งจะดูว่าเลขตัวไหนชนกับตัวไหน ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ปัจจุบันมีเว็บไซต์แนะนำเบอร์มงคลเพิ่มขึ้น มีราคาตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไปจนถึงหลักแสนบาท โดยในอดีตมีราคาแพงกว่านี้โดยเฉพาะเบอร์สวย แต่ปัจจุบันหันมานิยมเบอร์มงคลมากกว่า

"ผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายหมายเลขโทรศัพท์มงคลและเลขสวยในไทยน่าจะมีร่วมพันรายธุรกิจประเภทนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องความสามารถด้านการการขายของเจ้าของเว็บ โดยผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องหมายเลขมงคล สามารถให้คำปรึกษาผู้ซื้อได้ ทั้งต้องติดตามความคิดเห็นตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อดูว่าหมายเลขใดมีแนวโน้มราคาตก และหมายเลขใดกำลังเป็นที่สนใจ ผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ เดือนหนึ่งน่าจะมีกำไร 2-3 หมื่นบาท รายใหญ่ทุนมากก็อาจได้หลักล้าน"

สำหรับผู้ค้าจะใช้วิธีไปหาหมายเลขโทรศัพท์ที่มีการประกาศขายผ่านเว็บไซต์บางแห่ง เช่น พันทิปหรือซื้อจากผู้ขายส่งเบอร์ราคาถูกแล้วเลือกมาจำหน่ายอีกที ซึ่งช่องทางเหล่านี้มีต้นทุนหมายเลขละ 50-70 บาทเท่านั้น บางเว็บใช้วิธีซื้อต่อจากผู้ประกอบธุรกิจจำหน่ายหมายเลขโทรศัพท์มงคลด้วยกัน โดยซื้อหลายหมายเลขเพื่อให้ได้ส่วนลด ซึ่งเบอร์เกือบทั้งหมดอยู่ในระบบพรีเพด (เติมเงิน) ดังนั้นจึงต้องมีการเปิดใช้บริการเบอร์ และเติมเงินเป็นระยะเพื่อรักษาเลขหมายเดิมไว้

นางสาววรวีร์กล่าวต่อว่า ธุรกิจขายเบอร์ปัจจุบันประสบปัญหาใหญ่อีกเรื่อง กรณีมีผู้ฉวยโอกาสใช้วิธีค้นหาหมายเลขมงคลที่มีระดับราคา 5,000-6,000 บาท จากเว็บไซต์ต่าง ๆ แล้วนำไปอ้างว่ากับศูนย์บริการว่าเป็นเบอร์ของตัวเองแล้วไปแจ้งเรื่องทำเบอร์ใหม่ที่ศูนย์บริการของโอเปอเรเตอร์ต่าง ๆ แล้วนำเบอร์ดังกล่าวไปขายต่อส่งผลให้เกิดปัญหาเบอร์ซ้ำซ้อน

"เพราะเบอร์ที่ขายกันเป็นเบอร์พรีเพด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการลงทะเบียนซิมทำให้มีการแอบอ้างกันได้ไม่ยาก ตนก็เพิ่งโดนคนโทร.ติดต่อมา บอกว่าเบอร์ที่ประกาศขายบนเว็บเป็นเบอร์ของเขา ซึ่งก็ต้องใช้วิธีโทร.แก้ปัญหากับคู่กรณีเป็นราย ๆ ไป"

ด้านนายฐิติพงษ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขาย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่า บริษัทมีขั้นตอนในการตรวจสอบความเป็นเจ้าของเบอร์ของลูกค้า ซึ่งสามารถเช็คตัวตนของลูกค้าที่จดทะเบียนเบอร์โทรศัพท์ได้อย่างง่ายดาย ส่วนผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนเบอร์ของตนเองไว้ในกรณีพรีเพดจะใช้วิธีตรวจสอบตัวตนด้วยการตั้งคำถามรูปแบบการใช้งาน เช่น โทร.ไปเบอร์ไหนบ่อย หรือเลือกใช้รูปแบบบริการใดในช่วง 7 วันที่ผ่านมา หากแจ้งเบอร์หายเพื่อขอหมายเลขใหม่

"กรณีแจ้งว่าเบอร์หายต้องการออกเบอร์ใหม่ก็จะมีวิธีตรวจสอบได้ ซึ่งเรามีประสบการณ์กับเรื่องแบบนี้ มีวิธีคัดกรองที่คิดว่าเหมาะสม เช่นกันกับโอเปอเรเตอร์รายอื่น ก็น่าจะมีวิธีตรวจสอบอยู่แล้ว เพียงแต่ในภาพรวมอาจมีบางรายหลุดรอดการตรวจสอบไปบ้าง แต่คงไม่มาก ปัจจุบันเราเองก็เก็บเบอร์สวย เช่น เบอร์เรียงสวยหรือจดจำง่ายไว้ให้ลูกค้าที่ใช้บริการมานาน ๆ หรือแจกเบอร์สวยตามงานกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แจกเบอร์สวยให้ลูกค้าจดทะเบียนใหม่ที่ซื้อไอโฟน 5 กับเอไอเอส เป็นต้น

นายฐิติพงษ์กล่าวว่า ธุรกิจขายเบอร์สวยเบอร์มงคลเป็นการตอบสนองความต้องการของคนบางกลุ่มในสังคมไทย เปรียบได้กับการขายความสบายใจให้ผู้ใช้งาน ซึ่งการตั้งราคาก็เป็นเรื่องของความพึงพอใจจากทั้งสองฝ่าย คือผู้ซื้อและผู้ขาย

ก่อนหน้านี้ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำนักงาน กสทช.มีแนวคิดที่จะเสนอให้มีการนำเบอร์สวยที่ดึงเก็บไว้หลายล้านเลขหมายตั้งแต่สมัยที่ยังเป็น กทช.นำมาประมูลแล้วนำรายได้มาใช้ในกิจกรรมเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประมาณราคากลางไว้ว่าจะมีรายได้จากการประมูลถึง 4 พันล้านบาท

ขณะที่ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า อยู่ระหว่างการศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่า กทค.มีอำนาจดำเนินการได้หรือไม่แค่ไหนอย่างไร เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าจะสามารถดำเนินการจัดประมูลได้หรือไม่ ซึ่งเบอร์สวยที่สำนักงาน กสทช.ดึงเก็บไว้ตั้งแต่สมัยยังเป็น กทช.นั้น ถึงปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2 ล้านเลขหมาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook