ยักษ์ "อินเทล" ปรับกลยุทธ์ พยุงธุรกิจฝ่ากระแส "พีซี" โลกทรุด

ยักษ์ "อินเทล" ปรับกลยุทธ์ พยุงธุรกิจฝ่ากระแส "พีซี" โลกทรุด

ยักษ์ "อินเทล" ปรับกลยุทธ์ พยุงธุรกิจฝ่ากระแส "พีซี" โลกทรุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยักษ์ "อินเทล" ปรับกลยุทธ์ พยุงธุรกิจฝ่ากระแส "พีซี" โลกทรุด

ไม่ใช่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับยักษ์ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พีซีเท่านั้น ที่ต้องปรับกระบวนรบกันอุตลุด หลังสมาร์ทดีไวซ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน และแท็บเลตเข้ามาครองกำลังซื้อจากผู้บริโภค บริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์อย่าง "อินเทล" ก็ได้รับผลกระทบเข้าไปเต็ม ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และสะท้อนให้ เห็นอย่างเด่นชัดในผลประกอบการไตรมาสแรกของ "อินเทล" ที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง แม้ "อินเทล" ยังมองเห็นปัจจัยบวกในอนาคต และมั่นใจว่าการปรับกลยุทธ์ของบริษัทจะทำให้ทุกอย่างกระเตื้องขึ้นท่ามกลาง สารพัดปัจจัยลบ"เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล" รายงานว่า ผลกำไรของบริษัทอินเทล ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลกช่วงไตรมาส 1 ปรับตัวลดลงถึง 25% ขณะที่รายได้รวมตกลงประมาณ 2.5% โดยผลกำไรขั้นต้นของบริษัทอยู่ที่ ประมาณ 2,050 ล้าเหรียญสหรัฐ ลดลงจาก 2,740 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา ส่วนรายได้รวมลดลงเหลือ 12,580 ล้านเหรียญสหรัฐ จาก 12,910 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว



ผลประกอบการ ดังกล่าวทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า ยอดขายคอมพิวเตอร์เดสก์ทอปและแล็ปทอปที่ใช้หน่วยประมวลผลของ "อินเทล" ตกต่ำลง โดยทั้งอินเทลและพาร์ตเนอร์อย่าง "ไมโครซอฟท์" ต่างได้รับผลกระทบจากการที่ผู้บริโภคเปลี่ยนไปซื้อแท็บเลตและสมาร์ทโฟน แทนคอมพิวเตอร์พีซีมาสักระยะแล้ว โดยบริษัทวิเคราะห์ตลาด "ไอดีซี" ออกมาคาดการณ์เมื่อต้นเดือน เม.ย.ว่า ยอดส่งผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือพีซีลดลงประมาณ 14% ในไตรมาส 1 ปีนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการตกต่ำที่ย่ำแย่ที่สุดตั้งแต่ไอดีซีออกมาคาดการณ์ยอดจัดส่ง รายเดือนนับตั้งแต่ปี 2537

"อินเทล" ระบุว่า ยอดส่งผลิตภัณฑ์ "ไคลเอนต์" ชิปของบริษัทลดลง 6% ขณะที่ยอดส่งชิปประมวลผลสำหรับแท็บเลตมีอัตราการเติบโตมากขึ้น อย่าง ไรก็ตาม อินเทลยังคงคาดการณ์ในแง่บวกว่า กำไรขั้นต้นของบริษัทน่าจะมีการเติบโตให้เห็นในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไปจนถึงตลอดทั้งปี ส่งผลให้รายได้ปีนี้เติบโตมากกว่าเดิม "ริ ค วิทธิงตัน" นักวิเคราะห์จาก "เดร็กเซล ฮามิลตัน" มองว่า ผลประกอบการในไตรมาสแรกของอินเทลทำออกมาได้อย่างน่าชื่นชม หากพิจารณาปัจจัยลบหลายอย่างที่ห้อมล้อมตลาดคอมพิวเตอร์พีซีในช่วงเวลานี้ เด อะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล วิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ผลกำไรของบริษัทอินเทลลดลงมากกว่ารายได้รวมน่าจะมาจากการที่อินเท ลเพิ่มอัตราการผลิตหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่เพื่อตอบสนองกับความต้องการในตลาด ที่สูงกว่าความคาดหมาย ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งอินเทลยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการคาดการณ์จากจำนวนฐานการผลิตสาย ผลิตภัณฑ์เก่าที่มีจำนวนมากเกินพอดี แต่ตัวเลขผลประกอบการดังกล่าวดู เหมือนจะเป็นลางดีในสายตาของ "พอล โอเทลลินี" ซีอีโอคนปัจจุบันของ "อินเทล" ที่วางแผนว่าจะสละตำแหน่งในเดือน พ.ค.ที่จะถึงนี้ หลังจากนั่งเก้าอี้ "ซีอีโอ" มาเป็นเวลากว่า 8 ปี และทำงานอยู่กับอินเทลมานานถึง 40 ปี โดยในงานแถลงข่าวครั้งล่าสุด เขากล่าวว่า จุดยืนของอินเทลไม่เคยแข็งแกร่งถึงขนาดนี้มาก่อน สาเหตุมาจากการที่เทคโนโลยีการผลิตทรานซิสเตอร์ในชิปประมวลผลของอินเทลทำให้ หน่วยประมวลผลของบริษัทกินไฟน้อยลงและมีราคาย่อมเยากว่าหน่วยประมวลผลของ บริษัทอื่น ๆ ในตลาด

อย่างไรก็ตาม จุดแข็งที่ซีอีโอ "อินเทล" กล่าวมายังไม่ได้สร้างผลกระทบในทางบวกให้กับแผนธุรกิจของอินเทลที่ต้องการนำ หน่วยประมวลผลเข้าไปสู่ผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนและแท็บเลตเท่าไรนัก แต่เขามองว่ามันจะมีผลให้เห็นในอนาคต เนื่องจากความแข็งแกร่งด้านสถาปัตยกรรมและการผลิตหน่วยประมวลผลของอินเทลไม่เคยมีค่ามากขนาดนี้มาก่อน นอกจากความพยายามนำหน่วยประมวลผลของบริษัทเข้าไปเจาะตลาดอุปกรณ์มือถือรุ่นใหม่ ๆ แล้ว "อินเทล" ยังพยายามผลักดันฐานลูกค้าของตนด้วยการออกสายผลิตภัณฑ์แล็ปทอปแบบบางเบาที่ ชื่อว่า "อัลตราบุ๊ก" โดยให้ความสำคัญกับรุ่นที่สามารถเปลี่ยนจากโมเดลแคลมเชลมาเป็นแท็บเลตได้ เป็นหลัก แต่จนถึงขณะนี้ยอดขายของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังทำออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากยังมีปัญหาจากระดับราคาที่ค่อนข้างสูง และน้ำหนักมากกว่าแท็บเลตทั่วไป ซึ่งอินเทลพยายามแก้ไขด้วยการออกสายผลิตภัณฑ์หน่วยประมวลผล "คอร์" รุ่นใหม่ในชื่อว่า Haswell สำหรับจับตลาดระดับบน ด้วยคุณสมบัติรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

นอกจากนี้ "อินเทล" ยังเตรียมออกผลิตภัณฑ์ "อะตอม" รุ่นใหม่สำหรับตลาดแท็บเลตระดับล่างในชื่อ "Bay Trail"
ซึ่ง นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าอาจได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากตลาดก็เป็นได้พร้อม กันนั้น "อินเทล" ยังปรับกลยุทธ์ด้วยการตอบสนองความต้องการหน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์พีซีที่ลด ลงด้วยการยกเลิกอุปกรณ์บางอย่างในสายผลิตภัณฑ์และหันไปเตรียมสายการผลิต

ให้ กับผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เตรียมเปิดตัวปลายปีนี้ ทำให้บริษัทสามารถลดงบประมาณในการลงทุนในปี 2556 ลงมาได้ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เงินลงทุนโดยรวมเหลือ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ผู้ ผลิตหน่วยประมวลผลรายใหญ่ของโลกรายนี้ยังคาดการณ์ว่า ตนจะสามารถเพิ่มผลกำไรขั้นต้นเป็น 58% ในไตรมาส 2 และ 60% หากนับรวมทั้งปีได้ จากไตรมาส 1 ที่กำไรขั้นต้นมีสัดส่วนประมาณ 56% รวมถึงยังคาดการณ์ว่า รายได้รวมของบริษัทในไตรมาส 2 น่าจะอยู่ที่ 12,900 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือเป็นตัวเลขการคาดการณ์ที่ค่อนข้างมองโลกในแง่ดีหากเทียบจากปริมาณความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ในขณะนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook