นับถอยหลัง อะไร ๆ ก็โก "ดิจิทัล" จัดระเบียบ "วิทยุ" แก้คลื่นแทรก

นับถอยหลัง อะไร ๆ ก็โก "ดิจิทัล" จัดระเบียบ "วิทยุ" แก้คลื่นแทรก

นับถอยหลัง อะไร ๆ ก็โก "ดิจิทัล" จัดระเบียบ "วิทยุ" แก้คลื่นแทรก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นับถอยหลัง อะไร ๆ ก็โก "ดิจิทัล" จัดระเบียบ "วิทยุ" แก้คลื่นแทรก

ขณะ ที่กระบวนการเปิดประมูลใบอนุญาต "ทีวีดิจิทัล" ดำเนินไปอย่างคึกคักเป็นอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบัน "โทรทัศน์" เป็นช่องทางในการรับรู้ข่าวสารและความบันเทิงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด มากถึง 98% หากเชื่อตามข้อมูลของบริษัทวิจัยเนลสัน เทียบกับสื่อไซเบอร์สเปซหรืออินเทอร์เน็ตแล้ว แม้จะเติบโตปรู๊ดปร๊าดแต่ยังมีสัดส่วนต่ำกว่ามาก

ไม่ใช่มีแค่ "จอสี่เหลี่ยม" มีอีกบริการที่เข้าถึงง่ายและราคาถูกกว่ามาก แต่อาจโดนมองข้ามไปทั้ง ๆ ที่ชีวิตในวัยรุ่นของคนส่วนใหญ่ต้องผ่านช่วงเวลาที่มีรายการวิทยุคลื่นโปรด ดีเจ.คนโปรดด้วยกันทั้งนั้นและ "วิทยุ" กำลังจะโกดิจิทัลเช่นกัน โดยกสทช. จะนำ "วิทยุดิจิทัล" เข้ามาใช้ในประเทศไทยในปีหน้า เพื่อให้การรับฟังวิทยุที่สุดจะธรรมดา ยกระดับขึ้นมาอีกขั้น

โดย ร่วมกับสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "NBTC/ITU Workshop on Digital Radio Technologies" เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเริ่มรับส่งสัญญาณวิทยุในรูปแบบนี้ และเสริมความรู้ให้ผู้ประกอบการก่อนการเปลี่ยนผ่านตามที่ระบุในแผนแม่บท กิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) ที่กำหนดให้ทำแผนเปลี่ยนระบบให้เป็นดิจิทัลใน 2 ปี และรับส่งสัญญาณระบบดิจิทัลใน 4 ปี

คลื่น "วิทยุ" เมื่อใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิทัลจะมีความคมชัดของเสียงมากขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการจากเดิมแต่ละเจ้าต้องมีตัวแปลงสัญญาณ, ตัวส่งสัญญาณ และเสากระจายสัญญาณของตนเอง ระบบใหม่จะใช้เพียงเสาสัญญาณ และตัวส่งเพียงจุดเดียวกระจายข่าวสารไปถึงผู้ฟังได้ เทคโนโลยีนี้ยังพัฒนาให้มีความฉลาดมากขึ้นทำให้การส่งภาพเคลื่อนไหวเล็ก ๆ เช่น กรณีรายงานสภาพอากาศ ก็ทำได้จากเดิมส่งได้แค่ข้อความเท่านั้น

"พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การมาถึงของวิทยุดิจิทัลไม่ใช่การเปลี่ยนผ่านเหมือนโทรทัศน์ดิจิทัล ที่ระบบแอนะล็อกจะหายไป วิทยุเป็นการออกอากาศควบคู่กันไป ดิจิทัลเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ฟัง และผู้ผลิตรายการที่ต้องการเปิดช่องทางใหม่ ๆ ในการรับส่ง "สาร" ขณะที่แอนะล็อกตอบโจทย์ให้ผู้ฟังที่ยังต้องการเทคโนโลยีเก่า ไม่ต้องเปลี่ยนตัวรับที่มีราคาแพงกว่าตัวเก่าพอสมควร

"วิทยุดิจิทัล คือความจำเป็น เพราะปัจจุบันไทยมีวิทยุชุมชนจำนวนมาก คลื่นเหล่านั้นรบกวนคลื่นวิทยุที่ทำตลาดเชิงพาณิชย์ ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถรับสารได้ชัดเจน ดิจิทัลแก้ปัญหานี้ได้ผ่านการยกคลื่นเชิงพาณิชย์ไปไว้บนเทคโนโลยีนี้แล้วนำ กลุ่มวิทยุชุมชนเข้ามาจัดระเบียบ และให้ออกอากาศบนระบบแอนะล็อกที่ว่างอยู่"

เท คโนโลโยที่ "กสท." เลือกใช้ คือ "DAB+" เป็นหนึ่งในตัวเลือกใช้กันแพร่หลายในแถบยุโรป และออกอากาศบนความถี่ใหม่ ไม่ใช่ความถี่ AM/FM เดิม เมื่อนำมาใช้จริงแล้ว ระบบวิทยุดิจิทัลจะวิ่งอยู่บนคลื่น VHF ที่ไม่อีกกี่ปีก็จะว่างเพราะโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ย้ายไปคลื่น UHF แต่ละโครงข่ายออกอากาศได้กว่า 10 สถานีพร้อมกัน เมื่อคำนวณคลื่นที่ว่างอยู่ทั้งหมดก็จะได้ 20-30 สถานี/จังหวัด

หลังจากนี้จะมีการทดลองออกอากาศโดย "กสท." ไปก่อน ใช้ช่วงความถี่ที่ว่าง หรือ White Space ของคลื่น VHF บริเวณรอยต่อของช่องฟรีทีวีมาจัดเป็นพื้นที่ทดลอง รวมถึงออกอากาศเชิงธุรกิจ เมื่อขั้นตอนและประกาศต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์แล้ว คาดว่าจะแบ่งใบอนุญาตคล้ายกับกรณีทีวีดิจิทัล คือ มีผู้ให้บริการโครงข่าย, สิ่งอำนวยความสะดวก และรายการวิทยุ รวมถึงจะมีรายการในรูปแบบบริการระดับประเทศ, ภูมิภาค และท้องถิ่นอีกด้วย

"ยอม รับว่ายาก เรื่องเสียงไม่จูงใจนัก เนื่องจากไม่ได้ชัดมากกว่าเท่าไร เหมือนซีดีกับเอ็มพี 3 ไหนจะเครื่องรับวิทยุที่ราคาเริ่มต้นเป็นหลักพันอีก ดังนั้น เราต้องทำแผน

ต่าง ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการบนคลื่น AM/FM ในขณะนี้ให้ย้ายขึ้นมาอยู่บนดิจิทัลให้ได้เพื่อขจัดปัญหาคลื่นแทรกออกไป แต่ถ้าจะเอากลุ่มวิทยุชุมชนขึ้นมาบนนี้ทั้งหมดก็ไม่ได้อีก ปัจจุบันมีกว่า 7 พันสถานีที่มีอยู่ไม่ถึงครึ่ง ดังนั้น ต้องมาหารือกันอีกทีว่าจะเอาอย่างไร"

"พ.อ.นที" ย้ำว่า ที่เลือก DAB+ ตามประเทศแถบยุโรปมาทดลองก่อนไม่ใช่ว่าดีกว่าระบบอื่น แต่เพราะเทคโนโลยี

อื่น ๆ จะออกอากาศบนคลื่นความถี่เดิมจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้แค่ทำให้เสียงชัดขึ้นเท่านั้น

ฟาก "โจน วอร์เนอร์" ประธานคณะกรรมการ World DMB ประจำภาคพื้นที่เอเชีย-แปซิฟิก เจ้าของเทคโนโลยี DAB+ กล่าวว่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกในธุรกิจวิทยุดิจิทัล คือ ออสเตรเลีย เนื่องจากภาครัฐได้ให้การสนับสนุนเต็มที่ เช่น ให้คลื่นไปใช้ฟรี รวมถึงจัดสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการที่เข้ามาทำรายการบนระบบนี้ ทำให้มีพื้นที่ส่งสัญญาณกว่า 5 แห่ง ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น ถือว่ารวดเร็วมากเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่มยุโรปที่เริ่มต้นไปนานแล้ว

ประชาชนในออสเตรเลียจะฟังรายการบนคลื่นดิจิทัลประมาณ 1.4 ล้านคน/สัปดาห์ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 11% ของประชากรทั้งหมด และมีเครื่องรับสัญญาณวิทยุดิจิทัลวางจำหน่ายมากกว่า 120 ชนิด เรียกว่าแทบทุกร้านค้าปลีกมีวางขาย

ในบ้านเราเองคงต้องดูกันต่อไปว่า "วิทยุดิจิทัล" จะเดินหน้าไปได้เร็วสักแค่ไหน เพราะถ้าเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซียเริ่มต้นไปก่อนหน้านี้พักใหญ่แล้ว โดยในมาเลเซียเริ่มออกอากาศจริงไปแล้วกว่า 15 สถานี สำหรับในไทย "กสท." จะใช้วิธีเข้าไปคุยกับผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อให้ติดตั้งระบบวิทยุที่รับคลื่นดิจิทัลได้ด้วย เพราะในรถยนต์เป็นอีกพื้นที่ที่ประชาชนใช้วิทยุมากที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook