ต้องรู้!!! บัตรเติมเงินกับวันหมดอายุ

ต้องรู้!!! บัตรเติมเงินกับวันหมดอายุ

ต้องรู้!!! บัตรเติมเงินกับวันหมดอายุ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต้องรู้!!! บัตรเติมเงินกับวันหมดอายุ

หลังจาก กสทช. ได้มีคำสั่งให้ AIS, Dtac และ Truemove ห้ามกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงินตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค. 2555 หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องเสียค่าปรับให้กับทาง กสทช. ซึ่งทางสามค่ายก็ได้ออกมาชี้แจงถึงปัญหาทางด้านเทคนิคทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของทาง กสทช. ได้ ดังนั้นจึงทั้งสามค่ายจึงยื่นคำขอกับทาง กสทช.เพื่อขอความเห็นชอบต่อการกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงินได้

จากเหตุผลที่ผู้ให้บริการไม่สามารถจัดการให้บัตรเติมเงินไม่มีวันหมดวันหมดอายุได้เนื่องจาก

1. จำเป็นต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมให้กับ กสทช.เดือนละ 1.07 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน

2. หากบัตรเติมเงินไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ แล้วผู้ใช้บริการหมายเลขนั้นไม่มีการใช้งาน ไม่มีการเติมเงินเลย ต้นทุนจะตกเป็นภาระของผู้ให้บริการ

3. ถ้าไม่กำหนดวันหมดอายุจะไม่สามารถนำเลขหมายกลับไปหมุนเวียนใช้งานใหม่ได้ ทำให้ต้องจัดสรรหมายเลขใหม่เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ

ข้อมูลล่าสุดพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ 118 ล้านเลขหมาย แต่มีผู้ใช้จริงเพียง 83 ล้านเลขหมาย ที่หายไปกว่า 20 ล้านเลขหมายนับเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรของชาติเป็นอย่างมาก ดังนั้นทาง กสทช.จึงมีข้อสรุปต่อการยื่นเรื่องขอความเห็นชอบจากทั้ง AIS, DTAC และTruemove ว่า

1. ไม่ว่าจะเติมเงินในราคาเท่าใด แม้กระทั่งต่ำสุด 10 บาท จะต้องมีวันใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 30 วัน

2. เมื่อเติมเงินไปแล้วจะเพิ่มกับจำนวนวันที่มีอยู่ รวมถึงเพิ่มระยะเวลาการสะสมวันสูงสุด 365 วัน

3. เมื่อบอกเลิกสัญญาหรือยกเลิกการใช้หมายเลขนั้นๆ ผู้ให้บริการจะต้องคืนเงินค่าบริการที่คงเหลืออยู่ในระบบให้แก่ผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ผู้ให้บริการอาจกำหนดเงื่อนไขให้สามารถโอนเงินค่าบริการที่ชำระล่วงหน้าไว้ไปยังเลขหมายอื่นที่อยู่ในโครงข่ายเดียวกันได้

4. หากผู้ใช้บริการพบว่า เมื่อมีการเติมเงินแล้วยังไม่เข้าเงื่อนไขที่กล่าวไป 3 ข้อ สามารถแจ้งไปยังค่ายมือถือที่คุณใช้ หรือร้องเรียนกับ กสทช.ได้ที่เบอร์ 1200

สำหรับการประกาศใช้เงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดออกมาจากทั้ง AIS, DTAC และ Truemove น่าจะมีออกมาในเร็วๆนี้ และเชื่อว่าเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนดออกมาน่าจะมีผู้ใช้บริการหรืออีกหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกมาตั้งคำถามถึงข้อดีข้อเสียต่อวิธีปฏิบัติในการครั้งนี้แน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook