บทเรียนจาก "แดนปลาดิบ" ทำไม 3G ต้องคู่กับ 4G

บทเรียนจาก "แดนปลาดิบ" ทำไม 3G ต้องคู่กับ 4G

บทเรียนจาก "แดนปลาดิบ" ทำไม 3G ต้องคู่กับ 4G
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บทเรียนจาก "แดนปลาดิบ" ทำไม 3G ต้องคู่กับ 4G

ขณะที่ประเทศไทยกำลังชุลมุนกับการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคม หลังสิ้นสุดการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz ซึ่งได้ผู้ชนะ 3 ค่ายใหญ่

เจ้าเดิมไปเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งอีกไม่กี่อึดใจบริการ 3G บนคลื่นใหม่ 2.1 GHz ก็จะเผยโฉมให้เห็นอย่างเป็นทางการแล้ว โดยมี "เอดับบลิวเอ็น" บริษัทในเครือของพี่ใหญ่ "เอไอเอส" นำทีม

บ้านเราเพิ่งมี 3G คลื่นใหม่ บ้านอื่นโดยเฉพาะญี่ปุ่นเริ่มเปิดให้บริการ 4G ด้วยเทคโนโลยี LTE มาตั้งแต่ปี 2554 และ

ถือเป็นโครงข่ายแรก ๆ ของโลกที่เปิดให้บริการ (4G ในบ้านเราต้องรอลุ้นว่าคลื่น 1800 MHz ที่จะหมดอายุเดือน ก.ย.นี้จะดึงคืนมาประมูลใหม่ได้เร็วแค่ไหน)

กลับมาที่แดนปลาดิบอีกครั้ง 4G ในญี่ปุ่นที่ให้บริการอยู่ในขณะนี้เชิงพาณิชย์ ค่ายมือถืออันดับ 1 "NTT Docomo" ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดระบบ 3G ถึง 48% หรือ 61 ล้านราย จากประชากรทั้งหมดกว่า 128 ล้านราย ปัจจุบันมีพื้นที่บริการ LTE แล้วประมาณ 40% กระจายอยู่ตามเมืองใหญ่ มีลูกค้ากว่า 10 ล้านราย ซึ่งภายในปี 2558 จะขยายพื้นที่บริการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพิ่มยอดลูกค้าเป็น 30 ล้านราย

โดย 4G ที่ว่าทำงานบนคลื่นความถี่ 2.1 GHz ใช้แถบความถี่กว้าง 10 MHz ควบคู่กันกับ 3G เพื่อให้มีบริการครอบคลุมทั่วประเทศ ถ้าอยู่ในพื้นที่บริการ 4G ในแง่ความเร็วจะสูงกว่า 3G ถึง 10 เท่า จึงเหมาะกับการใช้ Data เป็นหลัก มีทั้งผ่านสมาร์ทโฟน และเครื่องแปลงสัญญาณ WiFi (MiFi) ซึ่งได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเข้ามาทดแทนการใช้บรอดแบนด์ผ่านสายในรูปแบบต่าง ๆ ที่ยุ่งยากในการขอติดตั้ง และเชื่อมต่อสมาร์ทดีไวซ์ ได้พร้อมกันหลายเครื่องตามเทรนด์ผู้บริโภคที่นิยมพกพาสารพัดอุปกรณ์ไฮเทค

กลยุทธ์ที่ NTT Docomo ใช้จูงใจลูกค้าให้เปลี่ยนมาใช้บริการ หนีไม่พ้นโปรโมชั่น โดยกำหนด "ราคา" เท่ากับบริการ 3G เช่น โปรโมชั่น 5,000 เยนต่อเดือน สำหรับใช้ Data ได้ไม่อั้น

แอปพลิเคชั่นล่าสุดที่เปิดให้บริการเมื่อ พ.ย.ปีที่แล้ว และสร้างความฮือฮาไม่น้อย คือ "Nanashite Hon yaku" เป็นแอปช่วยแปลภาษาญี่ปุ่นให้เป็นภาษาอื่นได้ทั้งหมด 10 ภาษา แก้ปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอื่นของคนญี่ปุ่น ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 1 ล้านราย เนื่องจากใช้ง่ายแทบไม่แตกต่าง

จากการสนทนาปกติ สามารถใช้ได้ทั้งผ่านการสนทนาทางโทรศัพท์ โดยโปรแกรมจะส่งข้อความแปลการสนทนาตามที่ได้ยินเสียงไปหน้าจออีกฝ่าย ด้วยความเร็วในการรับ-ส่ง Data ระดับ LTE จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะนำไปใช้งานในรูปแบบของเครื่องแปลแบบเรียลไทม์ นอกจากจะแปลตามเสียงที่ได้ยินส่งเป็นข้อความแล้ว ยังเปล่งเสียงสนทนาได้เสมือนพูดภาษาเดียวกัน เหมาะที่จะนำมาใช้แปลภาษาในชีวิตประจำวัน หรือติดต่อธุรกิจของ SMEs เนื่องจากเป็นบริการฟรีสำหรับลูกค้า NTT Docomo เท่านั้น

การสร้างแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค เป็นอีกแรงจูงใจให้ลูกค้าเปลี่ยนมาใช้ 4G ของ NTT เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือกำลังดุเดือด หลังจาก Soft Bank ผู้เคยเป็นผู้ให้บริการอันดับ 2 รุกตลาดอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นการนำไอโฟนเข้ามาทำตลาด ทำโปรโมชั่นแพ็กเกจราคาถูกกว่า และใน 1-2 ปีมานี้ยังขยายโครงข่ายครอบคลุมทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกัน ด้วยรูปแบบธุรกิจแบบ MVNO ที่เปิดให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง เข้ามาเช่าใช้โครงข่ายเพื่อไปเปิดให้บริการในหลากหลายรูปแบบภายใต้แบรนด์อื่น ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ทั้งรูปแบบบริการและแพ็กเกจราคาที่หลากหลาย อย่างกรณี "b-Mobile" ได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยว เนื่องจากให้บริการแบบเติมเงิน (พรีเพด) ใช้โครงข่าย NTT มาให้บริการ แต่ดำเนินงานโดย Japan Communications Inc.ฝ่ายวิจัยของบริษัท NEC ผู้ผลิตอุปกรณ์ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมและบรอดแคสต์ชั้นนำของญี่ปุ่น มองว่า LTE จะเป็เทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายที่เข้ามาครองตลาดบรอดแบนด์ในไม่ช้า เนื่องจากแบบมีสายข้อจำกัดในการลากสายเพื่อขยายโครงข่ายในพื้นที่ต่าง ๆ แม้ว่าปัจจุบันจะมีโครงข่าย LTE ทั่วโลกแล้ว 145 โครงข่ายใน 66 ประเทศ แต่ LTE ในญี่ปุ่นแตกต่างออกไป เนื่องจากเปิดให้บริการบนคลื่น 2.1 GHz ขณะที่ในยุโรปมักใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz

แม้ต้นทุนแต่ละสถานีฐานไม่แตกต่างกัน แต่ย่านความถี่ที่ต่างกันมีศักยภาพในการครอบคลุมพื้นที่ต่างกัน เป็นตัวแปรสำคัญของต้นทุนในการขยายโครงข่าย โดยทางทฤษฎีคลื่นความถี่ย่านต่ำ เช่น 700 MHz ส่วนใหญ่ยังใช้สำหรับให้บริการทีวีระบบแอนะล็อก โดยเฉพาะในเอเชีย เหมาะสมที่จะนำมาให้บริการ LTE เนื่องจากมีศักยภาพในการครอบคลุมพื้นที่มากกว่า ดังนั้น NEC จึงมองว่า ตั้งแต่ปีหน้าในเอเชียจะเริ่มทยอยนำคลื่นความถี่ย่านนี้มาให้บริการ LTEฝ่ายวิจัย NEC ยังพูดถึงคลื่น 2.1 GHz ที่ไทยเพิ่งให้ใบอนุญาตไปว่า เป็นย่านความถี่ที่ดีที่สุดที่จะนำมาให้บริการ LTE เนื่องจากมีจำนวนอุปกรณ์รองรับการใช้งานมากที่สุด จึงเป็นประโยชน์ในการขยายตลาด LTE ของค่ายมือถือ แต่ถ้าในแง่การประหยัดเงินลงทุนโครงข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ การเลือกใช้คลื่นความถี่ย่านต่ำกว่าจะตอบโจทย์ให้ดีกว่า

ส่วนศักยภาพของแต่ละย่านความถี่ ในทางทฤษฎีไม่ได้มีผลอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับความเร็วของบริการดาต้าที่จะเปิดให้บริการ แต่ขึ้นอยู่กับปริมาณแถบความถี่ที่นำมาใช้ ซึ่งต้องมีความกว้าง 10 MHz ขึ้นไปถึงจะเพียงพอสำหรับให้บริการ LTE อย่างมีประสิทธิภาพ แม้เทคโนโลยีปัจจุบันต่อให้มีคลื่นกว้างแค่ 1.4 MHz ก็ให้บริการได้ แต่กรณีคลื่น 1800 MHz ของไทยที่กำลังจะหมดสัมปทานมีแถบความถี่ 2 ช่วงแยกจากกัน โดยแต่ละช่วงกว้าง 12.5 MHz กรณีที่แถบคลื่นไม่ติดกัน หากจะรวมคลื่นเพื่อไปใช้ให้บริการ LTE ต้องเว้นว่างทีละ 5 MHz ดังนั้น แถบคลื่นที่กำลังจะหมดสัมปทานจึงมีเศษคลื่นเหลือช่วงละ 2.5 MHz ที่จะไม่มีการนำไปใช้งาน

แม้หลาย ๆ คนจะมองว่า 4G เป็นเรื่องไกลตัว แต่ทีมวิจัย NEC มองว่า แต่ละประเทศควรเริ่มให้ความสำคัญกับการลงทุนโครงข่าย LTE เนื่องจากเทคโนโลยี 3G เน้นใช้งาน Data แบบ Downlink ขณะที่ LTE เข้ามาแก้จุดอ่อนเรื่องการ

ใช้งาน Uplink ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการใช้ Social Network รูปแบบต่าง ๆ ทำให้ผู้ใช้งานแต่ละคนกลายเป็นผู้ผลิตและอัพโหลดคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ ทำให้ทราฟฟิกบนโครงข่าย 3G หนาแน่นอย่างรวดเร็วและไม่ใช่แค่ 4G LTE แต่กว่า 2 ปีแล้วที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียุคที่ 5 โดยแบ่งแต่ละมหาวิทยาลัยให้ศึกษาด้านที่ต่างกัน อาทิ สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว ศึกษาการเพิ่มความเร็วของเทคโนโลยียุคที่ 5 จากปัจจุบันความเร็ว 4G อยู่ที่ 300 Mbps ขณะที่ 5G ในทฤษฎีมีความเร็วที่ 5 Gbps

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook